ข่าวทั่วไปข่าวพาดหัว

วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรีเปิดพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ โครงการความร่วมมือเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง

ที่ห้องประชุมชลบุรี วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ดร.สุเทพ ชิตยวงศ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานเปิดพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ โครงการความร่วมมือเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง
มีการเสวนาโดย ดร.ศุภมิตร ศิรกัณฑะมากุล ศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี ผศ.ดร.ฆณการ ภัณณิพงส์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก นายรัชพล กมลมาลย์ ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัทเอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด
โดยมีความร่วมมือสถานประกอบการ ลงนามความร่วมมือหลักสูตร ปวช. ปวส. จำนวน 24 แห่ง หลักสูตรปริญญาตรี เทคโนโลยีโลยีสายปฎิบัติการ จำนวน 7 แห่ง ความร่วมมือมหาวิทยาลัยลงนาม จำนวน 10 แห่ง ความร่วมมือสถานศึกษา สพฐ. อบจ.ลงนาม จำนวน 13 แห่ง รวม 54 แห่ง


นายพิรุฬห์ วิริยะประกอบ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี เผยว่า ในพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ โครงการความร่วมมือเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง ระหว่างวิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี และความร่วมมือจาก มหาวิทยาลัย สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี สถานประกอบการความร่วมมือหลักสูตร ปวช. และ ปวส. สถานประกอบการความร่วมมือหลักสูตรระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ในวันนี้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 มิติที่ 4 หมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลัง คนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีการขับเคลื่อนการสร้างและพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงเพื่อเป็นกำลังหลักสำคัญในการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จากสภาวะโลกปัจจุบันมีความผันผวนและเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม

โดยเฉพาะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งผลให้การผลิตและบริการในภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจและบริการจำเป็นต้องพัฒนากระบวนการผลิตและมาตรฐาน เพื่อให้ได้มาตรฐานสากล สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ ความจำเป็นดังกล่าวส่งผลให้สถานประกอบการมีความต้องการคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานและคุณภาพแรงงานเปลี่ยนไป ในการจัดการศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง เพื่อการพัฒนาประเทศ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเสริมสร้างและขยายภาคีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการระดมทรัพยากร และยกระดับคุณภาพการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ ยกระดับคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ให้มีความทันสมัย ตอบโจทย์การศึกษาแห่งอนาคต และเชื่อมโยงกับมาตรฐานอาชีพหรือมาตรฐาน การปฏิบัติงานทั้งในระดับชาติและระดับสากล
การจัดการศึกษาโดยความร่วมมือแบบพหุภาคี เป็นการร่วมกันพัฒนาอาชีวศึกษาในทุกมิติเพื่อพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการ สรุปผลประโยชน์จะได้แก่นักศึก