ปทุมธานี – มูลนิธิปวีณาสรุปสถิติรับเรื่องราวร้องทุกข์ของประจำปี 2565
วันที่ 27 ธันวาคม 2565 เวลา 13.30 น. นางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ได้แถลงผลการดำเนินงาน และสถิติรับเรื่องราวร้องทุกข์ของมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ประจำปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม – 23 ธันวาคม 2565 รวมรับเรื่องราวร้องทุกข์ทั้งสิ้น 6,745 ราย
เรื่อง โดยจำแนกเป็นปัญหาต่างๆ ดังนี้1. ข่มขืน / อนาจาร 944 ราย 2. ล่อลวง/ค้าประเวณี/ค้ามนุษย์ 255 ราย 3. ทารุณกรรม/ทำร้ายร่างกาย 961 ราย 4.ยาเสพติด 262 ราย 5. คนหาย 118 ราย 6. แรงงานไม่เป็นธรรม/ถูกหลอก 143 ราย 7. ปัญหาครอบครัว1,432 ราย 8. ขอความเป็นธรรม 1,162 ราย 9. แช็ต/อินเตอร์เน็ต 184 ราย 10. ขอความอนุเคราะห์ 733 ราย 11. สุขภาพจิตและบริการสาธารณสุข 67 ราย 12. ปัญหาอื่นๆ 92 ราย 13. ผลกระทบจากโควิด-19 392 ราย
ในปี 2565 ประเภทปัญหาที่มูลนิธิปวีณาฯ ให้ความสำคัญและให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนมี 6 ประเภท ดังนี้ คือ 1. ปัญหาข่มขืน/อนาจาร 944 ราย 2. ปัญหาค้ามนุษย์/ค้าประเวณี 255 ราย 3.อาชญากรรมออนไลน์ 528 ราย 4.ปัญหาทำร้ายร่างกาย/ทารุณกรรม 961ราย 5.ปัญหายาเสพติด262 ราย
6. ปัญหาครอบครัว 1,432 ราย *1.ปัญหาข่มขืน/อนาจาร จำนวน 944 ราย เฉลี่ยร้องทุกข์วันละ 2.58 ราย โดยมีผู้กระทำผิดตามลำดับดังนี้ • อันดับ 1 คนรู้จัก 181ราย คิดเป็น19.17 % • อันดับ 2 แฟน/เพื่อน 176 ราย คิดเป็น18.64 % • อันดับ 3 เป็นญาติ 154ราย คิดเป็น16.31 % • อันดับ 4 พ่อเลี้ยง 96ราย คิดเป็น10.17 % • อันดับ 5 คนข้างบ้าน 79ราย คิดเป็น8.37 % • อื่นๆ อาทิ พ่อแท้ๆ, นายจ้าง, ครู จำนวน 258 ราย คิดเป็น 27.33% ช่วงอายุที่ถูกข่มขืนมากสุด • อันดับ 1.อายุ10-15 ปี จำนวน 381 ราย คิดเป็น 40.36% • อันดับ 2.อายุ15-20 ปี จำนวน 198 ราย คิดเป็น 20.97 % • อันดับ 3.อายุ5-10 ปี จำนวน 80 ราย คิดเป็น 8.47% • อื่นๆ จำนวน 285 ราย คิดเป็น 30.19% *ซึ่งเป็นที่น่าเป็นห่วง ว่าปัญหาการข่มขืน/อนาจาร เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่มีจำนวน 781 ราย ถึง 163 ราย คิดเป็น 20.87 % ภูมิภาคที่เกิดเหตุเรียงลำดับดังนี้ • ภาคกลาง 430 ราย • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 185 ราย • ภาคตะวันออก 95 ราย • ภาคใต้ 76 ราย • ภาคเหนือ 48 ราย • ภาคตะวันตก 40 ราย • ไม่มีข้อมูล (แจ้งเบาะแส, แชร์โพสต์) 70 ราย
