ร้อยเอ็ด กรมเจ้าท่าปลูกป่า พัฒนาแหล่งน้ำทำอีสานเขียว ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน
นาย สมพงษ์ จิรศิริเลิศ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า เดินทางมาเป็นประธานเปิดงาน โครงการ ” เจ้าท่าปลูกป่า พัฒนาแหล่งน้ำ ทำอีสานเขียว ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ใส่ใจสิ่งแวดล้อม”
กิจกรรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565
โดยมีการปลูกต้นไม้ จำนวน 5,999 ต้นและ ปล่อยพันธุ์ปลา จำนวน 199,8999 ตัว
วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม 2565 ณ.บริเวณแม่น้ำยัง ตำบลแวง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ภายใต้แนวคิด เจ้าท่าปลูกป่าให้เขียวขจีทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ชุมชนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืนตามแนวทางพระราชดำริให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้ เป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน โดยสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 7 ประกอบด้วยสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขา จำนวน 5 สาขา ได้แก่ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาหนองคาย อุบลราชธานี นครราชสีมา นครพนม และขอนแก่น ซึ่งเป็นสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดโครงการฯ ดังกล่าว โดยปลูกต้นไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ อาทิ ต้นชิงชัน พะยูง พะยอม ยางนาอินทนิล ต้นไม้ป่า และต้นไม้ประจำถิ่นและปล่อยพันธุ์ปลา ในพื้นที่สาธารณะประโยชน์พื้นที่บริเวณริมแม่น้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (แม่น้ำยังในพื้นที่อำเภอโพนทอง) โดยมี นาย วิเชียร เปมานุกรรักษ์ (ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่7) กล่าวต้อนรับ
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ว่าที่ร้อยตรีอานพ ศรีบุญลือ (นายอำเภอโพนทอง), สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดร้อยเอ็ด, นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ผู้นำชุมชน, จิตอาสา, ภาคเอกชน, และประชาชนในพื้นที่ ร่วมกิจกรรม
นาย สมพงษ์ จิรศิริเลิศ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า เผยว่า กรมเจ้าท่ามีแนวนโยบายให้กรมเจ้าท่าเป็นมากกว่ากรมเจ้าท่า ซึ่งนอกจากปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจหลักแล้ว ได้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชน เพื่อสร้างความสามัคคีและมิตรภาพที่ดีระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนให้เกิดความเข้มแข็ง โครงการ “ เจ้าท่าปลูกป่า พัฒนาแหล่งน้ำ ทำอีสานเขียว ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” เพื่อให้ชุมชนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน ตามแนวทางพระราชดำริให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้เพื่อฟื้นฟูสภาพพื้นดินภายในบริเวณพื้นที่สาธารณะริมแม่น้ำ ลำคลอง ให้มีความสมบูรณ์ทำให้พื้นที่ เกิดความชุ่มชื้น เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและการปลูกป่าก็เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องของการกัดเซาะของน้ำ ควบคู่กันคู่ขนานกันกับการอุปโภคบริโภคของประชาชนริมแม่น้ำแม่น้ำชีแม่น้ำมูลหรือแม่น้ำยัง
ส่วนหน้าที่กรมเจ้าท่า มีหน้าที่ทำเขื่อน ป้องกันกัดเซาะแต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีกรมโยธามีท้องถิ่นที่ทำได้เช่นกัน เมื่อเราบูรณาการกัน เราก็จะดูว่าหน่วยงานไหนที่มีความพร้อม เรื่องงบประมาณเราก็จะเข้ามาช่วย แก้ปัญหาจะไม่เกิดการซ้ำซ้อนแต่ขณะเดียวกันเมื่อมีการออกแบบ ทุกหน่วยงานจะต้องส่งมาให้กรมเจ้าท่าดู เพราะกรมเจ้าท่าเราจะดูในเรื่องของงานด้านรูปแบบด้วย การกัดเซาะของตลิ่งตรงไหนที่ยังไม่มีหน่วยงานอื่นเข้าไป ส่วนท้องถิ่นก็ประสานมาที่กรมเจ้าท่าได้เราก็จะส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจแล้วก็จะตั้งงบให้ในแต่ละปี เราไม่เคยทำให้มีการซ้ำซ้อนและไม่เคยจะไม่ทำที่ทำแล้วหรือสร้างแล้วก็จะไม่สร้างอีกแต่เราจะแก้ปัญหาครั้งเดียวเพื่อประชาชน เป็นนโยบายหลักของกรมฯอยู่แล้ว
เรื่องดูแลแหล่งน้ำเป็นหน้าที่ของกรมเจ้าท่าเรื่องการบริหารจัดการน้ำเป็นของกรมชลประทาน แต่อย่างไรก็ตามเรื่องบริหารจัดการน้ำและการดูแลน้ำ แยกจากกันไม่ได้ กรมเจ้าท่าเป็นคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำอยู่แล้ว ถ้ามีปัญหาในส่วนของลำน้ำยังให้แจ้งไปที่สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขา ขอนแก่น เพื่อที่จะเป็นข้อมูลนำไปกราบเรียนคณะกรรมการเพื่อที่แก้ปัญหาแบบยั่งยืน จะได้มีทั้งแหล่งน้ำมีทั้งบริหารจัดการน้ำมีทั้งเรื่องของ การปลูกป่าบริเวณแหล่งน้ำมีการปล่อยปลา สิ่งนี้เราจะดูในเรื่องของภาพรวมทั้งหมดจะไม่ได้แยกในการเป็นส่วนว่าหน่วยงานไหนจะเป็นคนทำ ในหน้าที่ของกรมเจ้าท่าก็ดูในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำด้วย
ข่าว โกมล วรามิตร 097-3366-351