วันที่ (17 มกราคม 2567)ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากางยางแห่งประเทศไทย นำสิ่งของไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆผ่านโครงการคาราวานรวมใจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ 16-18 มกราคม 2567 นำโดยดร.เพิก เลิศวังพง ประธานคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ด กยท.) นายโกศล บุญคง รองผู้ว่าการด้านธุรกิจ คณะผู้บริหารและพนักงานการยางแห่งประเทศไทย นายพนัสพล โกสิยาภรณ์ ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดนราธิวาส นและนายรุสดี สะอะ ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยสาขาระแงะ นำคาราวานรถตู้จำนวน 15 คัน เดินทางไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส
สำหรับสิ่งของที่ส่งมอบในครั้งนี้ประกอบด้วยถุงยังชีพเครื่องอุปโภค-บริโภคและน้ำดื่มจำนวน 30,000 ขวด ยารักษาโรค พรหมละหมาด เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ผ้าอ้อมสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ ผ้าอนามัยสำหรับสุภาพสตรี และอื่นๆที่จำเป็น ซึ่งมีพันธมิตรร่วมบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่กำลังได้รับความเดือดร้อน ที่อาคารอเนกประสงค์ องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จ.นราธิวาส รวมทั้งอำเภออื่นๆ ที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วม โดยการยางแห่งประเทศไทยมีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัด ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
ทั้งนี้การดำเนินงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กยท.จ.นราธิวาสเกษตรกรชาวสวนยางที่ประสบภัยสวนยางน้ำท่วม 28,909 ราย 362,035 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 54.69 จากพื้นที่ สวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. จำนวน 661,970.64 ไร่ ซึ่งกยท.ได้เร่งดำเนินการเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยและเกษตรกรชาวสวนยาง ดังนี้ 1. มอบถุงยังชีพในหลายพื้นที่ 2. มอบเงินช่วยเหลือให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง กรณีเสียชีวิตให้แก่ทายาท 3. เร่งดำเนินการสำรวจและรับคำขอ จัดซื้อถ้วยรองรับน้ำยาง ทดแทนถ้วยรองรับน้ำยางที่สูญหายจากอุทกภัย 4.เร่งดำเนินการสำรวจสวนยางพาราที่ได้รับความเสียหาย เพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป
ด้านดร.เพิก เลิศวังพง ประธานคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ด กยท.) กล่าวว่าร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ลงมาติดตามซึ่งมีความจำเป็นต้องมีการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นมาตราการเร่งด่วน ซึ่งผมเองมาจากเกษตรกรโดยตรง เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าเราได้แก้ปัญหาราคายางที่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันราคายางผ่าน 60 บาทแล้ว และแนวโน้มมีโอกาสขยับขึ้นไปได้อีก โดยกางยางคอยกำกับดูแลความเหลื่อมล้ำในสังคมนิเวศน์ของยางเพื่อให้ระบบสมบูรณ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์จากยังต้องสามารถตรวจสอบได้ซึ่งประเทศอื่นทำได้ยาก ซึ่งความเป็นอยู่ของชาวส่วนยางดีขึ้นแน่นอน ซึ่งส่วนฉรคใบร่วงที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ เราได้ระดมทุกบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรทั้งหมดทำแปลงทดลองร่วมกัน ซึ่งการยางมิติใหม่ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมกัน เพราะเรายังเป็นเบอร์ 1 ในเรื่องวัตถุดิบอยู่ เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่สามารถก้าวไปสู่เป็นผู้ผลิตปลายน้ำได้เราก็ต้องยึดฐานต้นน้ำให้มั่นคง
ข่าว/ซาการียา/จ.นราธิวาส