ร้อยเอ็ด-ผวจ.ร้อยเอ็ด ย้ำ ! ประกาศห้ามเผาในที่โล่งโดยเด็ดขาด ตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ จากไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เพื่อคุณภาพชีวิตของทุกคน
วันนี้(31 ม.ค.68) นายชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เปิดเผยว่า จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ประกาศขอความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ดำเนินการตามมาตรการในการ
ป้องกันและเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) แต่เนื่องจากในช่วงหน้าแล้งของทุกปี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนเมษายน เกือบทุกภาคของประเทศไทยมักประสบกับค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5 ) ที่เพิ่มสูงขึ้น และส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อประชาชน อันมีสาเหตุมาจากการเผาในพื้นที่ป่าไม้ ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าอนุรักษ์ ป่าชุมชน ที่สาธารณะ การเผาในพื้นที่เกษตรกรรม การเผาขยะในพื้นที่ชุมชน/เมือง พื้นที่ริมทาง ตลอดจนแหล่งกำเนิดมลพิษต่างๆ ในภาคอุตสาหกรรม และควันดำจากยานพาหนะ
เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ไม่ให้มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน และมีคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ดี อาศัยอำนาจตามความความมาตรา 15 มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 จึงกำหนดให้ทุกพื้นที่หมู่บ้าน/ตำบล/อำเภอ ในจังหวัดวัดร้อยเอ็ด เป็นเขตห้ามเผาในที่โล่งโดยเด็ดขาด ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2568 โดยให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ ห้ามมีให้กำจัดวัชพืช ขยะ หรือสิ่งอื่นโดโดยการเผาในทุกพื้นที่อย่างเด็ดขาด
กรณีที่มีการฝ่าฝืน หรือทำให้เกิดเหตุไฟไฟไหม้จนเป็นความผิดตามกฎหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่
บังคับใช้มาตรการทางกฎหมายต่อผู้กระทำผิดอย่างเด็ดขาด ดังนี้ 1. พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา 54 (30)และรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือโดยรับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การขออนุญาต และการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 54
มีความผิดตามมาตรา 72 ตรี ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 ตามมาตรา 14 ผู้ใดฝ่าฝืนตามมาตรา 14 มีความผิดตามมาตรา 31 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท 3. พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 มาตรา 220 ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใดๆ แม้เป็นของตนเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคอื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท 4. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา 25 (4)
การกระทำใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้าหรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อม หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผู้ใดฝ่าฝืนตามมาตรา 25 มีความผิดตามมาตรา 74 ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน สองหมื่นห้าพัน บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 130 ห้ามมิให้ผู้ใดเผาหรือกระทำด้วยประการใดๆ ภายในระยะห้าร้อยเมตรจากทางเดินรถ เป็นเหตุให้เกิดควันหรือสิ่งอื่นใดในลักษณะภัยแก่การจราจรในการเดินรถนั้น ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มีความผิดตามมาตรา 152 ต้องปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท และ 6.ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรการบริหารการจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5 ) ภาคการเกษตร ลงวันที่ 17 มกราคม 2568 ข้อ 7 กรณีเกษตรกรรายใดมีประวัติการเผาในพื้นที่การเกษตร เกษตรกรรายนั้นจะไม่ได้รับสิทธิใน
โครงการสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพเกษตรกรทุกโครงการ โดยเป็นการขาดคุณสมบัติในการเข้าร่วมโครงการสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพเกษตรกร นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2568 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2570
ทั้งนี้ ผู้บริหาร และสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ให้ถือเป็นหน้าที่ต้องสอดดส่องดูแลและร่วมชี้แจงให้ประชาชนในพื้นที่ให้ปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้อย่างเครัด ให้หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ปฏิบัติเป็น
ตัวอย่างที่ดี งดการเผาทุกชนิด ในพื้นที่รับผิดชอบ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ออกประกาศ 31 ม.ค.68 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2568 (นายชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์) ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้อำนวยการจังหวัด
ขณะที่ ประชาชนชาวจังหวัดร้อยเอ็ด ได้มีการรับรู้ ถึงผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 จากการประชาสัมพันธ์ในทุกแพลทฟอร์มของหน่วยงานภาครัฐที่เร่งรณรงค์ให้พี่น้องประชาชนชาวจังหวัดร้อยเอ็ดรับทราบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ภาพ