ข่าวทั่วไปข่าวพาดหัว

ชุมพร – จัดประชุมปฏิบัติการ พลิกโฉมการยกระดับคุณภาพของผลการสอบ PISA เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ชุมพร – จัดประชุมปฏิบัติการ พลิกโฉมการยกระดับคุณภาพของผลการสอบ PISA เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

วันนี้(28 ก.ย. 67) ที่โรงเรียนศรียาภัย อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร มีการประชุมปฏิบัติการ “พลิกโฉมการยกระดับคุณภาพของผลการสอบ PISA เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” พื้นที่จังหวัดชุมพร ภายใต้โครงการขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาและประสิทธิภาพการศึกษาจังหวัดชุมพร ผ่านกลไก กศจ. ประจำปีงบประมาณ 2567 นำโดย ดร.โกศล เพ็ชร์สุวรรณ์ กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ สจล. ดร.ธงชัย ชิวปรีชา อดีตผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ดร.สุพัตรา ผาติวิสันติ์ รองผู้อำนวยการ สสวท. นายวิชัย ราชธานี ผู้อำนวยการโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช ซึ่งการประชุมดังกล่าว เป็นการระดมความคิดเลือกกิจกรรมและแบบฝึกไปใช้จัดการเรียนการสอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 – 3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการประเมิน PISA โดยจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 28-29 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุมย่าชื่น โรงเรียนศรียาภัย

นางสาวสุภัคกมล ชินวงค์ ศึกษาธิการจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า การประชุมครั้งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของจังหวัดชุมพรและประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของการเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมิน PISA ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการวัดความสามารถของเยาวชนในระดับนานาชาติผลการประเมิน PISA ไม่เพียงแต่สะท้อนถึงคุณภาพการศึกษาของประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศในด้านความสามารถในการแข่งขันและความน่าลงทุนอีกด้วย ดังนั้น การพัฒนาความฉลาดรู้ของนักเรียนในด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จึงเป็นภารกิจสำคัญที่เราทุกคนต้องร่วมมือกัน

ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ทุกคนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายภาคส่วน ทั้งจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช ซึ่งล้วนเป็นผู้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการพัฒนาการเรียนการสอนตามแนวทาง PISA พร้อมกับได้นำความรู้ แนวคิด และแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 อันจะส่งผลให้นักเรียนมีความพร้อมในการเข้ารับการประเมิน PISA และมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในโลกยุคปัจจุบัน อีกด้วย


ธนากร โกศลเมธี รายงาน 0818923514