ข่าวพาดหัวช่วยชาวบ้าน

ชาวบ้านร้องสื่อสะพานข้ามคลองบางมดมีประโยชน์ ถ้ารื้อถอนชาวบ้านจะเดินทางเข้าออกยังไง

ชาวบ้านร้องสื่อสะพานข้ามคลองบางมดมีประโยชน์ ถ้ารื้อถอนชาวบ้านจะเดินทางเข้าออกยังไง

วันที่ 2 สิงหาคม 2567 เวลา 9.00 น.

กรณีสะพานข้ามคลองบางมดภายในซอยพุทธบูชา 36 แยก 10 ถนน พุทธบูชา แขวง บางมด เขต ทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร เป็นกรณีที่มีข้อพิพาทมายาวนานถึง 9 ปีเต็มๆ ซึ่งแต่เดิมบริเวณที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของชาวบ้านในพื้นที่ และเป็นชาวบ้านตาดำๆที่ร่วมกันบริจาคทรัพย์สิน และที่ดินจำนวนมากเพื่อสร้างสะพานข้ามคลองแห่งนี้ รวมทั้งถนน ที่ใช้เข้าออกซอยพุทธบูชา 36 แยก 10 ไปถึงถนนเมนใหญ่ และร่วมกันซื้อเสาไฟจำนวน 12 ต้น เพื่อนำกระแสไฟฟ้าและความเจริญเข้าสู่ชุมชน ทั้งนี้ข้างในซอยแห่งนี้ยังมีบ้านเรือนประชาชนที่พักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก มีทั้งเด็ก ผู้หญิง และคนชรา รวมทั้งยังมี ศาสนสถานซึ่งเป็นมัสยิด ของคนไทยเชื้อสายอิสลามอยู่ด้วย ซึ่งสะพานเหล็กดังกล่าวจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับประชาชนภายในชุมชนแห่งนี้ที่พวกเขาเหล่านี้จะต้องใช้เดินทางเข้าออกเพื่อไปทำมาหาเลี้ยงชีพ และเด็กๆต้องใช้เดินทางไปโรงเรียนทุกวัน จึงไม่อยากที่จะให้หน่วยงานของรัฐหน่วยงานใดเข้ามารื้อถอนสะพานออก แล้วไม่อยากให้ใช้คำกล่าวอ้างซึ่งเหมือนดูจะหวังดีว่ากลัวสะพานแห่งนี้จะถล่มลงมาแล้วจะใช้เป็นข้ออ้างในการรื้อถอนสะพานของชาวบ้านออกนั้นมันไม่ได้ แต่ถ้ารัฐหวังดีจริงๆก็ขอให้ปรับปรุงสะพานให้ดีขึ้น แล้วถ้ามันต่ำไปก็ขอให้ยกสะพานให้สูงขึ้นจะเป็นการดีกว่า อีกอย่างสะพานเหล็กข้ามคลองบางมดตรงนี้ก็มีมาก่อนที่จะสร้างสะพานเรียบคลองบางมด ก็เลยทำให้การสัญจรในเส้นทางเดินรถจักรยานในบริเวณตรงจุดนี้ลำบากเพราะต้องลอดสะพานเหล็กแล้วตรงใต้สะพานจะมีระดับที่ค่อนข้างต่ำอยู่บ้าง แต่การรื้อถอนสะพานออกก็จะไม่ใช่คำตอบที่ดีซะเท่าไหร่ แต่การปรับปรุงให้อยู่ร่วมกันได้อันนี้น่าจะเป็นทางออกที่ดีมากกว่า

