ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรสิทธิ์ โทจำปา คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย ดร.ณิชากร คอนดี ผศ.ดร.สุพรรณิกา อินต๊ะนนท์ อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะนักวิจัย ร่วมแถลงความสำเร็จการคิดค้น “สารกำจัดวัชพืชชีวภาพ (bioherbicide)” จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรโดยแบคทีเรีย ปลอดสารพิษ ลดการตกค้าง มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักสากล SDGs พร้อมต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์
โดยการนำวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตรและผลพลอยได้จากการแปรรูปผลผลิตทางเกษตร เช่น กากสับปะรด กากถั่วเหลือง เปลือกทุเรียน กากมะพร้าว กากบีบน้ำมันมะพร้าว กากบีบน้ำมันรำข้าว เป็นต้น มาใช้เป็นแหล่งอาหารและพลังงานให้กับแบคทีเรียผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพมาใช้แทนที่สารเคมีที่อันตราย คือ “สารกำจัดวัชพืชชีวภาพ (bioherbicide)” ที่มีความปลอดภัยทั้งต่อทั้งผู้ใช้งานและผู้บริโภค และย่อยสลายได้ในสิ่งแวดล้อม สารกำจัดวัชพืชชีวภาพ (bioherbicide) พร้อมต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองการถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา 0 5596 8727/.ปรีชา นุตจัรส รายงานข่าวพิษณุโลก