#กองทุนพัฒนาสื่อ เดินหน้าโครงการเสวนา 5 ภูมิภาค สัญจรครั้งที่ 4 จังหวัด จันทบุรี เพื่อเปิดพื้นที่ให้มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และรับฟังข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เดินหน้า #โครงการเสวนาการส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ 5 ภูมิภาค อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 โดยมี
ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ ประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์, นายพีรพน พิสณุพงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปวัฒนธรรม และ รองประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและ ไม่สร้างสรรค์, นางจริญญา จักรกาย อนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์, นางวารีรัตน์ เลิศนที อนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์, ดร.ตรี บุญเจือ อนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์, นายจิติภัทร์ บุญสม อนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์, นางสาวสุปราณี แก้วหุง ผู้ผลิตสื่อออนไลน์ จันทบุรีแจ้งข่าว, นางสาวจุฑามาศ อินทร์จันทร์ ประธานสมาคมนักจัดรายการวิทยุ จังหวัดจันทบุรี ผู้แทนสื่อท้องถิ่น, ผศ.ดร.เสาวนีย์ วรรณประภา อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, พ.ต.อ.ไพโรจน์ หมื่นกล้าหาญ รองผู้บังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 2 ผู้แทนนักกฎหมาย เข้าร่วมงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2566 ณ มณีจันทร์รีสอร์ท จ.จันทบุรี
ดร. สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ กล่าวว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ส่งเสริมสนับและสนุนภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการผลิตสื่อและพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึง เข้าใจ และใช้ประโยชน์จากสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์อย่างทั่วถึง ส่งเสริมให้ประชาชนโดยเฉพาะ กลุ่มเด็ก เยาวชน และครอบครัว มีทักษะในการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ
โดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์พร้อมที่จะให้การสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดกระบวนการคัดกรองเฝ้าระวังและรู้เท่าทันสื่อ พัฒนาช่องทางเพื่อสื่อสารให้สังคมเกิดการรับรู้และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกคน งานเสวนาในครั้งนี้ จึงเป็นงานประชุมระดมสมองและอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อสร้างพลังการมีส่วนร่วม รู้ทันเท่าสื่อร้ายพร้อมเรียนรู้และพัฒนาตนเอง เพื่อพัฒนาสื่อดีสู่ภาคีเครือข่ายสังคมที่เข้มแข็งต่อไป และเพื่อตอกย้ำถึงการสร้างความร่วมมือของประชาชน
ในสังคมชุมชนจังหวัดจันทบุรี สร้างองค์ความรู้ในด้านการผลิตพัฒนาสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งตรงตามเป้าหมายหลักของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในการจัดโครงการเสวนาการส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ 5 ภูมิภาค บรรยากาศภายในงาน เริ่มด้วยการเปิดลงทะเบียนให้กับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ จากนั้นได้เปิดฉากงานด้วยการเสวนาการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ หัวข้อ “ภัยหลอกลวงทางออนไลน์” โดยผู้ร่วมเสวนา ดังนี้ นายพีรพน พิสณุพงศ์, นางสาวสุปราณี แก้วหุง, นางสาวจุฑามาศ อินจันทร์,
ผศ. ดร.เสาวนีย์ วรรณประภา, พ.ต.อ.ไพโรจน์ หมื่นกล้าหาญ จากนั้นตัวแทนเครือข่ายแต่ละภาคส่วนยังได้เข้าร่วมกิจกรรม Workshop “สร้างแนวร่วม สานพลังเครือข่าย เฝ้าระวังสื่อ ด้วยกระบวนการ ELTC: (Experiential Learning Theory Cycle) วงจรการเรียนรู้จากประสบการณ์” กระบวนการ “รู้จัก รู้ใช้ รู้ทันสื่อ” โดย
ผศ.ดร.กรุณา แดงสุวรรณ อาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และ ผศ.ดร.ก้องกิดากร บุญช่วย อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เพื่อแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสื่อ หรือต้องการใช้สื่อเพื่อเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาและเฝ้าระวัง ในช่วงบ่ายได้มีการนำเสนอร่างมาตรการส่งเสริมพัฒนาและสร้างทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ รวมทั้งเพื่อส่งเสริมการใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคม โดย ดร.ตรี บุญเจือ อนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ขอบคุณตัวแทนจากเครือข่ายในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนจากสื่อท้องถิ่น ตัวแทนจากนักวิชาการ เป็นอย่างยิ่งที่ได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร และหน่วยงานองค์กร ภาครัฐ
ภาควิชาชีพ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และประชาชนชาวจันทบุรีทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือกับ
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และสนับสนุนให้การประชุมเสวนาในครั้งนี้บรรลุผลสำเร็จ
สำหรับงานเสวนาการส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ 5 ภูมิภาค ภายใต้แนวคิด “รู้จัก รู้ใช้ รู้ทันสื่อ เพื่อการขับเคลื่อนสังคม” จัดขึ้นจำนวนทั้งสิ้น 5 ครั้ง โดยครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 4 ต่อไปจะเป็น ครั้งที่ 5: วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2566 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ โรงแรมเซ็นทารา อุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี