ดร.ธีรวงศ์ สรรค์พิพัฒน์ ประธานเครือข่ายเอสเอ็มอีรุ่นใหม่ วอนผู้ว่าธปท. ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร่งด่วน เพื่อเพิ่มกำลังซื้อและกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ยังขยายตัวได้ช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ขณะที่ดอกเบี้ยนโยบายของไทยธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงที่ 2.5 เปอร์เซนต์ และไม่มีการคาดการณ์ที่จะปรับลดลงในปีปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับธนาคารกลางสหรัฐ fed ที่เพิ่งมีการปรับลดลงที่ 0.25 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มจะลดลงอีก พิจารณาถึงสภาวะเงินเฟ้อที่ไทยยังติดลบ ดอกเบี้ยนโยบายของไทยจึงควรปรับลง เพื่อไม่ให้เป็นข้อสังเกตุในการอุ้มธนาคารมากกว่าเอสเอ็มอีและรากหญ้า ทั้งปีที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์มีกำไรมหาศาลรวมถึงกว่า 2.2แสนล้านบาท ทั้งที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารไทยหลายแห่งเป็นคนต่างชาติอาจส่งผมให้เงินสดสภาพคล่องถูกสูบออกต่างประเทศอย่างมาก
อัตราการเติบโตเฉพาะกำไรสุทธิสูงขึ้นมากถึง 37 เปอร์เซนต์ในธนาคารพาณิชย์บางแห่งซึ่งกำไรของธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มาจากหยาดเหงื่อ แรงงานและน้ำตาของประชาชน คือเงินส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้ (spread) การปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ต้นทุกจึงควรต่ำกว่าธุรกิจภาคอื่นๆ โดยรวมเพราะไม่มีความซับซ้อนและสามารถใช้แพลทฟอร์ม ai คำนวนเบื้องต้นในการนำเงินฝากออกให้กู้ ขณะที่ภาคธุรกิจอื่นต้องมีการสำรวจ ซื้อวัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิตที่ยุ่งยากซับซ้อนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตลอดจนเครดิตจากลูกค้า ธปท.จึงควรคิดสูตรต้นทุนเฉลี่ยสำเร็จไม่ใช่ให้ใช้ Net Interest Rate Margin (NIM) มาคำนวนอย่างมักง่ายและปล่อยให้ธนาคารพาณิชย์ให้สินทรัพย์เฉลี่ยมาหาร รายได้ดอกเบี้ยหลังลบรายได้ดอกเบี้ยเงินฝากอย่างอิสระโดยปราศจากการควบคุม และกำหนดต้นทุนที่ควรจะเป็นล้วนสร้างเวทย์มนต์ในการปรับตัวเลขต้นทุน เกิดข้อสงสัยวงกว้าง ในขณะที่สังคมตั้งคำถามถึงดอกเบี้ยนโยบาย ธปท. ควรดำเนินการตอบสังคมอย่างชัดเจนและมีหลักเกณฑ์มากกว่านี้ไม่ใช่อ้างถึงการขึ้นดอกเบี้ยทำให้ลูกหนี้เร่งชำระหนี้ได้มากขึ้น หนี้หมดเร็วขึ้นเพราะผู้ตอบย่อมไม่เคยอยู่ในสภาวะเงินขาดแคลน กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ และหาเช้ากินค่ำมาจ่ายดอกเบี้ยธนาคาร ธปท.และหรืออ้างว่าป้องกันการกู้ที่มากเกินความจำเป็นโดยไม่มีเหตุผลตัวเลขมาชี้แจง ขึงของให้ ธปท. และ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) พิจารณาเร่งด่วนดังนี้