-เคสข่มขืน/กระทำชำเรา ผู้เสียหายอายุน้อยสุด 2 ขวบ จ.สกลนคร วันที่ 16 เม.ย.65 แม่ร้อง “ปวีณา” ลูกสาว 2 ขวบ อยู่กับยายและตาเลี้ยง อายุ 49 ปี เพราะตนเองแยกทางกับสามีและมาทำงานอยู่ที่จ.สมุทรปราการ ยายโทรมาบอกว่าตาเลี้ยงพาหลานไปอาบน้ำและล่วงละเมิดทางเพศจนเด็กอวัยวะเพศบวมแดงและอักเสบ พอยายรู้เรื่องตาเลี้ยงก็หลบหนีไป “ปวีณา” ประสาน ผกก.สภ.คำตากล้า ดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายและจับกุมตัวตาเลี้ยงมาดำเนินคดีแล้ว
เคสข่มขืน/กระทำชำเรา ผู้เสียหายอายุมากสุด 54 ปี จ.ปทุมธานี วันที่ 31 ม.ค.65 หลานชายร้อง “ปวีณา” ป้าอายุ 54 ปี พิการทางสมอง ถูกชายเพื่อนบ้านล่อลวงหลอกไปข่มขืน แจ้งความแล้วที่สภ.ธัญบุรี ขอช่วยติดตามคดี “ปวีณา” ประสานผกก.สภ.ธัญบุรี ดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายพร้อมจับกุมตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีแล้ว
2. ปัญหาค้ามนุษย์/ค้าประเวณี จำนวน 255 ราย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำแนกออกเป็น ค้าประเวณีในประเทศ 39 ราย และค้ามนุษย์/ค้าประเวณีต่างประเทศ 216 ราย *ซึ่งในประเทศจะเป็นลักษณะแจ้งเบาะแสเด็กถูกเพื่อนชักชวนไปค้าประเวณี *สำหรับต่างประเทศจะเป็นกรณีที่ผู้หญิงถูกหลอกค้าประเวณีต้องการกลับประเทศไทย ประเทศที่ไปทำงานและขอความช่วยเหลือ ดังนี้
• ดูไบ 64 ราย • บาห์เรน 41 ราย • เมียนมา 32 ราย • โอมาน 26 ราย • กัมพูชา 22 ราย • มาเลเซีย12 ราย • ฟิลิปปินส์ 7 ราย • อินเดีย4 ราย • จีน1 ราย • ประเทศอื่นๆ จำนวน 7 ราย • แจ้งเบาะแสในประเทศ 39 ราย
สำหรับปัญหาการค้ามนุษย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ผ่านมาเป็นช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไปทั่วโลก ทำให้มีการปิดประเทศการค้าประเวณีจึงลดลง ประกอบกับทางรัฐบาลได้เข้มงวดกวดขันในเรื่องการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง มูลนิธิปวีณาฯ ขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้หญิงที่คิดจะไปทำงานต่างประเทศโดยหวังว่าจะมีค่าตอบแทนสูง อย่าหลงเชื่อคนง่าย ต้องตรวจสอบให้ดีก่อน เพราะอาจจะถูกหลอกไปค้าประเวณีต้องตกนรกทั้งเป็น *3. อาชญากรรมออนไลน์ จำนวน 528 ราย • ส่งภาพโป๊/เปลือย122 ราย • หลอกให้ลงทุนและโอนเงินในรูปแบบต่างๆ 272 ราย • หลอกเปิดบัญชี (บัญชีม้า) 50 ราย • ถูกคุกคามในโซเชียล 44 ราย • กู้เงินออนไลน์ 30 ราย • หลอกให้ซื้อสินค้า 6 ราย • หลอกไปทำงาน 4 ราย
