ชุมพร – “ครอบครัวมั่นคง สังคมสุขภาพดี”
ธนากร โกศลเมธีรายงาน 0818923514
ท่าแซะตั้งเป้า “ครอบครัวมั่นคง สังคมสุขภาพดี” พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในท้องถิ่น เพื่อแก้ปัญหาให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ตำบล
วันที่ 22 พ.ย.67 นายพิศิษฐ์ ฤทธิพิชัยสงคราม นายอำเภอท่าแซะ ร่วมกับ นายสิทธิชัย ชูจีน สาธารณสุขอำเภอท่าแซะ กิ่งกาชาดอำเภอท่าแซะ หน่วยงานราชการ หมอ อสม , อพม.และภาคเอกชน ร่วมประชุมขับเคลื่อนโครงการ”ครอบครัวมั่นคง สังคมสุขภาพดี” พัฒนาคุณภาพชีวิตพี่น้องประชาชนในท้องถิ่น เพื่อแก้ปัญหา และให้การช่วยเหลือกลุ่มเปาะบาง ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ตำบล
โดยสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สมาชิกในครัวเรือนมีความเข้าใจกัน มีความช่วยเหลือ เกื้อกูลสามารถแก้ปัญหาต่างๆร่วมกันได้ ได้รับการยอมรับจากสังคมมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนและสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนได้ ตามความหมายของคำว่าครอบครัวมั่นคง สำหรับสังคมสุขภาพดีหมายถึงสังคมที่มีประชาชนมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจสามารถดำรงชีวิตได้อย่างดีปกติสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมได้อย่างเต็มศักยภาพ กลุ่มเปราะบางคือกลุ่มเป้าหมายที่จะช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นการบูรณาการ ทุกหน่วยงานในพื้นที่ของอำเภอ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายต่างๆ รวมถึงผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ผู้พิการผู้ป่วยทางจิตเวช หรือว่าเด็กที่ต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือ โดยจะมีการบูรณาการ ระหว่าง 12 กระทรวงกับ 1 หน่วยงาน ที่จะมีบทบาทเข้าไปช่วยในโครงการในครั้งนี้
หน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข จะมีบทบาทในการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพให้มีความฉลาดทางด้านสุขภาพ มีการพัฒนาทีมของครอบครัว เครือข่ายหมอในการดูแลสุขภาพบุคคลในครอบครัว มีการจัดทำขายฐานข้อมูลในพื้นที่ สถานที่การพัฒนาศักยภาพคนในครอบครัวให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ การตั้งศูนย์หรือหน่วยระบบสาธารณสุข หน่วยงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ จะมีบทบาทในการพัฒนาระบบและกลไกการเข้าถึงสิทธิ์สวัสดิการของบุคคลในครอบครัวในทุกกลุ่มวัย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตส่งเสริมสงเคราะห์ให้ครอบครัวมีความมั่นคง ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง กระทรวงมหาดไทยจะมีบทบาทในการสนับสนุนทางการทางด้านการปกครอง องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจะช่วยในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของครอบครัว ในด้านของรายได้ความเป็นอยู่สิ่งแวดล้อมในครัวเรือน แล้วก็ร่วมกันแก้ไขปัญหาความยากจนและก็พัฒนาทุกช่วงวัยเด็กยั่งยืน
เป้าหมายครอบครัวที่ตกเกณฑ์ tp-met ซึ่งจะแยกแยะว่าครอบครัวใดตกในด้านมิติไหน ในด้านสุขภาพความเป็นอยู่ด้านการศึกษารายได้ หรือด้านเข้าถึงการบริการของรัฐ และสาธารณูปโภคของครัวเรือนเหล่านี้ เป็นเครื่องมือที่จะกรองกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าโครงการ”ครอบครัวมั่นคง สังคมสุขภาพดี”เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป