ผลกระทบจากการยกเลิกสิทธิ์ประกันสุขภาพ ( บัตรทอง ) ที่มีผลกับประชาชนผู้มีรายได้น้อย
วันที่ 18 กันยายน 2563 เวลา 19.00 น. วันนี้เป็นวันแรกที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ( สปสช. ) ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการเรื่องของการยกเลิกสัญญา คลินิกชุมชนอบอุ่น และ โรงพยาบาลเอกชน สืบเนื่องมาจาก สปสช. ได้ทำการขยายผลการทุจริต ซึ่งได้ดำเนินคดีไปแล้วเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2563 โดยการยกเลิกสัญญาดังกล่าว จะมีผลกระทบกับประชาชนประมาณ 800,000 คน ทั่วจังหวัด กรุงเทพมหานคร ซึ่งต่อมาได้เปิดเผยรายชื่อ คลินิกชุมชนอบอุ่น และโรงพยาบาลเอกชน ที่ถูกยกเลิกสัญญา จำนวนทั้งสิ้น 64 แห่ง ทั่วทั้งจังหวัดกรุงเทพมหานคร ดังนี้
1.โรงพยาบาลบางไผ่
2.โรงพยาบาลปิยะเวท
3. โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็กนันอา
4. โรงพยาบาลวิชัยเวช แยกไฟฉาย
5. โรงพยาบาลพระราม 2
6. โรงพยาบาลสุขสวัสดิ์
7. โรงพยาบาลบางขุนเทียน1
8. เทียนทะเลคลินิกเวชกรรม
9. บางขุนเทียน 2 คลินิกเวชกรรม
10. บางบอนคลินิกเวชกรรม
11. คลินิกเวชกรรมลาซาล
12. ธนารมย์สหคลินิก
13. คลินิกเวชกรรมทุ่งครุ
14. เพชรทองคําคลินิกเวชกรรม สาขาพระราม 2
15. คลินิกสุพจน์เวชกรรม
16. รื่นฤดีสหคลินิก
17. โรงพยาบาลบางปะกอก 9
18. สี่แยกประเวศคลินิกเวชกรรม
19. มิตรชุมชนคลินิกเวชกรรม สาขาลาดพร้าว 111
20. คลินิกเวชกรรมวิภาวดี ซอย 2
21. ธราวรรณสหคลินิกเวชกรรมและการแพทย์แผนไทย
22. คลินิกเวชกรรมลาดพร้าว 122
23. พระยาสุเรนทร์คลินิกเวชกรรม สาขาแกรนด์ออคิด
24. คลินิกเวชกรรมวิภาวดี 60
25. โพธิ์สุวรรณคลินิกเวชกรรม สาขาบางเขน
26. สายหยุดโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก
27. คลินิกเวชกรรมเยนเนอรัลธนินทร
28. พหลฯ 58 คลินิกเวชกรรม
29. คลินิกเวชกรรมทวิมาศ สาขารามคําแหง 36/1
30. คลินิกเวชกรรมทวิมาศ สาขารามคําแหง 53
31. เจริญนครธนบุรีคลินิกเวชกรรม
32. สหคลินิกกล้วยน้ำไท สาขาเดอะช็อปปส์แกรนด์พระราม 9
33. เมืองมีนบุรีคลินิกเวชกรรม
34. คลินิกเวชกรรมซอยนวลจันทร์
35. เจริญราษฎร์คลินิกเวชกรรม
36. สหคลินิกถนนนวมินทร์
37. คลินิกเวชกรรมสายสัมพันธ์
38. การแพทย์เทอดไทคลินิกเวชกรรม
39. คาเมราตาคลินิกเวชกรรม
40. คาเมราตาคลินิกเวชกรรม สาขาหลักสี่
41. คาเมราตาคลินิกเวชกรรม สาขาทุ่งสองห้อง
42. สายไหมคลินิกเวชกรรม สาขาเคหะร่มเกล้า
43. ลภาราม 1 คลินิกเวชกรรม
44. ลาดพร้าวการแพทย์คลินิกเวชกรรม
45. คลินิกเวชกรรมวังหิน
46. สร้างสุขคลินิกเวชกรรม
47. คลินิกเวชกรรมรวินท์มาศ
48. ศิริกัญญาคลินิกเวชกรรม
49. โรงพยาบาลเพชรเกษม 2
50. จันทร์ 16 คลินิกเวชกรรม
51. มิตรไมตรีสหคลินิก สาขาลาซาล
52. สะพานสูงคลินิกเวชกรรม
53. สุขะวิทยาสหคลินิก
54. มิตรไมตรีสหคลินิก สาขาอุดมสุข
55. กานพัชทวีคลินิกเวชกรรม
56. เมืองธรรมคลินิกเวชกรรม (สาขาพัฒนาการ)
57. เมืองธรรมคลินิกเวชกรรม (สาขาพระโขนง)
58. เมืองธรรมคลินิกเวชกรรม
59. เมืองเพชรคลินิกเวชกรรม
60. เพชรเกษม 69 คลินิกเวชกรรม
61. คลินิกเวชกรรม ม.เศรษฐกิจ
62. คลินิกทันตกรรมยิ้มพราว
63. คลินิกทันตกรรมวี-เด็นทัลแคร์ (บางเขน)
64. คลินิกทันตกรรมวี-เด็นทัลแคร์ (ลาดกระบัง)
โดยทั้งนี้ผู้ที่ได้รับผลกระทบ สามารถเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลรัฐที่ใดก็ได้ใน กทม. หรือโรงพยาบาลและคลินิกที่เป็นคู่สัญญากับ สปสช. ได้ทุกแห่งโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย กรณีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หากต้องการข้อมูลยาหรือผลเลือดครั้งก่อน ๆ กทม.ได้เตรียมการไว้รองรับแล้ว โดยประชาชนสามารถขอข้อมูลจากคลินิกที่รักษาได้ หรือขอรับข้อมูลได้ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ กทม. ซึ่งจากนี้จะเร่งหาผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาทดแทนเพื่อความแออัดและได้รับการดูแลไม่ทั่วถึงต่อไป
เนื่องจากวันนี้ทางโรงพยาบาลแห่งหนึ่งย่านถนน สุขสวัสดิ์ซึ่งได้รับผลจากการยกเลิกสัญญา ประชาชนที่อยูในบริเวณย่านถนนสุขสวัสดิ์ และพื้นที่ใกล้เคียงที่มีบัตรประกันสุขภาพแห่งรัฐ ( บัตรทอง ) ซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้ได้รวมตัวกันเพื่ออยากจะบอกเล่าถึงผลกระทบของพวกเขาซึ่งได้รับความลำบากมากกับเหตุการณ์ในครั้งนี้ แล้วพวกเขาทั้งหลายยังไม่ทันที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารตรงนี้อยางชัดเจน ถึงเรื่องการถูกยกเลิกสัญญาของทางโรงพยาบาลแห่งนี้ แล้ววันนี้ประชาชนจำนวนนี้บางคนต้องไปตรวจรักษาอาการตามปกติอย่างเช่นเคย แต่วันนี้กับไม่ได้รับการรักษาอย่างเช่นที่เคยจึงเกิดการสับสนและความกังวลใจของเรื่องการรักษาพยาบาลในครั้งต่อไปว่าจะทำอย่างไร จึงอยากให้หน่วยงานของทางภาครัฐออกมาประชาสัมพันธ์ ให้กับประชาชนได้เข้าใจตามชุมชนต่างๆอย่างชัดเจนมากกว่านี้ จากการสอบถามจาก นาย นพ อิ๋วสวัสดิ์ ประธานชุมชนสุขสวัสดิ์ 29 บอกเล่าว่า “ผมได้ทราบข่าวว่า โรงพยาบาลถูกยกเลิกประกันบัตรทอง ผมก็นึกถึงพี่น้องประชาชนที่ป่วยว่าต่อไปจะรักษาที่ไหนได้ เพราะผู้ป่วยต้องไปหาหมอ หมอนัดตรวจ หรือนัดรับยา จะต้องมีไปเป็นประจำ นี่ยังไม่รวมผู้ป่วยแบบฉุกเฉินนะ เมื่อเช้าผมไปหา ผอ.ที่โรงพยาบาลเลยว่า เกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงได้ประกาศแบบกระทันหันแล้ว จริงๆ ผมได้ข่าวมาว่า จะยกเลิกในวันที่ 1 ต.ค. แต่มีประกาศ ช่วงบ่ายวันที่ 17 ก.ย. ว่าตั้งแต่ เวลา 00.01 วันที่ 18 ก.ย. จะยกเลิกรับประกันสุขภาพถ้วนหน้า(บัตรทอง) แล้ว คือยังไง ทาง ผอ.โรงพยาบาลก็บอกว่า ทางโรงพยาบาลได้รับหนังสือคำสั่งออกในวันที่ 16 ก.ย. ถึงโรงพยาบาลวันที่ 17 ก.ย. ว่า ให้ยกเลิกในวันที่ 18 ก.