ตรวจเยี่ยม

นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เยี่ยมชมการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ผ้าย้อมคราม “วิชชาลัยดอนกอย วิถีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน” จ.สกลนคร

นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เยี่ยมชมการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ผ้าย้อมคราม “วิชชาลัยดอนกอย วิถีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน” จ.สกลนคร
=================
วันศุกร์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เดินทางเยี่ยมชมการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย “วิชชาลัยดอนกอย วิถีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน”


หมู่ที่ ๒ ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร พร้อมชมสาธิตขั้นตอนการทอผ้า นิทรรศการผลิตภัณฑ์ดอนกอยโมเดล และชมการไลฟ์สด การจำหน่ายฝ่ายช่องทาง Online โดยมีวัตถุประสงค์ของการมาเยี่ยมชมวิชชาลัยในครั้งนี้เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผ้าย้อมครามสกลนครเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัด และสร้างรายได้สู่ชุมชน
โดยนายชูศักดิ์ รู้ยิ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ได้มอบหมายให้นายพิสิษฐ์ แร่ทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร พร้อมนายสุระชาติ พรหมดิเรก ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดสกลนคร นางถวิล อุปรี ประธานกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย ผู้อำนวยการกลุ่มงาน หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอพรรณานิคม และชาวบ้านดอนกอย ร่วมให้การต้อนรับ
*ศูนย์เรียนรู้ผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย “วิชชาลัยดอนกอย วิถีแห่งการพัฒนาที่ยัน”
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวิณณวรี นารีรัตนรายกัญญา ทรงมีพระปณิธานที่มุ่งมั่น
ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี้พันปีหลวง เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เสด็จมาทรงเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย ณ กลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โดยทอดพระเนตรขั้นตอนของการผลิตผ้าย้อมครามที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นภูไท ทรงทอดพระเนตรขบวนการทอผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย ทรงมีพระวินิจฉัยการพัฒนาผ้าย้อมครามจากสีครามเข้มให้มีหลากหลายเฉดสี ทรงให้ข้อเสนอแนะการออกแบบ ทำให้เกิดการทอผ้าแบบผสมผสานจากผ้ามัดหมี่ ๑ ผืน มีลายเดียว เป็นการผสมผสานมัดหมี่ ๒ – ๓ ลายในผืนเดียวกัน และเป็นต้นกำเนิดลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ โดยทรงพระราชทานแก่ช่างทอผ้าทั่วประเทศ ทั้งกำเนิดกลุ่มทอผ้าต้นแบบ “คอนกอยโมเดล” ด้วยการก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย “วิชชาลัยดอนกอย วิถีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน”


ศูนย์เรียนรู้ผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย “วิชชาลัยดอนกอย วิถีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน”
ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้ในการผลิตผ้าทอย้อมครามที่มีศักยภาพ เป็นแหล่งเรียนรู้การทอผ้าย้อมครามให้ชุมชน และพื้นที่ใกล้เคียง สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน อีกทั้งยังมี “ดอนกอยโมเดล” หนึ่งในโครงการพระดำริสมเด็จเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่สนับสนุนโดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นโครงการกลุ่มทอผ้าต้นแบบ มุ่งวางรากฐานการพัฒนาคุณภาพการทอผ้า รวมไปถึงคุณภาพของเส้นใย การย้อมสี และการนำผลิตภัณฑ์ผ้าไปออกแบบตัดเย็บสู่ตลาดในวงกว้างอย่างครบวงจรจะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ผ้าไทย ที่สร้างสรรค์จากภูมิปัญญาพื้นถิ่น สามารถพัฒนาและต่อยอดแนวคิดในการผลิตและออกแบบ ให้มีความร่วมสมัย สวมใส่ได้จริงในชีวิตประจำวัน ในหลากหลายวาระโอกาส โดยมีผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ในพื้นที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ที่ผลิตผ้าทอย้อมครามเข้าร่วมโครงการดอยกอยโมเดล รวมทั้งหมด ๑๑ กลุ่ม จึงมีความจำเป็นต้องขยายผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับกลุ่มทอผ้าอื่น ๆ ในกลุ่มจังหวัดสนุก เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ให้มีความรู้และ
มีความเชี่ยวชาญ เรื่อง การผลิตผ้าทอมือ เช่นเดียวกับ ดอนกอยโมเดล เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์สร้างทางเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในยุคปัจจุบันได้
ในปี พ.ศ. ๒๕๖๗ ศูนย์เรียนรู้ผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย “วิยยาลัยดอนกอย วิถีแห่งการพัฒนา
ที่ยังยืน” มีคณะมาศึกษาดงานทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด ส่งผลให้มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมคราม ดังนี้


กลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย ปี ๒๕๖๗ (เดือนมกราคม – ตุลาคม) จำนวน ๔,๘๔๙,๙๒๐ บาท
“ดอนกอยโมเดล” จำนวน ๑๑ กลุ่ม มียอดจำนวนผลิตภัณฑ์ดอนกอยโมเดล ปี ๒๕๖๗
(เดือนมกราคม – ตุลาคม) จำนวน ๑๗,๙๗๔,๓๐๓ บาท
ยอดคณะศึกษาดูงาน/เยี่ยมชมและสนับสนุนผลิตภัณฑ์ดอนกอยโมเดล จำนวน ๔๔ คณะ ๔,๒๕๘ คน
🌍💞เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง💞🌎
#บำบัดทุกข์บำรุงสุข
#สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร
# OTOP
#สกลนคร
#”วิชชาลัยดอนกอยวิถีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน”
#กระทรวงมหาดไทย
#SDGsforAll
#ChangeforGood


/////////// ภาพ/ข่าว : สังกะลีเฒ่า