และพื้นที่ดังกล่าวยังเป็นพื้นที่ ที่มีกรณีพิพาทตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีข้อสรุปจากหน่วยงานผู้เกี่ยวข้องเลย และดูเหมือนเรื่องราวทั้งหมดยังคลุมเครืออยู่ ชาวบ้านทั้งหลายต่างก็ยังเฝ้ารอการตัดสินอย่างยุติธรรมจากทางภาครัฐอยู่ โดยรวมแล้วชาวบ้านภายในชุมชนเเห่งนี้เป็นชาวบ้านที่มีวิถีชีวิตแบบชาวสวนมาตั้งแต่ต้นและเมื่อความเจริญเข้ามาก็เหมือนจะเข้ามาโดยการที่มีรังแก หรือมากลั่นแกล้ง พวกเขาหรือไม่อย่างไร มีนายทุนมากว้านซื้อที่ดินภายในซอยแห่งนี้เป็นจำนวนมากเพื่อนำไปสร้างหมู่บ้านจัดสรร แต่พอชาวบ้านไม่ยอมขายที่ให้ก็เหมือนจะบีบเค้นเขาโดยการสร้างรั้วมาปิดซอยเข้าออก ถอนเสาไฟ 12 ต้นที่เป็นเงินที่ขาวบ้านช่วยกันรวบรวมซื้อมาออก แล้วยังนำป้ายซอยที่เป็นทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร ออกอีก และมาถึงตรงนี้ก็มีการจะรื้อถอนสะพานเหล็กที่ชาวบ้านช่วยกันรวบรวมเงินสร้างมาเพื่อเป็นทางสัญจรเข้าออกของชาวบ้าน จะรื้อทิ้งอีก แล้วอย่างนี้ชาวบ้านตาดำๆจะใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างไร

