ข่าวพาดหัว

สำนักวิจัยสยามเทคโนโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “นโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้หรือไม่”

สำนักวิจัยสยามเทคโนโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “นโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้หรือไม่” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23–30 มกราคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,330 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นนโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้หรือไม่ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “สยามเทคโนโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ และโปรแกรม Google Form โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95.00
​จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป เกี่ยวกับนโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้หรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่าง
(ร้อยละ 26.39) ระบุว่า เชื่อว่านโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้ในระดับมากที่สุด มากที่สุด
(ร้อยละ 22.26) ระบุว่า เชื่อว่านโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้ในระดับมาก
(ร้อยละ 16.31) ระบุว่า เชื่อว่านโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้ในระดับปานกลาง
(ร้อยละ 13.08) ระบุว่า เชื่อว่านโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้ในระดับน้อยที่สุด
(ร้อยละ 12.56) ระบุว่า เชื่อว่านโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้ในระดับน้อย และ
(ร้อยละ 9.40) ระบุว่า ไม่แสดงความคิดเห็น
     ท้ายที่สุดเมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป เกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนว่ารัฐบาลควรมีนโยบายใดเพื่อกำจัดการรับสินบนในระยะยาว พบว่า ตัวอย่าง
(ร้อยละ 33.23) ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการปลูกฝังและให้ความรู้การต่อต้านการรับสินบนในโรงเรียน มากที่สุด
(ร้อยละ 16.84) ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมการไม่รับสินบนในสังคม
(ร้อยละ 13.83) ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการกำหนดกฎหมายบทลงโทษการรับสินบนอย่างเด็ดขาด
(ร้อยละ 13.38) ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการเพิ่มโทษกรณีเจ้าหน้าที่รัฐรับสินบน
(ร้อยละ 11.66) ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐเพื่อให้ประชาชนร่วมตรวจสอบ
(ร้อยละ 10.76) ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการปกป้องผู้แจ้งเบาะแสการรับสินบน
(ร้อยละ 0.30) ระบุว่า ไม่แสดงความคิดเห็น
     เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง
(ร้อย ละ 9.92) มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร
(ร้อยละ 17.52) มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง
(ร้อยละ 16.32) มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ
(ร้อยละ 33.16) มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(ร้อยละ 14.74) มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้
(ร้อยละ 8.34) มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก
☆ ตัวอย่าง ร้อยละ 49.55 เป็นเพศชาย
☆ ตัวอย่าง ร้อยละ 50.45 เป็นเพศหญิง
☆ ตัวอย่าง ร้อยละ 18.57 อายุ 18-25 ปี
☆ ร้อยละ 16.08 อายุ 26-35 ปี
☆ ร้อยละ 16.92 อายุ 36-45 ปี
☆ ร้อยละ 22.26 อายุ 46-55 ปี
☆ ร้อยละ 15.94 อายุ 56-65 ปี
☆ ร้อยละ 10.23 อายุ 65 ปี ขึ้นไป
¤ ตัวอย่าง ร้อยละ 95.87 นับถือศาสนาพุทธ
¤ ร้อยละ 2.33 นับถือศาสนาอิสลาม
¤ ร้อยละ 1.80 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
☆ ​ตัวอย่าง ร้อยละ 25.12 สถานภาพโสด
☆ ร้อยละ 63.68 สถานภาพสมรส
☆ ร้อยละ 11.20 สถานภาพหม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่
¤ ตัวอย่าง ร้อยละ 19.85 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า
¤ ร้อยละ 42.93 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า
¤ ร้อยละ 4.66 จบการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
¤ ร้อยละ 30.98 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
¤ ร้อยละ 1.58 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
☆ ​ตัวอย่าง ร้อยละ 10.07 มีอาชีพหลักข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
☆ ร้อยละ 24.51 มีอาชีพหลักพนักงานเอกชน
☆ ร้อยละ 22.33 มีอาชีพหลักเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ
☆ ร้อยละ 10.68 มีอาชีพหลักเกษตรกร/ประมง
☆ ร้อยละ 23.01 มีอาชีพหลักรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน
☆ ร้อยละ 9.40 มีอาชีพหลักพ่อบ้าน/แม่บ้าน/ว่างงาน
¤ ​ตัวอย่าง ร้อยละ 20.60 ไม่มีรายได้
¤ ร้อยละ 23.68 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท
¤ ร้อยละ 26.92 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท
¤ ร้อยละ 10.23 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท
¤ ร้อยละ 6.32 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน30,001-40,000 บาท
¤ ร้อยละ 3.53 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป
¤ ร้อยละ 8.72 ไม่ระบุรายได้