ข่าวทั่วไปข่าวพาดหัว

ร้อยเอ็ด-ลงนาม MOU กับ อั้ม อธิชาติ โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรด้วยข้าวหอมมะลิ 105 ระยะเขียว (ข้าวหยกเขียว)ใช้การตลาดนำการผลิตร้อยเอ็ด

ร้อยเอ็ด-ลงนาม MOU กับ อั้ม อธิชาติ โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรด้วยข้าวหอมมะลิ 105 ระยะเขียว (ข้าวหยกเขียว)ใช้การตลาดนำการผลิตร้อยเอ็ด
วันที่ 13 กันยายน 2567 เวลา 11.00 น.นายชัยวัฒน์ ชัยเวชพิสิฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานในพิธีบันทึกความร่วมมือ (MOU)ภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรด้วยข้าวหอมมะลิ
105 ระยะเขียว ใช้การตลาดนำการผลิต
ณ หอประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี ดร.อธิชาติ ชุมนานนท์ คณะผู้บริหาร บริษัทอทิสเมต โกลบอล จำกัด คณะผู้บริหาร บริษัท อิชิมารุ ฟาร์คอส จำกัด จากประเทศศญี่ปุ่น ประธานหอการค้าจังหวัดประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ และเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพบ้านเหม้า เข้าร่วมพิธี


นายชัยวัฒน์ ชัยเวชพิสิฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า ในนามครั้งนี้จังหวัดร้อยเอ็ด มีความยินดีที่ได้รับเกียรติจากคณะผู้บริหาร บริษัทอทิสเมต โกลบอลจำกัด โดย ดร.อธิชาติ ชุมนานนท์ และคณะผู้บริหาร บริษัท อิชิมารุ ฟาร์คอส จำกัดจากประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ให้ความสนใจและมาเยี่ยมชมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพบ้านเหม้า อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งมีการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรด้วยข้าวหอมมะลิ 105 ระยะเขียว ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจชุมชมชนดังกล่าว มีการนำข้าวระยะเขียวไปแปรรูปเป็นข้าวกล้อง เป็นผงสารสกัดข้าวหอมมะลิ 105 ระยะเขียวและน้ำมันรำข้าวหอมมะลิระยะเขียว เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น
นายชัยวัฒน์ฯ กล่าวอีกว่า จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ ที่ดีที่สุด โดยมีพื้นที่ปลูกข้าวทุกชนิดประมาณ 3.1 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวหอมมะลิประมาณ 2.4 ล้านไร่ ข้าวเหนียวและข้าวอื่นๆ ประมาณ 7 แสนไร่และที่สำคัญจังหวัดร้อยเอ็ดมีพื้นที่ปลูก

ข้าวหอมมะลิ ประมาณ 9.8 แสนไร่ ที่ตั้งอยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ การลงนามบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้ ทำให้สร้างความมั่นใจในเรื่องการใช้ตลาดนำการผลิต เกษตรกรต้องผลิตให้ใด้คุณภาพตามที่ตลาดต้องการ ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ การให้องค์ความรู้ การปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ดีมีมาตรฐานจากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว การดูแลรักษาอย่างถูกต้องปลอดภัยได้มาตรฐาน กระบวนการกลางน้ำ การแปรรูปก็ต้องทำให้ได้ตามที่ตลาดต้องการ โดยอาศัยเครือข่ายจากเครื่องจักรแปลงใหญ่ วิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพบ้านเหม้าและกลุ่มอื่น รวมทั้งเครือข่ายสหกรณ์ในพื้นที่ในส่วนของกระบวนการปลายน้ำ เราหวังว่าการทำ MOU จะช่วยแก้ปัญหาของเกษตรกรกรในด้านการผลิต เพราะเรามีตลาดที่รับซื้อแน่นอนจากการทำ MOU ครั้งนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลผลิต
ข้าวทั้งหมดของจังหวัด ซึ่งมีประมาณ 1.2 ล้านตันข้าวเปลือกที่จะออกสู่ท้องตลาด และเป็นไปตามกลไกของอุปสงค์อุปทานข้าวต่อไป
กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การแสดงนิทรรศการสินค้าทางการเกษตรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชนบ้านเหม้า จังหวัดร้อยเอ็ด นิทรรศการผลิตภัณฑ์จากข้าวหอมมะลิ 105 จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด และการลงพื้นที่เดินทางไปประชุมกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนการดำเนินงานระบบโรงงานและการส่งเสริมกระบวนการผลิต ระหว่าง
กลุ่มวิสาหกิจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ บริษัทคู่ค้า
ที่แปลงนาเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 ของจังหวัดร้อยเอ็ด

คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ภาพ