โดยทางด้าน นาง รัชนี และผู้เริ่มสร้างทาง นาย บุญยืน ,นาย อาทิตย์ และผู้บริจาคที่ดินเพิ่ม นาย วีระส่วน และ นาย เปล่ง พวกเราชาวบ้านทุกท่าน ได้รับทราบในการปิดทางเข้าออกของซอยพทธบูชา 36 แยก 10 ซึ่งนาย บุญยืน และลูกชายได้ปรึกษากันพร้อมกับตัวแทนชาวบ้านทุกท่าน เข้าแจ้งความในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 เนื่องจากได้มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งมาติดป้ายที่ส่วนบุคคลพร้อมทำประตูปิดทางเข้าออก ของซอยพุทธบูชา 36 แยก 10 โดย นาย อาทิตย์ กับ นาย บุญยืน ได้ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ ราษฎร์บูรณะ เอาไว้และมีการประสานงานกับผู้ใหญ่ ที่สำคัญหลายท่าน และทางด้าน นาย บุญยืน ยังได้ต่อรองกับทางหมู่บ้านดังกล่าวให้เปิดเส้นทางถนนเพราะชาวบ้านเดือดร้อนในการปิดทางออกของชาวบ้านในกรณีที่หมู่บ้านทำไม่ถูกต้องในการผิดสัญญา ที่ขายที่ดินที่มีถนนอยู่เดิมแล้ว โดยไม่ได้คิดมูลค่าที่ดิน 2 ไร่ ที่เว้นไว้เป็นถนนกับตัวแทนหมู่บ้านดังกล่าว แต่กลับโดนปฏิเสธ และท้าให้นาย บุญยืน ไปฟ้งร้องเอาเองโดยได้พูดคุยกับทางเจ้าของโครงการผ่านทางโทรศัพท์ ต่อมาทางเจ้าของโครงการหมู่บ้านได้ส่งลูกชายมาในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2558 เพื่อเจรจาขอปิดประตูเพื่อป้องกันทรัพย์สินก่อสร้างหายโดยบอกกล่าวกับชาวบ้านและ ไม่นานต่อมาทางตัวแทนหมู่บ้านได้มาติดต่อขอซื้อที่ดินของ นาย วีระ ส่วนทางด้านนาย วีระ จึงได้เสนอเรื่องการทำถนนสาธารณะก่อนที่จะมีการซื้อขายที่ดินให้ และบอกราคาสูงจนหมู่บ้านไม่สามารถที่จะซื้อได้ หมู่บ้านก็ยังปฏิเสธการเปิดถนนในการเจรจาตลอดมาซึ่งในช่วงตอนนั้นเป็นเวลาถึง 6 เดือนเต็มๆที่ นาง รัชนี พยายามที่จะขอเปิดถนนแต่เจ้าของหมู่บ้าน ก็ไม่ยอมเปิดถนนให้ชาวบ้านเพื่อยื้อเวลาจะเอาถนนเป็นของตนเอง และยังอ้างในการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้ แล้วต่อมาก็ก่อกำแพงปิดกั้นที่ดินของ นาย วีระ มาตลอดแนวถนน เพราะไม่สามารถซื้อที่ดินของ นาย วีระ ได้ นาย วีระ จึงได้ตัดสินใจเข้าแจ้งความ ที่ สน.ราษฎร์บูรณะ ว่ามีหมู่บ้านมาทำการปิดที่ดินบนถนนสาธารณะที่ใช้กันเกินกว่า 25 ปี แล้ว นาง รัชนี กับ นาย บุญยืน ได้ไปปรึกษาทนายความแต่เป็นที่ไม่ตกลงเพราะผู้ใหญ่ในส่วนราชการได้ให้คำแนะนำให้ไปร้องต่อ นายก คสช. ในขณะนั้น โดยรวบรวมเรื่องราวของถนนที่ใช้เกิน 25 ปี แล้วจึงเป็นการเกินกว่า 10 ปี ที่กลายเป็นถนนสาธารณะประโยชน์โดยปริยายตามกฎหมาย ก่อนที่จะมีการซื้อขายที่ดินที่มีถนนอยู่แล้วของที่ดินแปลงนี้ และรวบรวมรายชื่อสำเนาของชาวบ้าน พร้อมสำเนาที่ดินของชาวบ้านที่บริจาคถนนเอาไว้ส่งร้องเรียนต่อศูนย์ดำรงธรรมในวันที่ 25 สิงหาคม 2558 และเดินเรื่องมาตลอด ต่อมา นาง รัชนี ได้ไปติดต่อกับทางคณะกรรมการประสานงานติดตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แล้วมาประสานงานกับเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตทุ่งครุ ในวันที่ 20 ตุลาคม 2558 มีการส่งเอกสารจากท่านเลขาธิการ ปลัด กทม. ในเรื่องของการร้องเรียนของชาวบ้านที่เดือดร้อนในกรณีการปิดทางซอยพุทธบูชา 36 แยก 10 ที่เรียกร้องไปยังศูนย์ดำรงธรรม และ สำนักนายกรัฐมนตรี แต่ทางสำนักงานเขตทุ่งครุ ก็ยังไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ จนกระทั่งมาถึง วันที่ 23 พฤศจิกา 2558 จึงมีการเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ โยธา มาทำการติดต่อกับเจ้าของหมู่บ้านให้โยกย้ายสิ่งของที่กรีดขวางบนถนน และเปิดประตูเพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้ และต่อมาทางหมู่บ้านก็โดนร้องเรียนในเรื่องของการสร้างสันเขื่อนโดยไม่ได้รับอนุญาตจนต้องระงับการก่อสร้าง จนกระทั่งสำนักงานเขตทุ่งครุ ต้องออกใบระงับการก่อสร้าง จึงทำให้เจ้าของโครงการหมู่บ้านเกิดความไม่พอใจในการร้องเรียนของชาวบ้านทางหมู่บ้านจึงทำการปิดทางเข้าออกซอย พุทธบูชา 36 แยก 10 ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 อย่างถาวร ต่อมาชาวบ้านจึงเข้าร่วมประชุมกับทาง กทม. และต่อมาทางเจ้าของโครงการหมู่บ้านก็ให้ทางการไฟฟ้ามารื้อถอนเสาไฟฟ้า ทั้ง 12 ต้นออกโดยให้เหตุผลว่าเสาไฟฟ้าดังกล่าวมาตั้งอยู่ในที่ดินของตน และนี่คือเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นมา 9 ปีเต็มของการต่อสู้ทวงคืนสิทธิ์ของชาวบ้านภายในซอยพุทธบูชา 36 แยก 10

ชาวบ้านต้องการเสาไฟฟ้าคืนที่เดิม และให้บูรณะสะพานเหล็กไม่ใช่ให้รื้อถอนออกไป และต้องการทางเข้าออกซอยพุทธบูชา 36 แยก 10 คืนมาให้กับชาวบ้าน และที่สำคัญคือป้ายซอย นั่นคือสิ่งที่ชาวบ้านอยากได้คืน เราอยู่ร่วมกันได้ถ้าเรารู้จัก อะลุ่มอล่วยซึ่งกันและกัน ลดลาวาศอกให้กันหันหน้าคุยกันและแก้ปัญหาร่วมกัน คิดถึงใจเขาใจเรา แค่นี้สังคมก็จะอยู่กันได้ด้วยความเป็นสุขและสันติ

และจากการสอบถาม นาง รัชนี เกาจารี อายุ 67 ปี ตัวแทนชาวบ้านผู้เดือดร้อนกล่าวว่า ถ้าจะกล่าวถึงถนนที่ตัดมาจากพุทธบูชา 36 มีการซื้อปากทางริมถนน อนามัยงามเจริญและไปโผล่ออก วัดใหม่บัวผันซึ่งเมื่อเมื่อพ.ศ 2535 ถนน กาญจนาภิเษกหรือเลียบทางด่วนยังไม่ได้มีเกิดขึ้นเลยในขณะนั้น ช่วยกันตัดถนนจากซอย พุทธบูชา 36 เข้ามายังที่ของตัวเองและมีกทม.ตั้งชื่อให้ชื่อว่าซอยพุทธบูชา 36 แยก 10 และพวกเราก็ใช้กันมาเป็นถนนสาธารณะประโยชน์ตั้งแต่บัดนั้นจนกระทั่งมามีภาพถ่ายทางดาวเทียมในปี 2538 ปรากฏทางภาพถ่ายดาวเทียมแล้วมีถนนมีผู้คนมีรถยนต์ผ่าน เข้ามาก็อยู่กันมาอย่างสงบจนกระทั่งผ่านออกเข้าได้จากซอยพุทธบูชา 36 แยก 10 อนามัยงามเจริญถนนเลียบทางด่วนกาญจนาภิเษกไปถึงวัดใหม่บัวผัน เราใช้กันมาอย่างสงบมีความสบายปลอดภัยแล้วรถผ่านเข้าออกได้สะดวก ร่นระยะทาง ได้ถึง 7 กิโลเมตร ภายหลังก็มาได้ในปีพ.ศ 2551 นาย บุญเย็น ซึ่งเป็นลูกชายจำเป็นเดือดร้อนจึงขายที่แปลงใหญ่นี้ไป และได้ทำหนังสือสัญญาว่ามีถนนเว้นไว้ 2 ไร่ โดยไม่คิดมูลค่ารวมทั้งหมด 18 ไร่ซื้อขายไป 16 ไร่เศษๆเพราะเราต้องเสียค่านายหน้าของหลานชายไปอีก 1 ล้าน 2 แสนบาท ถนนนี้จึงมีความกว้างถึง 10 เมตรเมื่อปี 51 นี้มีการปักเสาไฟฟ้าตลอดแนว 12 ต้นความกว้าง 10 เมตร ของเดือนของวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 หมู่บ้านจัดสรรเสร็จแล้วก็ปิดปากทางปิดสะพานปิดทางออกเข้าจนกระทั่งมาถึงเราก็ไปแจ้งความเรียกร้อง เราแจ้งความแล้วมีเอกสารออกมาตั้งคณะกรรมการตรวจสิทธิ์สอบสวนว่าถนนเส้นนี้เป็นของสาธารณะหรือเปล่าสรุปผลจากการสอบสวนตั้งคณะกรรมการใช้คณะกรรมการที่ผู้อาวุโสชื่อ นาย สมัคร ซึ่งเป็นผู้ตรวจการ แผ่นดินแต่เป็นผู้ตรวจการของโยธาจึงสรุปได้ว่าถนนแปลงนี้เป็นถนนสาธารณะประโยชน์โดยชอบธรรม จนมาตลอดหมู่บ้านก็ได้ทำลายป้ายหน้าปากซอย พุทธบูชา 36 แยก 10 แล้วมาทำลายเสาไฟฟ้า 12 ต้น ซึ่งไปขอทางสำนักงานเขต ไม่มีการบูรณะห้ามไว้แต่ก็ไม่ถอน แต่ ผอ. เขตไม่ได้มีการห้ามปรามไม่ได้มีบอกกล่าวว่าถนนแปลงนี้เป็นกรณีพิพาทไม่เคยช่วยเหลือประชาชนมาก็ยอมให้เขาสร้างกำแพงกั้นระหว่างถนนทางสาธารณประโยชน์กับที่ดินของนาน วีระ ต้องแจ้งความและในเวลาต่อมาก็ได้บริจาคที่ดินข้างเคียงของอันนี้อีก 8 เมตร เพื่อทำให้ถนนนี้กว้างขวางไปอีกเป็น 18 เมตรสุดท้ายแล้วมาวันนี้ขอเขตให้มาบูรณะถนนและสะพานที่ทำลายไปด้านหน้าปากซอยของคลองราช พฤกษ์เขตก็ไม่เคย เพิกเฉยปล่อยให้ก่อกำแพง คสร. ขึ้นมาในที่ของหมู่บ้าน พวกข้าพเจ้าก็ร้องไปยังสำนักงานระบายน้ำสุดท้ายแล้วสำนักงานระบายน้ำก็สั่งระงับการก่อสร้างก็ไม่มีใบอนุญาตต่อมาจนถึงปัจจุบันก็มาอ้างว่าที่ดินเหลือ 6 เมตรโดยอ้างภาพถ่ายทางอากาศ ประชาชนชาวบ้านริมคลองก็ยังมีการใช้อยู่โดยการขับมอเตอร์ไซค์เข้าออกถนน พุทธบูชา พวกเราบางคนต้องเลิกลาการทำสวนทำไร่ไปเพราะไม่สามารถจะใช้ยานพาหนะออกเส้นทางใกล้ทางได้ผู้ดูแลก็ต้องท้อถอยไปทำให้พื่นที่ส่วน พื้นที่ไรบางแห่งก็ต้องรกร้างไปต้องเสียภาษีโดยเปล่าประโยชน์ขอให้ท่านผู้มีความเมตตาผู้ใหญ่ลงมาช่วยจัดการให้พวกชาวบ้านที่เดือดร้อนมานานถึง 9 ปี 6 เดือน 7- 8 เดือน นี้ด้วยอำนาจของรัฐคงแสดงความเป็นจริงความช่วยเหลือแก่ประชาชนในการแจ้งออกมาให้รู้ใจรู้จริงเลยว่าถนนเส้นนี้ได้มีเอกสารสิทธิ์บอกว่าเป็นทางสาธารณะประโยชน์ของรัฐแล้วทำไมถึงปล่อยให้ทำไมถึงให้เขตและผอ.ไม่สนใจไม่ใส่ใจ ขอทำสะพานก็ไม่ทำขอทำการเปิดถนนก็ไม่เปิดจะขอทำเสาปากซอยป้ายปากซอยก็ไม่ทำให้ ไม่เคยทำอะไรเลยแต่ถ้าทางผลประโยชน์ทางฝ่ายหมู่บ้านจะทำอะไรรู้สึกว่าจะได้ดั่งใจปรารถนาทุกอย่างแม้กระทั่งสร้างเขื่อนกันคลอง คสร. อย่างผิดกฎหมาย ขอความเห็นใจขอความเมตตาจากท่านผู้ใหญ่ที่มีอำนาจอิทธิพลในการปกครองแผ่นดินด้วยเถิด

เบื้องต้นชาวบ้านร่วมกันลงชื่อการคัดค้านการรื้อถอนสะพานแห่งนี้ แล้วจะนำเรื่องราวทั้งหมดไปดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป