ข่าวทั่วไป

มหัศจรรย์ พระอาทิตย์ทรงกลดศาลวีรกรรมขุนรองปลัดชูและชาวบ้าน 400 นักรบผู้กล้า ครั้งที่ 1 รายได้สร้างอนุสรณ์สถานขุนรองปลัดชู

มหัศจรรย์ พระอาทิตย์ทรงกลดศาลวีรกรรมขุนรองปลัดชูและชาวบ้าน 400 นักรบผู้กล้า ครั้งที่ 1 รายได้สร้างอนุสรณ์สถานขุนรองปลัดชู
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2563 เวลา 16:00 น เกิดความมหัศจรรย์พระอาทิตย์ทรงกลด ในขณะทำพิธีบวงสรวงศาลขณะ นายชาตรี จันทร์วีระชัย รองผู้ว่า ราชการจังหวัประจวบคีรีขันธ์ จุดธูปเทียนส่องสว่าง ศาล ขุนรองปลัดชู วีรชนผู้กล้า ปกป้องผืนแผ่นดินไทย11 ธันวาคม 2563พิธีบวงสรวงของขุนรองปลัดชู ขณะนั้นเกิดพระอาทิตย์ทรงกลด สร้างความมหัศจรรย์ ให้กับผู้ที่ ร่วม อยู่ในบริเวณงาน นับพันคนและเวลา 19.30 น.วันที่ 11 ธันวาคม 2563 ที่อนุสรณ์สถานขุนรองปลัดชูและนักรบ 400 บริเวณพื้นที่สาธารณะประโยชน์บ้านทุ่งมะเม่า หน้าหาดหว้าขาว ต.อ่าวน้อย อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ นายชาตรี จันทร์วีระชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธานในพิธีเปิดการแสดง แสง สี เสียง เชิดชูวีรกรรม ขุนรองปลัดชูและชาวบ้าน 400 นักรบ ครั้งที่ 1 โดยมี นายนคร ศรีสุทานันท์ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวน้อย กล่าวรายงาน และมี พล.ต.วรวุฒิ แสงทอง รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1 สำนักปฏิบัติ ภารกิจรักษาความมั่นคงภายในกองทัพบก นายพงษ์พันธ์ วิเชียรสมุทร อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง และอดีตรองผู้ว่าฯจ.ประจวบฯ นายอนุภาพ พูลสวัสดิ์ ประธานกลุ่มเพ็ญพุธประจวบคีรีขันธ์ น.ส.ปริษา ใจเสงี่ยม ประธานกลุ่มผู้ศรัทธาขุนรองปลัดชู น.ส.อังคณา พิพัฒน์สุขสกุล นายกสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชน จ.ประจวบฯ

