กีฬา

โอลิมปิคไทยฯ พร้อมอนุมัติส่งนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทีมชาติไทย เข้าร่วมศึก

โอลิมปิคไทยฯ พร้อมอนุมัติส่งนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทีมชาติไทย เข้าร่วมศึก
เอเชี่ยนเกมส์ถดูหนาวในเดือนกุมภาพันธ์นี้ที่จีน ขณะที่การเตรียมการเป็นเจ้าภาพ
ซีเกมส์ของไทยปลายปีนี้ มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
เมื่อวันพุธที่ 22 มกราคม 2568 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม 1 คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศ
ไทยฯ ถนนศรีอยุธยา ได้มีการประชุมกรรมการบริหารคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรม
ราชูปถัมภ์ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2568 โดยมี นายธธรรมนูญ หวังหลี รองประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่ง
ประเทศไทยฯ ทำการแทนประธานคณะกรรมการโอลิมปิดแห่งประเทศไทยฯ เป็นประธาน ซึ่งมีวาระสำคัญ
ทั้งเรืองสืบเนื่องเกี่ยวกับโครงการส่งเสริมการกีฬาเพื่อพัฒนาชาติไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อสนอง
พระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการพัฒนาการกีฬาของชาติ รายงานการประชุม
คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย การประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
ความก้าวหน้าของสมาคมสหพันธ์กีฬาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAGF Office) รวมถึงความคืบหน้า
การเตรียมการจัดการแข่งขันกีฬาชีเกมส์ ครั้งที่ 33 และการอนุมัติส่งนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทีมชาติไทย เข้าร่วม
การแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ฤดูหนาว ที่จีนในเดือนกุมภาพันธ์นี้
สำหรับความก้าวหน้าการเตรียมการส่งคณะนักกีฬาไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ฤดูหนาว
ครั้งที่ 9 ณ เมืองฮาร์บิน สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 7-14 กุมภาพันธ์ 2568 ล่าสุดจากผล
การประชุมหัวหน้าคณะนักกีฬาเมื่อวันที่ 23-24 กันยายน 2567 กำหนดให้จัดการแข่งขันจำนวน 6 ชนิดกีฬา
โดยสนามแข่งขันแบ่งเป็น 2 Cluster คือ Harbin Cluster ซึ่งเป็นพื้นผิวน้ำแข็งที่จะใช้จำนวน 5 สนามแข่งขัน
และ Yabuli Cluster ที่เป็นพื้นผิวหิมะ ใช้จัดการแข่งชันกีฬาประเกทสกี ทั้งนี้จะมี 2 ชนิดกีฬาที่จะเริ่มทำการ
แข่งขันก่อนพิธีเปิด คือ กีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง เริ่มวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 และกีฬาเคอร์ลิ่ง จะเริ่มวันที่ 5
กุมภาพันธ์ 2568 สำหรับประเทศไทย เตรียมส่งนักกีฬาและเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการแข่งชัน จำนวนทั้งสิ้น 130 คน
ประกอบด้วย หัวหน้าคณะนักกีฬา 1 คน. รองหัวหน้าคณะนักกีฬา 1 คน. อาตาเช่ 1 คน. นักกีฬา 85 คน
โดยเป็นนักกีฬาชาย 48 คน และนักกีฬาหญิง 37 คน, เจ้าหน้าที่ประจำทีม 29 คน, แพทย์และนัก
กายภาพบำบัด 7 คน และเจ้าหน้าที่กองอำนวยการ 6 คน
ขณะที่ความคืบหน้าการเตรียมการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ระหว่างวันที่ 9-20 ธันวาคม
2568ในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร, ชลบุรี, สงขลา และเชียงใหม่ โดยจากการประชุม
คณะกรรมการจัดการแข่งขัน และคณะกรรมการอำนวยการจัดการแข่งขันในห้วงเดือนพฤศจิกายนและ
ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปทั้งเรื่องค่ำสั่งคณะกรรมการอำนวยการจัดการแข่งขัน ซึ่งมี นายกรัฐมนตรี
เป็นประธานอำนวยการ และปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นกรรมการและเลขานุการ และคำสัง
คณะกรรมการจัดการแข่งขันมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธาน และผู้ว่าการ
การกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยจะแบ่งโครงสร้างของคณะกรรมการจัดการแข่งขัน

เป็น 4 ฝ่าย คือ คณะกรรมการสำนักงานเลขานุการและประสานระหว่างประเทศ มีผู้ว่าการการกีฬาแห่ง
ประเทศไทย เป็นประธาน, คณะกรรมการบริหารการจัดการแข่งขัน มีรองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย
ฝ่ายบริหาร เป็นประธาน, คณะกรรมการฝ้ายสนับสนุนและบริการ มีที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ
ท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธาน และคณะกรรมการฝ่ายเทคนิคกีฬา มีรองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย
ฝ่ายกีฬาเป็นเลิศฯ เป็นประธาน โดยมีการเห็นชอบการจัดการแข่งขันแล้ว จำนวน 50 ชนิดกีฬา 569 รายการ
ซึ่งจะแบ่งตามจังหวัดดังนี้ กรุงเทพมหานคร จัดแข่งขัน 34 ชนิดกีฬา กับ 2 กีฬาสาธิต, จังหวัดชลบุรี
จัดแข่งขัน 16 ชนิดกีฬา กับ 1 กีฬาสาธิต และจังหวัดสงขลา จัดแข่งขัน 8 ชนิดกีฬา โดยจะจัดการแข่งขัน
ในรูปแบบ Green SEA Games เน้น Sustainable Games ขณะที่การประชุมคณะกรรมการอำนวยการฯ
ได้มีการนำทีมงาน Soft Power มานำเสนอรูปแบบของโลโก้ ในแง่ของสัญลักษณ์ รวมถึงมีการจัดทำปฏิทิปฏิทิน
การดำเนินงานการเป็นเจ้าภาพฯ และการเก็บตัวฝึกข้อมของนักกีฬาชีเกมส์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม ที่ผ่านมา
จนถึง 7 ธันวาคม 2568 ด้าน สมาคมสหพันธ์กีฬาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAGF Office) ได้มีการแต่งตัง
Coordination Committee 1านวน 5 ท่าน จาก 5 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร ฟิลิปปินส์ และ
อินโดนีเซีย เพื่อติดตามการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดการแข่งขันซีเกมส์ โดยจะมีการจัดการประชุม
Coordination Committee Meeting จำนวน 3 ครั้ง ซึ่งจะเริ่มประชุมครั้งแรกในเดือนมกราคม 2568