1. ลดดอกเบี้ยนโยบายให้สอดคล้องกับเงินเฟ้อที่ติดลบ และกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเติมสภาพคล่องเข้าไปในภาคธุรกิจจากการลดดอกเบี้ยลงสามารถตัดต้นเงินกู้ได้มากขึ้น ภาระหนี้หมดเร็วขึ้น
2. ปรับลดค่าปรับเมื่อลูกหนี้ผิดนัด ให้ไม่เกินดอกเบี้ยที่ควรจ่าย แต่ลงโทษลูกหนี้ด้วยเครดิตบูโรแทน
3. ยกเลิกค่าปรับจากการชำระหนี้ล่วงหน้า เช่น การปิดยอดกู้ บ้าน รถยนต์
4. กำหนดเกณฑ์การคิดค่าธรรมเนียมและค่าปรับที่ชัดเจนในธนาคารพาณิชย์ ไม่ให้อิสระในการสร้างเงื่อนไขค่าธรรมเนียมค่าปรับขึ้นใหม่ได้เอง
5. ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ด่วน กดเงินสด Personal Loans ให้เป็นเรท MRR ไม่ใช่คิดรวมค่าปรับสูงถึงกว่า 20-30 เปอร์เซนต์ และอ้างว่าต้องรับภาระจากหนี้ไม่มีหลักประกัน ธนาคารสามารถใช้เครดิตบูโร วงเงิน ในการปล่อยสินเชื่อได้ไม่ใช่ให้ลูกหนี้อีกรายรับภาระดอกเบี้ยจากการผิดนัดของลูกหนี้อีกราย ทั้งที่ NPL ยังอยู่ในระดับคงที่ระหว่าง 2.66-2.70 ในปี 2566
เหตุผลที่ ธปท. ชี้แจงว่าการลดดอกเบี้ยกระตุ้นให้การก่อหนี้มากขึ้น เป็นความจริงด้านเดียวเพราะการกู้ในภาคธุรกิจต้องมีโครงการและรายการเดินบัญชีเข้าให้ธนาคารพิจารณา ล้วนกระตุ้นให้ GDP เติบโตขึ้นโดยตรง ทั้งประชาชนกู้เพื่ออยู่รอดมีปัญหาการใช้ชีวิตและดำเนินธุรกิจย่อมเปราะบางกับสังคมมากกว่าการไม่ได้เงินกู้ เมื่อประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ยากทำให้ต้องใช้แหล่งเงินกู้นอกระบบซึ่งสร้างปัญหาที่ร้ายแรงตามมา มุมมองของ ธปท. จึงควรเน้นที่รากหญ้า และเอสเอ็มอีเป็นหลัก และเงินเฟ้อที่ติดลบไม่ใช่ชั่วคราวเพราะติดต่อกันมาเกือบ 4 เดือน ตั้งแต่ ตค. ติดลบที่ 0.31, 0.44, 0.83 และยังลบต่อไปใน มค. การฝืนไม่ยอมลดดอกเบี้ยของ ธปท. ต้องมีเกณฑ์ตัวเลขที่ชัดเจนชี้แจงสังคมว่านโยบายดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานตัวเลขอะไร ใครได้และเสีย โดยรวมสร้างปัญหาให้กับการกระจายรายได้ในประเทศหรือไม่ ถ้าเพื่อให้เงินไม่ไหลออกเราควรขึ้นดอกเบี้ยให้สูงที่สุดในโลกหรือไม่ และคำนึงถึงความคุ้มค่าระหว่างความมั่นคงทางเศรษฐกิจภายในประเทศกับเงินไหลเข้าในประเทศและดึงดอกเบี้ยภายในไปเป็นกำไรส่งออกต่างประเทศ ระหว่างปากท้องประชาชนและกำไรเจ้าสัวธนาคารที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ในหลายธนาคารเป็นชาวต่างชาติ เมื่อธนาคารมีกำไรเงินไทยย่อมไหลออกไปต่างประเทศ คนไทยจะได้คุ้มเสียหรือไม่ ธปท. และคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เป็นผู้ตอบและจะแสดงให้เห็นโดยประจักษ์ว่าท่านได้ทำหน้าที่สมบูรณ์ในฐานะที่เป็นผู้รักษาประตูของประเทศ หรือเพียงแค่ผู้รักษาผลประโยชน์ให้ผู้ถือหุ้นต่างชาติของธนาคารพาณิชย์