ข่าวทั่วไปข่าวพาดหัวตรวจเยี่ยม

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม หนุนใช้ 4 เสาหลักสกัดยาเสพติดชายแดนใต้ คลี่คลายปัญหานักโทษยาเสพติดล้นคุก

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้สื่อข่าวรายงาน พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เดินทางมายังอาคารลานพิกุล มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เมือง จ.นราธิวาส พร้อมด้วยคณะ อาทิ พลตำรวจโทพัฒนวุธ อังคะนาวิน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชาติ จังหวัดนราธิวาส และโฆษกพรรคประชาชาติ, นายธนาวิทย์ ไชยานุพงศ์ คณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคประชาชาติ และอดีตนายกเทศมนตรีเมืองนราธิวาส ฯลฯ เพื่อร่วมงานวันรวมพลังมวลชนแก้ปัญหายาเสพติดชายแดนใต้ (นราธิวาส) ซึ่งจัดขึ้นด้วยความร่วมมือของ พล.อ.วิชาญ สุขสง อดีตเสนาธิการทหารบก ในฐานะประธานคณะทำงานขับเคลื่อนการแก้ปัญหายาเสพติดกับ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด โดยภายหลังจาก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้นำงบประมาณให้ภาคประชาชนดำเนินการ พบว่าบรรลุเป้าหมายสามารถสกัดกั้นการแพร่ระบาดของยาเสพติดได้ โดยเฉพาะในเขตชุมชนและหมู่บ้านต่าง ๆ ด้วยการนำผู้เสพไปเข้าทำการบำบัดยังศูนย์ 2 แห่ง คือ ศูนย์บ้านแสนสุข และศูนย์อุ่นไอรัก ในพื้นที่ จ.ปัตตานี ทำให้ผู้เสพกว่า 5,000 ราย เลิกยาเสพติดได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แถมยังมีการจัดเจ้าหน้าที่ภาคเอกชนติดตามพฤติกรรมไม่ให้กลุ่มดังกล่าวเข้าไปมั่วสุมซ้ำอีก โดยมี พ.อ.เฉลิมชัย สิทธินวล ผอ.สำนักกฏหมายและสิทธิมนุษยชน กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า คอยเป็นพี่เลี้ยงในการปรึกษาหารือข้อกฏหมาย หากมีความจำเป็นต้องบังคับใช้กฏหมายกับกลุ่มพ่อค้าหรือเอเย่นต์ ที่เป็นต้นตอของการแพร่ระบาย จนปัจจุบันสามารถขยายผลไปสู่เรือนจำที่มีผู้ต้องขังยาเสพติดลดลง อันเนื่องมาจากผู้ต้องขังส่วนหนึ่งซึ่งเป็นผู้เสพ ได้ถูกแยกมาทำการบำบัด

ซึ่งกิจกรรมภายในงานมีการถ่ายทอดวีดีโอคอลฟอเรนซ์ผ่านระบบซูมไปยัง 9 กลุ่ม 16 จุด อาทิ สำนักงานเทศบาล โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา สำนักงาน อบต. ซึ่งมีกลุ่ม 4 เสาหลัก อาทิ ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน กำนันและผู้ใหญ่บ้านในแต่ละแห่งรับฟัง และสอบถามข้อซักถามต่างๆ

