ข่าวทั่วไปข่าวพาดหัว

ปทุมธานี – ตักบาตรพระร้อยริมแม่น้ำเจ้าพระยาอนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิมวันออกพรรษา

ปทุมธานีตักบาตรพระร้อยริมแม่น้ำเจ้าพระยาอนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิมวันออกพรรษา

วันที่ 18 ต.ค.2567 นายคมสัน ญาณวัฒนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นายปัญญา นพขำ นายกเทศมนตรีตำบลบ้านกลาง นายสายัณ นพขำ ที่ปรึกษานายกเทศบาลตำบลบ้านกลาง นายศุภชัย นพขำ (ส.ส.เต๋า) เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมข้าราชการพ่อค้า ประชาชนจำนวนมาก ร่วมประเพณีทำบุญตักบาตรพระร้อยทางเรือ อนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิมในเทศกาลวันออกพรรษา ที่วัดมะขาม ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว และติดกับวัดศาลเจ้าที่มีตลาดน้ำสำคัญของจังหวัดปทุมธานี
ตักบาตรพระร้อย เป็นประเพณีตักบาตรทางน้ำในช่วงเทศกาลออกพรรษา ที่ชาวปทุมธานี โดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายมอญ ปฏิบัติกันมานานนับร้อยปี เพราะจังหวัดปทุมธานีมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ทำให้เกิดลำคลองหลายสายขึ้น เพื่อใช้เป็นเส้นทางการคมนาคม ใช้ในการชลประทาน ใช้ในการอุปโภคบริโภค อีกทั้งบ้านเรือนประชาชนแต่เดิมจะตั้งอยู่ริมแม่น้ำลำคลองเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในช่วงออกพรรษาเป็นช่วงน้ำหลาก บรรยากาศชุมชื่นการสัญจรไปมาทางเรือสะดวก ดังนั้นการตักบาตรพระสงฆ์จึงใช้เรือในการบิณฑบาตบริเวณท่าน้ำหน้าบ้านประชาชน


การตักบาตรพระร้อยของชาวปทุมธานีในอดีต ดูแปลกกว่าที่อื่นๆ โดยเฉพาะการตักบาตรพระร้อยตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จะมีการตักบาตรเป็นระยะทางไกลเป็นกิโลเมตรเลยทีเดียว เริ่มตั้งแต่ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นต้นไป โดย ทางวัดที่อยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง แต่ก็ไม่ได้กำหนดไปเสียทุกวัด ส่วนใหญ่จะจัดให้มีการตักบาตรเฉพาะในวัดใหญ่ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะตกลงกำหนดวันที่จะผลัดกันเป็นเจ้าภาพ เพื่อไม่ให้วันตักบาตรฯ ตรงกันหรือทับซ้อนกัน เพราะถ้าตรงกันแล้ว จำนวนพระที่จะมารับบาตรจะได้จำนวนไม่ครบ 100 รูป (ซึ่งผู้รู้บางท่านกล่าวว่าเป็นที่มาของคำว่า “พระร้อย”) และต้องการให้พระพุทธศาสนิกชนทั้งหลายรู้กำหนดเวลา จะได้เตรียม จัดทำอาหารหวานคาว ไว้ทำบุญตักบาตรได้ถูกต้องด้วย การกำหนดว่าวัดใด จะทำบุญตักบาตรพระร้อยในวันใดนั้น ได้กำหนดไว้