นราธิวาส – สวนทุเรียนแปลงใหญ่1เดียวที่นราฯมีมาตรฐานถูกคัดเลือกส่งขายจีน
นายนิโรธ ศรีสุวรรณ์ อายุ 49 ปี อยู่บ้านเลขที่ 164 บ้านเขาสามสิบ ม.6 ต.โละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นเจ้าของสวนทุเรียนสงวนทรัพย์สุวรรณ
โดยใช้พื้นที่เนินเขา จำนวน 48 ไร่ ปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เป็นเวลานานกว่า 8 ปี และสามารถตัดผลผลิตออกจำหน่ายได้มาแล้ว 4 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะตัดไปจำหน่ายเองที่ตลาดมาลายูบางกอก อ.เมือง จ.ยะลา โดยที่ผ่านมามีพ่อค้าแม่ค้ามาขอซื้อแบบเหมาสวนถึงที่ แต่นายนิโรธ ปฏิเสธเนื่องจากผลผลิตทุเรียนในแต่ละปีจะมีมาตรฐานอยู่ในเกรด เอ. ที่ตลาดมีความต้องการ เนื่องจากพ่อค้าแม่ค้าได้มาซื้อเหมาจ่ายยกสวนในราคาถูก ที่ไม่คุ้มทุนต่อการดูแลรักษาที่ค่อยข้างต้องเอาใจใส่ทุกกระเบียดนิ้ว ตั้งแต่การบำรุงใบ การรักษาลำต้น การดูแลช่อดอก การผสมเกสร ซึ่งทุกระยะในกระบวนการออกผลผลิต ต้องใช้ความอดทนที่นายนิโรธ จำเป็นต้องจ้างลูกน้องอีก 5 คน ช่วยกันหมั่นดูแล
โดยในรอบปี 2565 นายนิโรธ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตจากสวนทุเรียนออกไปจำหน่ายสู้ท้องตลาด ได้จำนวน 15,000 ก.ก. ในราคากิโลกรัมละ 150 บาท แต่ในปีนี้ผลผลิตทุเรียนลดน้อยลง คาดกาลในช่วงแรกจะมีผลผลิตเก็บเกี่ยวออกจำหน่ายสู่ท้องตลาด 4,000 ถึง 5,000 ก.ก. คาดการราคาอาจจะคงเดิมเหมือนปีที่ผ่านมา แต่ในช่วงทุเรียนออกรุ่นที่ 2 ในช่วงเดือนมกราคมนี้ อาจจะมีราคาสูงกว่าช่วงแรกเกือบ 2 เท่าตัว ซึ่งทุเรียนในสวนของนายนิโรธ ส่วนใหญ่จะได้ผลผลิตเกรดเอ โดยจะสังเกตลูกทุเรียนได้ง่ายทุเรียนเกรด เอ. 1 ลูก จะมี 3 พูใหญ่กับ 1 พูเล็ก และแต่ละลูกซึ่งจะมีน้ำหนักตกลูกละ ประมาณ 3 ถึง 4 ก.ก. ส่วนเกรด บี อยู่ในช่วงน้ำหนักตกลูกละ 5 ก.ก.ขึ้นไป ซึ่งจะมีราคาถูกกว่าเกรด เอ. ซึ่งไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค โดยผลผลิตทุเรียนของสวนนายนิโรธ จะสุกออกจำหน่ายสู่ท้องตลาดในอีกประมาณ 20 วัน ซึ่งเป็นทุเรียนรุ่นแรก
สิ่งสำคัญในการปลูกทุเรียนที่สามารถให้ผลผลิตสูงและมีจำนวนมากและได้มาตรฐาน คือ ในช่วงการผสมเกสรที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อน ด้วยการนำเครื่องเป่าลมมาเป่าเกสรของดอกทุเรียนในช่วงกลางคืนตั้งแต่เวลา 19.00 น. ถึง 22.00 น.ซึ่งจะติดผลได้จำนวนมากกว่าการผสมเกสรด้วยวิธีอื่นๆ หรือได้ผลมากกว่าร้อยละกว่า 90
นอกจากนี้จากสวนทุเรียนของนายนิโรธ ที่ได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นสวนทุเรียน 1 ใน 8 สวนที่อยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการคัดเลิกจากมูลนิธิปิดทองหลังพระ เพื่อนำผลผลิตทุเรียนส่งจำหน่ายให้กับประเทศจีนในเวลาอันใกล้นี้ ในการสร้างรายได้ให้กับเกตรกรและเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรนำไปเป็นแบบอย่าง เป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดเงื่อนไขในมิติความมั่นคงของจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกทางหนึ่ง
ด้านนายนิโรธ เจ้าของสวนทุเรียนทรัพย์สุวรรณ กล่าวว่า คือแรกเริ่มทางเกษตรอำเภอได้แนะนำมาคือไม่มีความรู้เกี่ยวกับการปลูกทุเรียน ได้เข้าอบรมศึกษามาเรื่อยๆจนสร้างสมประสบการณ์ ตั้งแต่การปลูก การตัดแต่งกิ่ง ดูแลรักษาต้น ดูแลเรื่องโรคเรื่องเพลี้ยศัตรูต่างๆ เราต้องรักษาให้ถูกจุด เราปฏิเสธไม่ได้เรื่องสารเคมีในทุเรียน แต่แปลงนี้วัชรพืชเราจะเน้นด้วยการตัดหญ้าเป็นหลัก เราจะไม่ใช่ยาฆ่าหญ้าวัชรพืชถ้าไม่ระบาดจริงๆก็ใช้ธรรมชาติก็ปล่อยให้มันดูแลตัวเองได้เป็นเรื่องธรรมชาติของต้นไม้ ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีมากมายเปลืองต้นทุน สมันนี้ทุเรียนทำอย่างไรก็ได้ให้ต้นทุนต่ำเราได้ผลผลิตที่สูง
///////////////////////////////ข่าว/ซาการียา/จ.นราธิวาส