15-02-66 พี่เสือ นักข่าว สงขลา
ความคืบหน้าการกู้เรือบรรทุกน้ำมันปาล์มเรือภัทรพัณณ์ใกล้แล้วเสร็จ ขณะนี้การขุดทรายรอบเรือออก ลึก 4 เมตร เสร็จไปเกือบ 100% มีการระดมรถแม็คโฮร์ทั้งคอสั้นและคอยาว 4 คัน รวมทั้งเรือแม็คโฮร์อีก 2 ลำ ที่เร่งลงมือขุดเช่นเดียวกันช่วงนี้มีการทำงานทั้งกลางวันและกลางคืน ผอ.สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 4 ยืนยันการกู้เรือนำเรือออกจากชายหาดจะแล้วเสร็จ
ภายในวันที่ 20 กุมภาพันธ์นี้ รวมทั้งการปรับสภาพพื้นที่ชายหาดให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมด้วย
ความคืบหน้ากรณีเรือภัทรพัณณ์ ซึ่งเป็นเรือบรรทุกน้ำมันปาล์มขนาดใหญ่ มีขนาด 2,037 ตันกรอส ถูกคลื่นซัดมาเกยตื้นบริเวณชายหาดปลายแหลมสนอ่อน แหลมสมิหลา อ.เมืองสงขลา ซึ่งอยู่ใกล้กับเขื่อนกันทราย ปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา
ล่าสุดในวันนี้ (ที่ 15 ก.พ.66) ทีมข่าวได้ลงพื้นที่ไปติดตามการกู้เรือลำนี้ พบว่ามีความคืบหน้าไปมากแล้ว บริเวณชายหาดปลายสนอ่อนที่เรือเข้ามาเกยตื้น คลื่นลมกลับสู่สภาพปกติ มีคลื่นพัดเข้าหาฝั่งเพียงเล็กน้อย ขณะนี้บริเวณโดยรอบของลำเรือได้ถูกขุดทรายความลึก 4 เมตรออกไปแล้ว โดยนำทรายขึ้นมากองเป็นภูเขาไว้บนชายหาดเป็นจำนวนมาก ส่วนบริเวณด้านหัวเรือ เรือแม็คโฮร์ก็เร่งทำการขุดร่องน้ำเพื่อให้เรือดูดทรายสามารถเข้ามาถึงบริเวณหัวเรือ เพื่อดูดทรายใต้ท้องเรือให้ลึกประมาณ 4 เมตรและยาวจากหัวเรือออกไปประมาณ 100 เมตรเพื่อให้ไปเจอกับความลึกตามธรรมชาติที่ 4 เมตรกลางทะเล
ในวันนี้นายเรวัต โพธิ์เรียง ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 4 พร้อมเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่บริเวณที่เรือภัทรพัณณ์ เรือบรรทุกน้ำมันปาล์มมาเกยตื้น เพื่อมาดูความคืบหน้าในการทำงานการกู้เรือ รวมทั้งเป็นขวัญและกำลังใจให้กับผู้ปฏิบัติงานทุกคน อีกทั้ง นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รักษาการอธิบดีกรมเจ้าท่ามีความห่วงใยในเรื่องการกู้เรือและกำชับให้ทาง ผอ.สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 4 พร้อมเจ้าหน้าที่ มากำกับดูแล เพื่อให้การกู้เรือเป็นไปตามแผนที่ได้กำหนดไว้ โดยไม่มีสภาวะสิ่งแวดล้อมในเรื่องของกองทรายที่อยู่บนชายหาดจำนวนมาก เมื่อเรือได้ลากออกจากชายหาดไปแล้ว ให้ดำเนินการปรับสภาพพื้นที่ชายหาดให้กลับมาเหมือนเดิมโดยเร็วที่สุด