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์ปัญหายาเสพติดค่อนข้างที่จะมีความสลับซับซ้อนโดยเฉพาะในพื้นที่ของภาคใต้ ถึงจะไม่ใช่แหล่งผลิตก็ตามแต่เป็นทางผ่าน และที่สำคัญเป็นแหล่งแพร่ระบาด ซึ่งตัวเลขที่เป็นรูปธรรมถ้าในเรือนจำที่เป็นข้อหายาเสพติด ในพื้นที่จังหวัดปัตตานียะลาและนราธิวาส 5,000 กว่าคน แต่ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเรียกว่าที่ถูกจับครอบครองยาเสพติดและเสพที่ศาลยังไม่ได้ลงโทษอยู่คุมประพฤติ แล้วให้กลับไปอยู่ตามหมู่บ้านกับชุมชนอีกประมาณ 6,000 กว่าคน ซึ่งรวมรวมแล้วก็ประมาณ 12,000 คน ซึ่งยังถือว่าโชคดีที่ 5,000 กว่าคนนั้นอยู่ในเรือนจำ ซึ่งเรือนจำก็จะช่วยในการควบคุมไม่ให้ใช้ยาเสพติดต่อ บางส่วนที่ตำรวจจับแล้วไปส่งถึงศาลแล้วศาลเห็นว่าเป็นคดีไม่ลงโทษแต่รอลงอาญา แล้วให้คุมประพฤติให้ไปอยู่ตามหมู่บ้านและชุมชน ซึ่งประชาชนก็จะเกิดความสงสัยว่าทำไมตำรวจจับไปแล้วอีก 2 ถึง 3 วันถึงปล่อยออกมา ซึ่งในส่วนนี้เราจะมาคุยกันว่าในกลุ่ม 2 กลุ่มนี้ ที่เข้ามาอยู่ในเรือนจำ ซึ่งเราก็ต้องยอมรับว่าพวกเขาเป็นผู้ที่ก้าวพลาด ประชาชนที่มีศักดิ์ศรีเราก็จะพยายามพัฒนา ซึ่งถ้าเราใช้คน 10,000 คนมาช่วยกันพัฒนา ซึ่งเบื้องต้นเราก็จะดูว่าให้เขาได้หาย จากนั้นก็มาสร้างงานสร้างอาชีพ ก็จะเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส แต่ส่วนของการแพร่ระบาดในพื้นที่ที่เป็นปัญหาใหญ่ คงจะต้องมีการป้องกันปราบปรามกันอย่างจิงจัง ซึ่งอีกส่วนนึงเราถูกมองว่าถูกประเทศเพื่อนบ้านมองว่าเราเป็นทางผ่านของยาเสพติด ซึ่งยาเสพติดพวกนี้จะถูกผลิตต่างประเทศแต่เข้ามายังประเทศไทย ดังนั้นวันนี้จังหวัดนราธิวาสจึงเป็นจังหวัดยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญ ซึ่งจังหวัดทางภาคเหนือเองเรามีการสกัดกั้นไม่ให้เข้า ซึ่งจังหวัดนราธิวาสเราจะมีการสกัดกั้นไม่ให้แพร่ระบาดกับการไม่ให้เป็นทางผ่านให้เป็นประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งถ้ามีการค้ายาเสพติดมันจะแฝงไปด้วยการของหนีภาษี การค้ามนุษย์ไปด้วย เพราะนี่เป็นจุดหมายที่จะมาพบปะและการแก้ไขปัญหายาเสพติด เพราะยาเสพติดเป็นปัญหากับประชาชนจริงๆ เราจึงเอาปัญหาของประชาชนมาร่วมกันแก้โดยกระทรวงยุติธรรม สำนักงานปปส.และรัฐบาลจะมีการส่งเสริมและสนับสนุน โดยให้ฟังความคิดเห็นของผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และส่วนราชการต่างๆที่อยู่ในพื้นที่ เพื่อต้องการให้การแก้ปัญหายาเสพติดเป็นรูปธรรมภายใน 1 ปี

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ พล.อ.วิชาญ สุขสง อดีตเสนาธิการทหารบก ในฐานะประธานคณะทำงานขับเคลื่อนการแก้ปัญหายาเสพติดจังหวัดชายแดนใต้ ได้กล่าวบรรยายให้ความรู้ถึงเหตุผล ผลได้ผลเสียและโทษภัยที่นำไปสู่การคุกคามภายในครอบครัว ที่เป็นต้นตอและกลไกการแพร่ระบาดของยาเสพติดในแต่ละชุมชน ที่ปัจจุบันทุกภาคส่วนต้องหันมาให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน ที่สามารถนำไปสู่เป็นพื้นที่ปลอดการแพร่ระบาดยาเสพติดในอนาคตได้ ซึ่งมีนายไชยยงค์ รุ่งสกุล ประธานการสื่อสารสร้างความเข้าใจ เป็นผู้ประสานงานระหว่างภาคเอกชนกับ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ให้มีแนวคิดในทิศทางเดียวที่นำไปสู่ความร่วมมือด้วย

ข่าว/ซาการียา/จ.นราธิวาส