ย. จึงต้องมีการแจ้งให้ประชาชนทราบเดี๋ยวนั้นเช่นกัน โดยส่วนตัวผมแล้ว ไม่เดือดร้อนเท่ากับชาวบ้านในซอยชุมชนบ้านผม เพราะมีทั้งผู้ป่วย ลูกเล็กเด็กแดง ผู้ป่วยติดเตียง ยังไม่พูดถึงเหตุฉุกเฉินอีก นี่คือผู้เดือดร้อนจะทำยังไงกันต่อไปล่ะ แล้วเค้าเหล่านี้ไม่รู้ข้อมูลว่าต้องไปติดต่อทางไหน ไปยังไง จากปกติ นั่งรถวินออกไป 20 บาท ขาดีดีพอไหวก็เดินไปเองได้ แต่ถ้าต้องไปรักษาซึ่งต้องเดินทางไกลขึ้นไปอีก จะไปยังไง ไหนจะค่ารถ ค่ายา แล้วถ้าไปเองไม่ได้ ต้องหาคนพาไปอีก แล้วพูดถึงบอกว่า ผู้ป่วยที่ต้องรักษาต่อเนื่อง ให้ขประวัติการรักษาจากที่เดิมไปรักษาต่อที่แห่งใหม่ ผู้ป่วยก็ไม่มั่นใจอีกว่าการรักษาหรือยาที่ได้มาจะเป็นตัวเดิมหรือเปล่า ก็อยากให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ มาไขข้อข้องใจของชาวบ้านที่เดือดร้อนให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและสร้างความมั่นใจในการรักษาผู้ป่วยต่อไปด้วยครับ”
นางบุญรอด ขำหาญ อายุ 68 ปี เป็นผู้ได้รับผลกระทบบอกว่า “ป้าอ่านจากเฟสบุ๊คว่า โรงพยาบาลที่รักษาอยู่ได้ยกเลิก ผู้ป่วยก็เหมือนกับโดนเท ไม่รู้ว่าไปทางไหน รักษาต่อที่ไหน ชาวบ้านที่หมอนัด หรือนัดรับยาต่อเนื่อง ทาง สปสช จะมีแนวทางช่วยเหลือยังไง ไหนจะป่วยฉุกเฉินอีกล่ะ แล้วก็ไม่รู้ว่า จะย้ายให้เราไปอยู่ หรือรักษาที่โรพยาบาลไหน ปัญหาคือ ไม่แจ้งให้เราได้ตั้งตัวเลย เรื่องทุจริตค่ารักษา นั่นมันเรื่องของทางโรงพยาบาลกับทาง สปสช. ไม่เกี่ยวกับผู้ป่วย อย่าเอามารวมกัน อย่าเททิ้งขวางผู้ป่วยแบบนี้ มันไม่ถูกต้อง ก็อยากจะได้ความชัดเจน ว่า จะมีมาตรการการรักษาที่รองรับผู้ป่วยจากโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลที่ถูกยกเลิกบัตรทองไปยังไง และ ถ้าต้องไปรักษาในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล นึกถึงเวลาในการเดินทางไปมั้ย ว่าจะลำบากยังไง ไหนจะเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่ารักษาค่ายาอีกล่ะ ป้าว่าผู้ป่วยในละแวกนี้ เขตราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ ได้รับความเดือดร้อน ได้รับผลกระทบมาก”
นายวิชาญ อายุ 42 ปี เป็นอีกท่านหนึ่งที่ได้รับผลกระทบในการที่โรงพยาบาลถูกยกเลิกประกันบัตรทอง ได้เล่าว่า “ผมได้รับอุบัติเหตุมาต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง วันไหนมีอาการปวดตามร่างกายก็ไปหาหมอ แต่เมื่อเช้านี้ ได้ไปหาหมอ แต่ก็โดนบอกว่า รักษาต่อไม่ได้แล้ว เพราะยกเลิกแล้ว ต้องไปหาที่อนามัย ผมก็ไป แต่ เจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้รักษาให้ เพราะไม่มีประวัติเดิม เค้าก็ไม่รู้ว่าผมเป็นอะไร แล้วผมก็ไปมาเองไม่ได้ เพราะได้รับผลกระทบจากการที่ประสบอุบัติเหตุมา ถ้าต้องไปหาหมอไกลขึ้นอีก ผมจะไปยังไง ไหนจะค่ารถอีก ค่ารักษาค่ายาอีก”
น.ส.นฤมล พรสัมฤทธิ์ผล อายุ 46 ปี เป็นผู้ป่วยโรคไทรอยด์ ความดัน ได้บอกว่า ” เมื่อก่อนสิทธิ์ตนอยู่โรงพยาบาลตากสิน และพอเป็นโรคไทรอยด์ ตนก็ไปรักษาที่โรงพยาบาลตากสิน แต่ปรากฎว่า สิทธิ์ไม่มีแล้ว ต้องเสียตังเอง พอเช็คดูสิทธิ์ไปอยู่ที่ นันอา แล้วมาตอนนี้ ก็รักษาต่อไม่ได้แล้ว เพราะถูกยกเลิกไป อย่างนี้ตนจะไปรักษาต่อที่ไหนได้ ซึ่งไม่มีความชัดเจน และไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าเลย ถ้าเกิดวันนึงมีเหตุฉุกเฉิน เกิดน๊อคขึ้นมา จะทำยังไง บอกให้ไปโรงพยาบาลของรัฐ แล้วจะมั่นใจได้ยังไงว่า จะรักษาได้ เพราะสิทธิ์ก็ไม่มี”
โชติกา ม่วงใจรักษ์ ผู้สื่อข่าว กทม.