ข่าวทั่วไป

มารีวิทยาปราจีน เปิด “STEM Education” – Project Approach & Project based learning-SEASON VI

มารีวิทยาปราจีน เปิด “STEM Education” – Project Approach & Project based learning-SEASON VI

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563 ที่ โรงเรียนมารีวิทยา จังหวัดปราจีนบุรี คุณแม่เทเรซา อุบล ผังรักษ์ มหาธิการิณีคณะรักกางเขน แห่ง จันทบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “STEM Education” – Project Approach & Project based learning-SEASON VI โดยมี ดร.ซิสเตอร์อัจฉรา สุขพิบูลย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนมารีวิทยา กล่าวรายงาน มี แขกผู้มีเกียรติ คณะครู และ ผู้ปกครอง ร่วมงาน โดยพิธีเปิดมีการแสดงแบบฮีโร่นวัตกรรม ในการเอาชนะกับปีศาจร้ายที่คอยขัดขวางไม่ให้มีพิธีเปิดนี้ได้ จนสามารถเอาชนะแย่งลูกบอลที่ใช้ในการเปิดงานได้สำเร็จ

ดร.ซิสเตอร์อัจฉรา สุขพิบูลย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนมารีวิทยา กล่าวว่า โรงเรียนมารีวิทยา ใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ Project Approach มาแล้วเป็นเวลา 11 ปี และรูปแบบการเรียนรู้แบบ Project based learning มาเป็นเวลา 7 ปี โดยมีการจัดการเรียนรู้เช่นนี้ทั้งระบบ ตลอดระยะเวลาการเรียนรู้ 1 เดือนที่ผ่านมา นักเรียนทุก ชั้นปี และทุกคนเรียนรู้ในรูปแบบดังกล่าว และได้มีการพัฒนารูปแบบให้สมบูรณ์สอดคล้อง กับความต้องการของผู้เรียน และส่งเสริมกระบวนการคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โรงเรียนมีเป้าหมายในการพัฒนาความสามารถของนักเรียน ด้านกระบวนการคิด และ เสริมสร้างบรรยากาศการทางานเป็นทีม การสร้างองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนความคิด และนำเสนอผลงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น โดยใช้นวัตกรรมขั้นตอนการดำเนินงาน แบบ M-A-R-Y model ในการจัดการเรียนรู้เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 (3Rs+8Cs) ให้กับนักเรียน
1.การเรียนรู้แบบ Project Approach ของนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 1 จนถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนได้เริ่มต้นการเรียนรู้จากวรรณกรรม ได้แก่ นิทาน และเรื่องเล่าต่างๆ เช่น นิทานเรื่องมดตะนอยลอยน้า ป๋องแป๋งทางานบ้าน ทุ่งนามหาสนุก และแสดงความสนใจเรื่องในเรื่องหนึ่งเพื่อทำการศึกษาในเชิงลึกตามกระบวนการเรียนรู้แบบ Project Approach นักเรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ จากนิทาน ได้ทดลอง ได้สัมผัส ได้ลงมือปฏิบัติสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง โดยมีคุณครู ผู้ปกครองเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน
2. การเรียนรู้แบบ Project based learning ของนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ STEM Education เป็นแนวทางการเรียนรู้ นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ได้นาเรื่องของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรมและคณิตศาสตร์บูรณาการสู่การเรียนรู้ และการแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย ซึ่งผลที่ได้รับเป็นที่ประจักษ์สู่สายตาทุกท่านในวันนี้ เช่น โครงงานเชิงเทียนมหัศจรรย์ โครงงานเครื่องดูดฝุ่นอัตโนมือ โครงงานฺ Bottle Squeeze โครงงาน Carandas Jam โครงงานการศึกษาประสิทธิภาพของสารแทนนินในพืชเพื่อใช้ลดแอมโมเนียในน้ำ โครงงาน โบ๊ะแตก เป็นต้น


สาหรับในปีการศึกษา 2563 นี้ คณะกรรมการแกนนา สะเต็มศึกษาของโรงเรียน ได้คัดเลือกห้องเรียน ที่มีการบริหารจัดการเรียนรู้โครงงานประสบผลสำเร็จ ได้ทำการคัดเลือกนำผลงานมาจัดแสดงและนำเสนออีกครั้งในวันนี้ ระดับอนุบาล 15 ห้องเรียน 15 โครงงาน จัดในอาคารเรียน / ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 3 มีจำนวน 15 โครงงาน ได้นำมาเสนอ The best 6 โครงงาน / ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 –6 มีจำนวน 74 โครงงาน ได้นำมาเสนอ The best 30 โครงงาน / ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีจำนวน 46 โครงงาน ได้นำมาเสนอ The best 18 โครงงาน / ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีจำนวน 30 โครงงานได้นำมาเสนอ The best 18 โครงงาน และพิเศษสำหรับปีนี้ ในระดับมัธยมศึกษา ได้เชิญคณะกรรมการจากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี คณะกรรมการจากห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็มม่าอริส ซึ่งโรงเรียนมารีวิทยาได้เป็นโรงเรียนเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ และห้องเรียนนวัตกรรม เพื่อหาสุดยอดโครงงานในแต่ละช่วงชั้นต่อไป

มีคณาจารย์ที่ให้เกียรติมาเป็นกรรมการตัดสิน และ ให้ข้อเสนอแนะกับโครงงานของนักเรียนในครั้งนี้จานวน 7 ท่านดังนี้ 1. ดร. เปรมศักดิ์ พวงพลอย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2. ผศ.ดร. เกตินันท์ กิตติพงศ์พิทยา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 3. คุณเอกสิทธิ์ เกิดกฤษฎานนท์ กรรมการผู้จัดการ หจก.เอ็มม่าอลิส 4. คุณสินชัย ลือสุขประเสริฐ ผู้อานวยการฝ่ายโรงงานบริษัท มารีนโกลด์โปรดักส์จำกัด 5. คุณเกียรติศักดิ์ อัศวรุ่ง กรรมการผู้จัดการบริษัทจากัด มหาชัยบรรจุภัณฑ์ 6. นายกนกพล ประภานนท์ อาจารย์ผู้สอนห้องเรียนนวัตกรรม 7. นายวีรชัย เออ้วน อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนวิชานวัตกรรม

เกียรติยศ ศรีสกุล ผอ.ข่าว ภาคกลาง