25-07-67 พี่เสือ นักข่าวสงขลา
ปลาหมอคางดำขยายพันธุ์ไม่หยุด ล่าสุดพบในคลองเป็ดหนาแน่น ประมงเร่งหามาตรการจับให้หมดก่อนถึงฤดูฝน หวั่นแพร่กระจายลงทะเลสาบสงขลา อ่าวไทย และบ่อเลี้ยงกุ้ง ประสานชลประทานปิดปากคลองทุกสายที่เชื่อมอ่าวไทย และทะเลสาบสงขลา และหากพบเลี้ยงปลาหมอคางดำจัดการเด็ดขาด
จากกรณีที่พบปลาหมอคางดำซึ่งเป็นปลาที่อันตรายชนิดหนึ่งที่ทำลายห่วงโซ่อาหารของสัตว์น้ำแล้วยังแพร่ขยายพันธุ์รวดเร็ว ทำให้เกิดหวาดวิตกทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน พยายามกำจัดให้สิ้นก่อนจะลงสูอ่าวไทยและทะเลสาบสงขลา เนื่อง อ.ระโนด เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่พบปลาหมอคางดำอาศัยในลำคลองหลักและลำคลองสาขาที่เชื่อมต่อกับทะเลสาบสงขลาและอ่าวไทยแล้ว ยังเป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งขาวและสัตว์น้ำชนิดอื่น หากปลาหมอคางดำหลุดไปในบ่อเพาะเลี้ยงกุ้งจะสร้างความหายนะขึ้นนั้น
ล่าสุดวันที่ 25 ก.ค. 67 ที่ จ.สงขลา นายศุภโชค เกื้ออรุณ ประมง อ.ระโนด กล่าวว่า ขณะนี้ภาครัฐพยายามสร้างความตระหนักด้วยหลากหลายกิจกรรมเกี่ยวกับปลาหมอคาดำ เพื่อให้เกิดกับเกษตรกร และประชาชนทั่วไปในพื้นที่ อ.ระโนด ทั้ง 12 ตำบล ซึ่งได้แบ่งเป็นโซนสีแดงที่พบปลาหมอคางดำ ประกอบด้วย ต.ท่าบอน คลองแดน ระวะ แดนสงวน บ้านใหม่ ต.ระโนด ต.ปากแตระ และพื้นที่กันชนที่ยังไม่พบ แต่ต้องเฝ้าระวังมี ต.ตะเครียะ พังยาง บ้านตรุ วัดสน ต.บ้านขาว
นายสมใจ ศรีสงค์ นายก อบต.ระวะกล่าวว่าพื้นที่ ต.ระวะพบปลาหมอคาดำในคลองพังยาง-ระวะ ซึ่งเป็นคลองที่เชือ่มต่อจากคลองอาทิตย์และทะเลอ่าวไทย ได้มีการจัดกิจกรรม Kick off ปลาหมอคางดำในคลองสายพังยาง-ระวะไปแล้ว สามารถจับปลาหมอคางดำได้ประมาณ 114 กก.พร้อมกับแปรรูปเป็นอาหาร จนทำให้ปลาหมอคางดำลดปริมาณลง แต่ต้องมีการดำเนินการจับทำลายตลอดจนกว่าเบาบางให้มากที่สุด
นายสมใจกล่าวว่าพื้นที่ ต.ระวะเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมขังทุกปี อีก 2 เดือนข้างหน้าจะเข้าฤดูน้ำหลาก น้ำจะเอ่อล้นจากคลองแล้วมีลูกปลาและไข่ปลาหมอคางดำเข้าสู่แหล่งน้ำในหมู่บ้าน บ่อพักน้ำเลี้ยงกุ้งและบ่อเลี้ยงกุ้งได้และจะต้องเปิดปากคลองระวะเพื่อระบายให้น้ำไหลออกทะเลอ่าวไทยอาจจะทำให้ปลาหมอคางดำส่วนหนนึ่งออกทะเลอ่าวไทย
ทางด้านนายเจริญ โอมณี ประมง จ.สงขลากล่าวว่าขณะนี้ได้พบปลาหมอคางดำหนาแน่ในคลองคลองเป็ดซึ่งอยู่ในโซนสีแดง ต้องจัดกิจกรรมKick off ในเร็วนี้ เพื่อจับปลาหมอคางดำขึ้นมาเหลือเบาบางที่สุด และดำเนินกิจกรรมทำลายปลาหมอคางดำด้วยหลากหลายกิจกรรม ขะเชิญนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยใน จ.สงขลา จากบริษัท ซีพี.ภาคประชาสังคม เกษตรกรในพื้นที่ ผู้นำท้องถิ่น-ท้องถิ่นเข้าร่วมสัมมนาเพื่อหาทางออกในการจัดการกับปลาหมอคาดำร่วมกัน ขณะนี้ได้รับงบสนับสนุนจาก กยท.ซื้อปลาหมอคางดำจากเกษตรกร กก.ละ 15 บาทมอบให้กรมพัฒนาที่ดินผลิตปุ๋ยมอบให้ กยท.แจกจ่ายให้เกษตรกร
นายเจริญกล่าวว่ากิจกรรมควบคู่กับการปล่อยปลากระพงนักล่าลงในคลองที่พบแพร่ระบาดและคลองกันชน และห้ามเลี้ยงปลาหมอคางดำเป็นอันขาด หากพบมีผู้เลี้ยงปลาหมอคางดำจะดำเนินการตามกฏหมายเฉียบขาด
“ก่อนที่จะถึงหน้ามรสุมประมาณเดือน ต.ค.-ธ.ค.เนื่องจากจะมีปริมาณน้ำฝนชุกและหนานา จะเกิดน้ำหลากจากลำคลองเข้าไปในบ่อเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลาและแหล่งน้ำธรรมชาติแล้วจะลงสู่ทะเลสาบสงขลาและอ่าวไทย เพราะขณะนี้ได้ประสานไปยังชลประทานระโนดให้มีการปิดปากคลองที่เชื่อมทะเลสาบสงขลาและอ่าวไทยไว้ก่อนจนกว่ามีความจำเป็นจึงจะเปิดปากคลอง” นายเจริญ กล่าว