4. ปัญหาทารุณกรรม/ทำร้ายร่างกาย จำนวน 961 ราย เฉลี่ยร้องทุกข์วันละ 2.63 ราย โดยมีผู้กระทำทารุณกรรมตามลำดับดังนี้ • อันดับ 1 สามีทำร้ายร่างกาย 313ราย คิดเป็น32.57 % • อันดับ 2 พ่อ-แม่ 128ราย คิดเป็น13.32 % จำแนกเป็น>พ่อ 78ราย คิดเป็น60.94 % >แม่ 50ราย คิดเป็น39.06% • อันดับ 3 ญาติ 74ราย คิดเป็น 7.70 % • อันดับ 4 คนรู้จัก 70ราย คิดเป็น7.28 % • อันดับ 5 สามีเก่า/แฟนเก่า 55ราย คิดเป็น5.72 % • อันดับ 6 พ่อเลี้ยง-แม่เลี้ยง 38ราย คิดเป็น3.95 % จำแนกเป็น >พ่อเลี้ยง30ราย คิดเป็น78.95 % >แม่เลี้ยง 8ราย คิดเป็น21.05 % • อื่นๆ 283ราย (ลูก, ครู, นายจ้าง, แจ้งเบาะแส) คิดเป็น 29.49 % ช่วงอายุเหยื่อที่ถูกกระทำ • อันดับ 1 อายุ 40 ปี ขึ้นไป จำนวน183 ราย คิดเป็น 46.68 % • อันดับ 2 อายุ 0-10 ปี จำนวน 114 ราย คิดเป็น 29.08 % จำแนกเป็น • แรกเกิด-5 ปี จำนวน 48 ราย คิดเป็น 42.11 % • 5-10 ปี จำนวน 66 ราย คิดเป็น 57.89 % • อันดับ 3 อายุ 25-30 ปี ขึ้นไป จำนวน 95 ราย คิดเป็น 24.23 % หมายเหตุ: จากจำนวน 392 ราย อีก 569 ราย ไม่ประสงค์จะเปิดเผยอายุ
ภูมิภาคที่เกิดเหตุเรียงลำดับดังนี้ • ภาคกลาง 424 ราย • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 134 ราย • ภาคใต้ 95 ราย • ภาคอื่นๆ และแจ้งเบาะแส 308 ราย เคสทารุณกรรม/ทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหายอายุน้อยสุด 4 เดือน จ.ระยอง เหตุเกิดวันที่ 1 ส.ค.65 พ่อร้อง “ปวีณา” ลูกชายวัย 4 เดือน ถูกแม่ทุบตี กัดที่แขนและท้อง ก่อนจะจับแกว่งไปมาและโยนลงบนที่นอนอย่างแรง สาเหตุเพราะต้องการประชดขณะกำลังทะเลาะกับสามี จนเด็กเลือดคั่งในสมอง “ปวีณา” ประสาน ผกก.สภ.บ้านค่าย จับกุมแม่ดำเนินคดีแล้ว สอบสวนแม่ให้การรับสารภาพ
เคสทารุณกรรม/ทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหายอายุมากสุด 78 ปี 1.จ.นนทบุรี วันที่ 28 ส.ค.65 พลเมืองดีแจ้ง “ปวีณา” คุณยายวัย 78 ปี ถูกหลานชายและหลานสะใภ้ทำร้าย “ปวีณา” ประสาน ผกก.สภ.ไทรน้อย และพมจ.นนทบุรี ร่วมลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือพบว่าลูกของคุณยายไปอยู่กับสามีที่ต่างประเทศ “ปวีณา” จึงติดต่อกับลูกสาวของคุณยายทราบว่าอยู่ระหว่างดำเนินการเรื่องเอกสารเพื่อรับแม่ไปอยู่ด้วยที่ต่างประเทศ และขอฝากแม่ไว้ระยะหนึ่ง “ปวีณา” จึงได้ประสานบ้านผู้สูงอายุ จ.ปทุมธานี รับยายเข้าอยู่ในความดูแล ล่าสุดลูกสาวได้มารับแม่ไปอยู่ที่ต่างประเทศแล้ว
6.ปัญหายาเสพติด จำนวน 262 ราย ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติดคลุ้มคลั่ง มีอาการทางประสาท อาละวาดทำร้ายคนในบ้าน ญาติต้องการให้พาไปบำบัดข้อมูลผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับปัญหายาเสพติด• เคยบำบัด 51 ราย • เคยจำคุกคดียาเสพติด 21 ราย ผู้ถูกกระทำจากคนติดยาเสพติดเป็นคนในครอบครัว• แม่ 90 ราย คิดเป็น 34.35 % • ภรรยา 41 ราย คิดเป็น .15.65 % • พี่น้อง 31 ราย คิดเป็น 11.83 % • ญาติ 29 ราย คิดเป็น 11.07 %• ลูก23 ราย คิดเป็น 8.78 % • อื่นๆ (สามี, พ่อ, แฟน/คนที่คบหา) 48 ราย คิดเป็น 18.32 %ผู้เสพยามากที่สุด • ลูก 100 รายคิดเป็น 38.17 % • สามี 42 ราย คิดเป็น 16.03 % • พี่น้อง 33 ราย คิดเป็น 12.60 % • ญาติ 31 ราย คิดเป็น 11.83 % • แม่ 9 ราย คิดเป็น 3.44 %• อื่นๆ (ภรรยา, พ่อ, แฟน, คนที่คบหา) 47 ราย คิดเป็น 17.54 %
