กรมสุขภาพจิต ตั้งบูธเยียวยาจิตใจ
วันที่ 4 ตุลาคม 2566 เมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา
แพทย์หญิง อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้นำทีมแพทย์ จากกรมสุขภาพจิต มาออกบูธให้คำปรึกษากับผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ เยาวชนใช้อาวุธปืนยิงทำร้ายร่างกายนักท่องเที่ยวเมื่อเย็นวานนี้ที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ซึ่งหลังเกิดเหตุ ทามกรมสุขภาพจิต ได้ประสานมายังห้างสรรพสินค้าทันที เพื่อจะให้ทีมแพทย์ได้มาตั้งบูธให้คำปรึกษานักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่อยู่ในเหตุการณ์ ไม่ว่าจะได้รับบาดเจ็บทางร่างกายเล็กน้อย หรือ รุนแรง หรือ เป็นเพื่อนหรือคนใกล้ชิดผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือว่าการได้ยินเสียงปืน การเห็นภาพที่อลม่านวุ่นวาย ที่ อาจจะทำให้เกิดบาดแผลในจิตใจ สามารถเข้ามาขอคำปรึกษาทีมแพทย์ได้ตลอดทั้งวัน ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 10 ตุลาคม ตามเวลาทำการของห้าง หรือ ประชาชนทั่วไปที่รับข่าวสาร ก็สามารถเข้ามาขอคำปรึกษาได้เช่นกัน ซึ่งแพทย์จะแนะนำวิธีผ่อนคลายความเครียด การประเมินความเครียดให้กับผู้ขอใช้บริการก็ได้เช่นกัน
ซึ่งตั้งแต่มีการตั้งบูธก็เริ่มมีคนเข้ามาขอคำปรึกษาแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่อยู่ในเหตุการณ์ ที่ได้ยินเสียงปืน ก็มีการแนะนำวิธีการผ่อนคลายไป คือการให้หลีกเลี่ยงการรับข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ การพาตัวเองไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัย
แพทย์หญิงอัมพร ยังได้พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องที่น่าเจ็บปวดมีการสูญเสียที่รุยแรง และไม่ว่าตัวผู้ก่อเหตุจะสิ่งปลุกเร้าอะไรทำให้ก่อเหตุ แต่อยากให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของเด็กที่ต้องดูแล ทั้งครอบครัวที่ต้องใส่ใจดูแล หากมีการติดเกมส์ หรือ กิจกรรมรุนแรง ก็อยากให้ผู้ปกครองดึงเด็กออกมาทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ รวมถึง การนำเสนออของสื่อที่มีการเผยแพร่ข่าวอันตรายรุนแรง เกินความเหมาะสมไป ก็เหมือนเป็นการไปย้ำเหตุการณ์ที่กระทบต่อจิตใจได้อีก
ส่วนประเด็นที่ว่าผู้ก่อเหตุมีความกดดันความเครียดเรื่องผลการเรียนนั้น แพทย์หญิงอัมพร การเลี้ยงดูนั้นมีส่วนสำคัญ แม้ว่า ผู้ปกครองจะไม่ได้กดดันหรือคาดหวังในเรื่องผลการเรียนมากนัก แต่ในความรับรู้ของเด็ก ก็อาจจะมีความคิดที่ต่างออกไปจนเกิดเป็นความกดดัน ซึ่งอาจจะเกิดจากกลุ่มเพื่อน หรือการแข่งขันต่างๆ ซึ่งประเด็นดังกล่าวทางสถานศึกษาและครอบครัว จะต้องมีการทบทวนกับสิ่งที่เกิดขึ้น และจะต้องใส่ใจเด็ก สังเกตการเปลี่ยนแปลงของเด็ก การรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้น
โชติกา ม่วงใจรักษ์ ผู้สื่อข่าว กทม.