ร้อยเอ็ด/….
แนะนำกิจกรรม”เทศกาลยามย่า” ก่อนถึงงานบุญ“บุญข้าวสาก” หรือ “บุญเดือน 10”ประมาณ 4 – 5 วัน เทศกาลน่ารักๆๆของชาวอำเภอโพนทอง เป็นกิจกรรมครรลองที่ปฏิบัติกันมายาวนาน ป้องกันความแตกแยกในสังคม เป็นการตอกย้ำ!!!สร้างสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว ญาติพี่น้อง และคนในชุมชน
เทศกาลยามย่าเป็นกิจกรรมหนึ่งก่อนงานประเพณีบุญข้าวสาก หรือ “บุญเดือน 10” เพราะยึดเอาวันขึ้น 15 ค่ า เดือน 10 เรียกว่า “เพ็ญเดือน 10” เป็นวันบุญข้าวสาก จะมีกิจกรรมหนึ่งที่ทุกชุมชนชาวบ้านในอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ดปฏิบัติสืบทอดกันอย่างต่อเนื่องคือการเยี่ยมยามญาติพี่น้องเรียกว่า “ยามย่า” เป็นการเอาข้าวของเครื่องใช้ใน งานบุญข้าวสาก เช่น ข้าวสาร เผือกมัน กล้วย น้ำอ้อย น้ำตาล ถั่ว ธัญพืชต่าง ๆ ไปมอบให้แก่ญาติพี่น้องฝ่ายคุณพ่อ-แม่ ภาษาอิสานเรียกว่าการ “ยามย่า” จะทำก่อนถึงงานบุญ“บุญข้าวสาก” หรือ “บุญเดือน 10”ประมาณ 4 – 5 วัน
พ่อใหญ่แผน ผู้เฒ่าอายุ 76 ปี ชาวบ้านหนองโก-โพธิ์เงิน หมู่ที่ 12 ตำบลโพธิ์ศรีสว่าง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวคือ ช่วงนี้จะเป็นช่วง”ยามปู่ยามย่า” ลูกหลาน จะออกตระเวนเยี่ยม ปู่-ย่า-ตา-ยายในชุมชน หรือในตำบลนั้นๆด้วยการเตรียมผลไม้ หมากพลู ข้าวสาร เผือกมัน กล้วย น้ำอ้อย น้ำตาล ถั่ว ไปฝากญาติผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายพ่อและแม่ และถือโอกาสให้ลูกหลานรุ่นใหม่ได้ทำความรู้จักกับปู่-ย่า-ตา-ยาย ทั้งญาติใกล้ชิดและญาติห่าง ๆ ด้วยของไหว้คือ หมากพลู ข้าวสาร เผือกมัน กล้วย น้ำอ้อย น้ำตาล ถั่ว สิ่งของยามย่าเหล่านี้ ย่า ก็จะนำไปห่อข้าวสากเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรกหรือเปรต โดยตามประเพณีจะทำพิธีกรรม”ยายข้าวสาก”ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10
ส่วนปู่-ย่า-ตา-ยาย ก็จะเตรียมขนมนมเนยหรือเงินขวัญถุงไว้ติดกระเป๋าให้ลูกหลานที่เข้ามาหา ” มายาม ” แนะนำตนเองลูกคนนั้น คนนี้ เป็นกุศโลบายคนโบราณแสดงออกให้ระลึกรู้คุณบรรพชนนอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นมิติการ สร้างความสามัคคีของเครือญาติและคนในชุมชนเป็นการตอกย้ำสังคม/ปี กิจกรรมยามย่าก่อนบุญข้าวสากจึงเป็นประเพณีสร้างสรรค์ สร้างสรรค์สังคมท้องถิ่นเพื่อความสมานฉันท์ที่ยั่งยืน
สุเทพ ลอยแก้ว/รายงาน