นายเรวัต โพธิ์เรียง ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 4 กล่าวถึงความก้าว หน้า ของการกู้เรือบรรทุกน้ำมันปาล์มที่มาเกยตื้นว่า ในเรื่องนี้เป็นความห่วงใยของท่านรักษาการอธิบดีกรมเจ้าท่า โดยท่านได้กำชับในเรื่องนี้มาว่า การกู้เรือจะต้องเป็นไปตามแผน ซึ่งแผนเรากำหนดไว้ประมาณวันที่ 20 กุมภาพันธ์ก็จะแล้วเสร็จ และจะไม่มีสภาวะสิ่งแวดล้อมในเรื่องของกองทราย เมื่อกู้เรือออกจากชายหาดเสร็จแล้ว ก็จะมีการปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบร้อย
ในส่วนของเรือขั้นตอนก็เป็นไปตามแผน เมื่อใช้รถแม็คโฮร์และเรือแม็คโฮร์ขุดทรายออกโดยรอบตัวเรือความลึกประมาณ 4 เมตร หลังจากนั้นก็จะใช้เรือดูดทรายดูดเข้าไปใต้ท้องเรือให้ลึกประมาณ 4 เมตร ให้ออกไปจากหัวเรือประมาณ 100 เมตร ไปสู่ความลึกธรรมชาติที่ประมาณ 4 เมตร หลังจากลากเรือออกไปแล้วก็จะได้ทำการตรวจสอบสภาพตัวเรือทั้งด้านบนและใต้น้ำเพื่อความปลอดภัยของเรือที่จะต้องเดินทางกลับ อีกทั้งเครื่องยนต์เรือยังคงทำงานได้ตามปกติ
โดยทางสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 4 ก็ได้เดินทางมาดูการทำงานในการกู้เรืออย่างต่อเนื่องตลอดมาด้วยความห่วงใยและเป็นกำลังใจให้กับผู้ปฏิบัติงานทุกคน
พร้อมยืนยันว่าการกู้เรือออกจากชายหาดได้ ประมาณวันที่ 20 กุมภาพันธ์นี้ ถ้าหากเป็นไปได้ ก็อยากให้เสร็จในวันที่ 17 ก.พ.นี้ ส่วนในวันที่ 18-19 ซึ่งเป็นวันเสาร์อาทิตย์ก็จะให้ทำการปรับพื้นที่บริเวณชายหาดให้เสร็จเรียบร้อยให้ชายหาดกลับมาเป็นชายหาดตามธรรมชาติเหมือนเดิม
สำหรับแผนการกู้เรือภัทรพัณณ์ ตามแผนงานที่สำนักงานเจ้าท่าภูมิกาคที่ 4 ได้กำหนดไว้ โดยจะใช้เรือดูดทรายทำการดูดทรายที่บริเวณใต้ท้องเรือให้น้ำลึกที่ประมาณ 4 เมตร ทำร่องน้ำเข้าไปหาตัวเรือที่เกยตื้นชายหาด ให้มีความลึกตลอดร่องน้ำที่ 4 เมตร มีความยาว 100 เมตร และมีความกว้างร่องน้ำ 18 เมตร เพื่อเป็นร่องสำหรับนำเรือออก เมื่อเรือลอยแล้ว ก็นำเชือกมาผูกกับหัวเรือภัทรพัณณ์ ให้เรือบาสเครนขนาดใหญ่ 2 ลำ ทำการลากเพื่อหมุนหัวเรือออกสู่ทะเล และเข้าไปในร่องน้ำที่ทำการขุดไว้ด้วยเรือขุดหัวสว่าน แล้วให้เรือบาสเครนทั้ง 2 ลำ ลากเรือออกสู่น้ำลึก และทิ้งสมอในจุดที่ปลอดภัยต่อไป หลังจากนั้นจะมีนักประดาน้ำลงไปตรวจสอบเช็กสภาพใต้ท้องเรือว่ามีความเสียหายใดๆ เกิดขึ้นบ้างหรือไม่ สำหรับร่องน้ำที่ขุดนำเรือออกก็จะทำการปรับพื้นทรายให้กลับเข้าสู่สภาพเดิมทันที โดยใช้เวลาตามแผนงานที่กำหนดไว้ภายในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566