ข่าวทั่วไปข่าวพาดหัว

ยักษ์มาร่วมขบวนแห่นาง ” สงกรานต์ 2567 ” ที่ อำเภอโพนทอง จ.ร้อยเอ็ด

ปีนี้ 2567 วันสงกรานต์ ตรงกับวันเสาร์ ที่ 13 เมษายน ภาคเช้า ทางอำเภอร่วมกับเทศบาลจัดสถานที่เชิญชวนประชาชนทำบุญตักบาตร ที่หน้าว่าการอำเภอเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล และ อุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว


นางสงกรานต์ นามว่า “นางมโหธรเทวี” ทัดดอกสามหาว ทรงพาหุรัด อาภรณ์ด้วยแก้วนิลรัตน์ ภักษาหารคือเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา ภาคบ่ายแห่นางสงกรานต์รอบเมืองตามความเชื่อ “ธรรมบาลกุมารและ ท้าวกบิลพรหม”จาก 14 ชุมชน เรื่องย่อท้าวกบิลพรหมแพ้ในการตอบคำถามธรรมบาลกุมารในครั้งนั้น.ใครแพ้ตัดคอ และก่อนจะตัดคอ ท้าวกบิลพรหม ได้เรียก ธิดาทั้ง 7 องค์ ซึ่งเป็นนางฟ้า ให้เอาพานมารองรับ เนื่องจากเศียรของท้าวกบิลพรหมเป็นที่รวมแห่งความไม่ดีทั้งปวง ถ้าวางไว้บนแผ่นดินไฟจะไหม้โลก ถ้าโยนขึ้นไปบนอากาศฝนจะแล้ง ถ้าทิ้งลงในมหาสมุทรน้ำจะแห้ง ปี้นี้อากาศร้อนจัดชาวบ้านกลัวฝนจะแล้งจึงแก้เคล็ดด้วยการแต่งรูปยักษ์และรูปนาคไว้ในขบวนแห่ด้วยรวมไปถึงคำทำนายนางสงกรานต์ 2567

เกณฑ์พิรุณศาสตร์ ปีนี้ อังคารเป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 300 ห่า, ตกในเขาจักรวาล 120 ห่า, ตกในป่าหิมพานต์ 90 ห่า, ตกในมหาสมุทร 60 ห่า, ตกในโลกมนุษย์ 30 ห่า 2. เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีตุล ชื่อวาโย (ธาตุลม) น้ำพอประมาณ พายุจัด 3. วันสงกรานต์ ถือเป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของชาวบ้านแวง มาแต่โบราณ เป็นประเพณีที่เก่าแก่ งดงาม และเต็มไปด้วยบรรยากาศของความกตัญญู ความสนุกสนาน ความอบอุ่น และการแสดงความเคารพซึ่งกันและกัน สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของความเป็น “คนบ้านแวง”
สุเทพ ลอยแก้ว/รายงาน
แต่ก่อนอำเภอโพนทอง เรียกว่า บ้านแวง