นายสุวิทย์ สงคราม ประชาสัมพันธ์จังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ คณะกลุ่มผู้ศรัทธาท่านขุนรองปลัดชูจังหวัดประจวบฯ ทีมงานกองโจรลูกพระองค์ดำ ลูกหลานแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ คณะลูกศิษย์วัดสี่ร้อย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ชาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และชาวจังหวัดอ่างทอง เข้าร่วม
ด้าน นายชาตรี จันทร์วีระชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวถึงประวัติศาสตร์ เรื่องขุนรองปลัดชูและชาวบ้านสี่ร้อย กองอาทมาต นับว่ามีความสำคัญ ในการยกย่องเชิดชูเกียรติ และระลึกถึงคุณความดีของทนขุนรองปลัดและชาวบ้านสี่ร้อย กองอาสมัครจากเมืองวิเศษชัยชาญ ที่ได้ลงมาช่วยต้านทัพพม่าในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อครั้งสงครามพระเจ้าอลองพญา ราวปีพุทธศักราช 2302 ซึ่งตรงกับรัชสมัย พระเจ้าเอกทัศน์ พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา ความเสียสละของท่านขุนรองปลัดชูและชาวบ้านสี่ร้อยกองอาทมาตนั้น ถือว่าเป็นแบอย่างที่สำคัญยิ่งของคนไทยทุกคน ในการช่วยกันปกป้องผืนแผ่นดินไทยให้พ้นจากศัตรู ความดีของท่านจะไม่มีวันจางหายไปไหน ตราบเท่าที่พวกเราคนไทยทุกคนยังรักและสามัคคีกันอยู่
จากนั้น ได้ทำการแสดง แสง สี เสียง บทละครอิงประวัติศาสตร์ สี่ร้อยนักรบแห่งแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ ตำนานขุนรองปลัดชู โดยใช้นักแสดงเป็นทีมงานกองโจรพระองค์ดำ ลูกหลานแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง และทีมนักแสดงจาก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ประกอบด้วย ทหารอากาศกองบิน 5 นักศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคประจวบฯและวิทยาลัยเทคโนโลยีประจวบฯ นักเรียนจากโรงเรียนอ่าวน้อยวิทยานิคม โรงเรียนกุยบุรีวิทยา โรงเรียนบ้านคั่นกระได และโรงเรียนสามร้อยยอดวิทยา
สำหรับวัตถุประสงค์การจัดงาน เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติ และระลึกถึงคุณความดีของขุนรองปลัดชูและชาวบ้านสี่ร้อย กองอาสาสมัครจากเมืองวิเศษชัยชาญ ที่ลงมาช่วยต้านทัพพม่าในพื้นที่จังหวัดประจวบฯ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีความเสียสละและจงรักภักดีต่อแผ่นดินเกิด และเพื่อร่วมกันผลักดันและจัดสร้างอนุสรณ์สถานขุนรองปลัดชู และชาวบ้านสี่ร้อย บนพื้นที่สาธารณะประโยชน์บ้านทุ่งมะเม่า นอกจากนี้เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชาวจังหวัดอ่างทอง และอีกหลายจังหวัดที่มีความเกี่ยวพันทางประวัติศาสตร์ เรื่องขุนรองปลัดชูและชาวบ้านสี่ร้อย กองอาทมาต
โดยได้มีการจำหน่ายบัตรเข้าชมการแสดง แสง สี เสียง ในราคาใบละ 150 บาท และได้จำหน่ายไปแล้วกว่า 3,000 ใบ ทั้งนี้ได้มีการจับรางวัลหางบัตร โดยรางวัลใหญ่เป็นรูปหล่อพ่อขุนรองปลัดชูรุ่น 1 และรางวัลอื่นๆ ได้แก่ เหรียญพ่อขุนรองปลัดชูรุ่น 1 และเสื้อยืดที่ระลึกขุนรองปลัดชู อีกจำนวนกว่า 60 รางวัล สำหรับเงินรายได้ทั้งหมด หลังจากหักค่าใช้จ่าย จะนำเข้าเป็นกองทุนเพื่อจัดสร้างรูปหล่อโลหะขุนรองปลัดชู และก่อสร้างอนุสรณ์สถานขุนรองปลัดชู และชาวบ้าน 400 กองอาทมาต ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ต่อไป
ทั้งนี้ นายพัลลภ สิงหเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้มีคำสั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 13 ต.ค.2562 ที่ 10046/2562 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานยกย่องเชิดชูเกียรติขุนรองปลัดชูและชาวบ้านสี่ร้อย กองอาสาสมัครจากเมืองวิเศษไชยชาญในพื้นที่จังหวัดประจวบฯ และได้ลงนามอนุมัติใบที่ดินสาธารณะประโยชน์ จนเมื่อวันที่ 31 ม.ค.2563 ได้รับหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน ทุ่งมะเม่า หมู่ที่ 13 ต.อ่าวน้อย จำนวน 16 ไร่ เป็นพื้นที่ในการจะวางแผนโครงการก่อสร้างอนุสรณ์สถานขุนรองปลัดชูและชาวบ้าน400 และในวันที่ 27 ส.ค.2563 ทางกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้มีการออกแบบอนุสรณ์สถานขุนรองปลัดชูและชาวบ้านสี่ร้อย พร้อมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 / 2563 ณ ศาลาประจำหมู่บ้านทุ่งมะเม่า จึงนับว่าเป็นก้าวแรกสู่การพัฒนาพื้นที่นี้เป็นอนุสรณ์ระดับชาติ ต่อไป
ทั้งนี้ในบันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับขุนรองปลัดชูและกองอาทมาต นั้น ขุนรองปลัดชู อดีตเป็นครูดาบที่มีฝีมือในเมืองวิเศษไชยชาญ มีลูกศิษย์มากมาย ได้รับการแต่งตั้งในเมืองวิเศษไชยชาญตำแหน่ง ปลัดเมือง ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ นามว่า “ขุนรองปลัดชู” ต่อมามีการตั้งอาสาสมัครกองอาทมาตได้ 400 คน นำกำลังเข้าสมทบกับกองทัพของพระยารัตนาธิเบศร์ เพื่อสกัดกองทัพพม่าที่นำโดยเจ้ามังระราชบุตร และมังฆ้องนรธา ที่เข้าตีแขวงเมืองตะนาวศรีแตก ทัพดังกล่าวได้ข้ามช่องแคบด่านสิงขรมุ่งสู่เมืองกุยบุรี เดินตามชายฝั่งทะเลเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา ขุนรองปลัดชู พร้อมกองอาทมาต ได้ตั้งทัพอยู่ที่อ่าวหว้าขาว ซึ่งเป็นจุดแคบสุดในภูมิประเทศที่ได้เปรียบ ปัจจุบันคือตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ปะทะกับกองทัพพม่าซึ่งมีกำลังราว 8,000 คน สู้รบกันตั้งแต่เช้าจรดเย็น แต่จำนวนที่น้อยกว่า10 เท่า และไม่ได้รับกำลังเสริมจากทัพของพระยารัตนาธิเบศร์ กองอาทมาตจึงเสียเปรียบเพราะความอ่อนล้า และถูกฝ่ายตรงข้ามไล่ฆ่าฟันจนเสียชีวิตทั้งหมด กองทัพพม่าจึงผ่านเมืองกุยบุรีเข้าไปถึงยังกรุงศรีอยุธยาโดยง่ายดาย ทำให้ต้องเสียกรุงศรีอยุธยาโดยง่าย ดังกล่าว วีรกรรมขุนรองปลัดชู จึงถูกจารึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ชาติไทย และมีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ เพื่อจูงใจให้เกิดความรักชาติ อีกทั้งเตรียมที่จะจัดตั้งอนุสรณ์สถานขุนรองปลัดชู บริเวณหาดหว้าขาว ในเร็วๆนี้