5.ปัญหาครอบครัว จำนวน 1,432 ราย ร้องทุกข์เฉลี่ยวันละ 3.92 ราย • ทะเลาะในครอบครัว 396 ราย • แย่งบุตร 392 ราย • ค่าเลี้ยงดู 182 ราย • ฟ้องหย่า 132 ราย • ผู้หญิงท้องแต่ฝ่ายชายไม่รับผิดชอบ 118 ราย อื่นๆ (ลูกติดเกม, ตั้งครรภ์ไม่พร้อม, ถูกทอดทิ้ง, สามีมีภรรยาน้อย) 212 ราย
นางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณาฯ กล่าวว่า ปีใหม่ 2566 มูลนิธิปวีณาฯ ขอเชิญชวนภาครัฐ เอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน ร่วมกันรณรงค์หามาตราการป้องกันอาชญากรรมออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งนับวันทวีความรุนแรงมีผู้เสียหายมากขึ้น และความเสียหายสูงขึ้นมากอย่างน่าเป็นห่วงมูลนิธิปวีณาฯ ขอขอบคุณภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน ที่ได้ร่วมบูรณาการทำงานร่วมกันจนสามารถช่วยเหลือเด็ก สตรี และผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และขอขอบคุณพลเมืองดีที่ช่วยกันแจ้งเบาะแส ร่วมกันให้ข้อมูลช่วยเหลือเด็ก สตรี และผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะปัญหาสังคมไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง หรือหน่วยงานใดงานหนึ่ง หากทุกคนช่วยกันปัญหาทุกอย่างจะเบาบางลงไปได้สำหรับผู้ที่ต้องการร้องทุกข์ขอความช่วยเหลือมายังมูลนิธิปวีณาฯ สามารถติดต่อโทร. 1134, 02 577 0496, 02 577 0497, 02 577 0498, 02 577 0500, 02 577 0501 ในเวลาทำการ หรือโทรมือถือมูลนิธิปวีณาฯ หมายเลข 098 478 8991, 081 814 0244, 081 890 1355, 062 560 1636, 063 237 7327 เจ้าหน้าที่มูลนิธิปวีณาฯ ทุกคนจะรับเรื่องของท่านด้วยความยินดียิ่ง และท่านยังสามารถแจ้งเรื่องร้องทุกข์ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วย
สุดท้าย เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2566 ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลก ได้โปรดอภิบาล และประทานพรให้ท่าน และครอบครัว ประสพความสุข ความเจริญ มีสุขภาพแข็งแรง สัมฤทธิ์ผลในสิ่งที่พึงปรารถนาทุกประการตลอดไป มูลนิธิปวีณา ขอเรียนว่า จะปิดทำการตั้งแต่วันที่ 29 ธ.ค.65 ถึงวันที่ 1 ม.ค.66 รวม 4 วัน และเปิดทำการในวันที่ 2 ม.ค.66 หากท่านใดมีเรื่องด่วนขอความช่วยเหลือ สามารถติดต่อส่งข้อความมายังเฟซบุ๊กมูลนิธิปวีณาฯ ได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง.