ข่าวทั่วไป

เปิดศูนย์การเรียนรู้ขนมซั้ง และหมู่บ้านวัฒนธรรมขนมซั้ง 100 ปี เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมายาวนานกว่า 200 ปี และเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ให้กับคนในพื้น รวมทั้งที่ผู้สนใจ ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพทางเลือกได้

 

เปิดศูนย์การเรียนรู้ขนมซั้ง และหมู่บ้านวัฒนธรรมขนมซั้ง 100 ปี เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมายาวนานกว่า 200 ปี และเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ให้กับคนในพื้น รวมทั้งที่ผู้สนใจ ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพทางเลือกได้

วันที่ 31 มี.ค. 66 ที่ อ.ควนเนียง จ.สงขลา นางสุรียพรรณ์ ณ สงขลา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย นายวินิจ เทพนิต นายอำเภอควนเนียง ร่วมในพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ขนมซั้งเทศบาลตำบลบางเหรียง และหมู่บ้านวัฒนธรรมขนมซั้งมงคล 100 ปี รวมทั้งมอบรางวัลเชิดชูเกียรติคริภูมิปัญญาและผู้สืบสารภูมิปัญญา โดยทางชาวบ้านได้จัดขบวนนางรำและกลองยาวมาต้อนรับคณะของนายอำเภอควนเนียง เละพากันเดินเข้ายังไปบริเวณงาน เพื่อสร้างสีสันภายในงาน และการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่

โดยมี นายเวียง จันทฤทธิ์ นายกเทศมนตรีตำบลบางเหรียง พร้อมด้วย ผศ.ดวงฤดี อุทัยหอม ผู้รับผิดชอบงานด้านวิชาการ และทีมอาจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ใหญ่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย รวมทั้งภาครัฐ และสมาคม กลุ่มองค์กรต่างๆ ที่ให้การสนับสนุน เข้าร่วมจำนวนมาก

สำหรับศูนย์การเรียนรู้ขนมซั้งเทศบาลตำบลบางเหรียง และหมู่บ้านวัฒนธรรมขนมซั้งมงคล 100 ปี ตั้งอยู่ในพื้นที่ ม.1 บ้านคลองคล้า ต.บางเหรียง อ.ควนเนียง จ.สงขลา และหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนแห่งนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง 4 เดือน ที่ผ่านมา

ซึ่งในปีนี้ได้ดำเนินการ และให้ความสำคัญกับขนมซั้ง ซึ่งเป็นขนมโบราณของพื้นที่ อ.ควนเนียง และเป็นมรดกทางภูมิปัญญาการทำอาหารในพื้นที่ที่มีมาร่วม 200 ปี โดยกลุ่มผู้ให้การสนับสนุนได้เข้ามาดำเนินงานพัฒนากลุ่มอาชีพ และทุกครัวเรือนที่มีความเกี่ยวข้องกับอาชีพขนมซั้งทั้งในพื้นที่ ต.บางเหรียง อ.ควนเนียง ซึ่งเป็นพื้นที่หลัก และบางส่วนของ ต.รัตภูมิ ที่มีการผลิตบางส่วน

รวมทั้งทางมหาวิทยาลัยได้เข้ามาทำการศึกษาข้อมูลเชิงวิชาการทุกครัวเรือนที่มีการดำเนินการเกี่ยวข้องกับขนมซั้งอย่างเจาะลึก มีการจัดทำฐานข้อมูล ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อคนในพื้นที่ และกลุ่มผู้ทำอาชีพขนมซั้ง

นอกจากนี้ยังทีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ขนมซั้งเทศบาลตำบลบางเหรียง ขึ้น เพื่อใช้เป็นเหล่งถ่ายทอดภูมิปัญญาการทำขนมซั้งของพื้นที่ เละเป็นการอนุรักษ์สืบสานคุณค่าของท้องถิ่นให้ดำรงอยู่สืบไป ซึ่งทั้งคนในพื้นที่ และผู้ที่สนใจสามารถเดินทางมาเยี่ยมชมได้ครบวงจร

โดยทาง นายวินิจ เทพนิต นายอำเภอควนเนียง ยังได้มอบโล่เชิดชูเกียรติและมอบรางวัลครูภูมิปัญญาขนมซั้งบางเหรียง จำนวน 3 ท่าน คือ นางแผนก ตรีรัตน์ อายุ 84 ปี นางดวง เพ็งแก้ว อายุ 81 ปี และ นางเจียร วิไลรัตน์ อายุ 80 ปี ซึ่งทุกคนยังคงสืบสานการทำขนมซั้งมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ และถ่ายทอดสู่รุ่นลูกหลาน

ทั้งนี้สำหรับขนมซั้งปัจจุบันยังคงเป็นที่รู้จัก และเป็นที่นิยมของคนในพื้นที่ และใกล้เคียง อีกทั้งในหมู่องนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะชาวมาเลเซีย และสิงคโปร์ ก็เคยได้ลิ้มลองรสชาติ และชื่นชอบด้วยเช่นกัน เนื่องจาก อ.ควนเนียง อยู่ใกล้กับแหล่งท่องเที่ยงและเมืองเศรษฐกิจอย่าง อ.หาดใหญ่ จึงสามารถหาขนมซั้งทานได้ไม่ยากนัก

สำหรับขนมซั้งทำมาจากข้างเหนียว มีลักษณะรูปทรงสามเหลี่ยมสีเหลืองใสคล้ายข้าวต้มสามเหลี่ยม และห่อด้วยใบไผ่ป่า ซึ่งเสน่ห์และลักษณะที่ดีของขนมซั้งคือ ต้องใสเหมือนแก้ว ไม่มีรสขม และเหนียวนุ่ม ซึ่งเชื่อว่า ขนมประเภทนี้ได้รับอิทธิมาจากประเทศจีน ที่ได้เดินทางอพยพย้ายถิ่น และทำการค้ากับหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย โดยขนมซั้งสามารถทานได้ทั้งกินสดๆ จิ้มกับน้ำตาลทราย หรือน้ำตาลอ้อย หรือใส่น้ำเชื่อม ราดน้ำกะทิ เติมน้ำแข็งลงไป ก็ได้เช่นเดียวกัน

/////พี่เสือ นักข่าวสงขลา