ข่าวทั่วไป

ปทุมธานีสหกรณ์การเกษตรคลองหลวงจับมือกลุ่มผู้ผลิต

ปทุมธานีสหกรณ์การเกษตรคลองหลวงจับมือกลุ่มผู้ผลิต

ขับเคลื่อนซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์

 

วันที่ 16 มีนาคม 2564 นางฉลวย ชาญสวัสดิ์ สหกรณ์จังหวัดปทุมธานี เป็นประธาน การประชุมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเชื่อมโยงเครือข่ายและพัฒนาการดำเนินงานซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนการพัฒนาการดำเนินงานซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์และการเชื่อมโยงเครือข่าย ตลอดจนเป็นการจัดเวทีในการแนะนำ ส่งเสริม พัฒนาการดำเนินงานธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ รวมทั้ง ส่งเสริมและพัฒนาร้านค้าสหกรณ์ให้เป็นจุดจำหน่ายสินค้าของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพสังกัดสหกรณ์ตลอดจนกลุ่มผู้ผลิตคุณภาพกลุ่มต่างๆที่ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้แก่ ข้าวสาร นม ไข่ไก่ ผักผลไม้ อาหารแปรรูป ในรูปแบบซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าสหกรณ์ได้มากขึ้น ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้กำหนดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเชื่อมโยงเครือข่ายและพัฒนาการดำเนินธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ขึ้น โดยในจังหวัดปทุมธานีมีสหกรณ์การเกษตรคลองหลวง จำกัด เป็นสหกรณ์เป้าหมายโดยมีการจัดเวทีในการประชุมวางแผนพัฒนาการดำเนินงานซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์และการเชื่อมโยงเครือข่าย ระหว่างร้านสหกรณ์ สหกรณ์ผู้ผลิต สมาชิกสหกรณ์ กลุ่มผู้ผลิต ตลอดกรทั่วไป ได้ร่วมมือกันในการแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ ซึ่งนำโดยนายธีรพงษ์พันธุ์ ฉิมคราม ประธานสหกรณ์การเกษตรคลองหลวง จำกัด ฝ่ายจัดการสหกรณ์ของสหกรณ์การเกษตรคลองหลวง จำกัด ผู้แทนกลุ่มผู้ผลิตจากสหกรณ์ต่างๆ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์และผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงเครือข่ายกลุ่มผู้สมัครเข้าร่วมโครงการนำลูกหลานกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตรของจังหวัดปทุมธานี รวม 30 คน ณ โรงสีสหกรณ์การเกษตรคลองหลวง จำกัด ตำบลคลองเจ็ด อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ในการประชุมครั้งนี้ ผู้เข้าประชุมให้ความสนใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตและการมีเครือข่ายไว้สำหรับเชื่อมโยง ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน โดยประเด็นสำคัญที่ได้จากการประชุมและแลกเปลี่ยนกันในครั้งนี้ ได้แก่ 1. การจัดให้มีสินค้าที่หลากหลายประเภทเพื่อจำหน่ายแก่ผู้บริโภคทั่วไปในร้านซูเปอร์มาร์เก็ตที่โรงสีสหกรณ์การเกษตรคลองหลวง จำกัด ได้แก่ สินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีพ เช่น ข้าวสาร ไข่ไก่ น้ำดื่ม สินค้าอุปโภค สินค้า แปรรูปต่างๆ จากสหกรณ์ทั้งในและนอกจังหวัด เช่น อาหารทะเลแปรรูปที่ไม่เน่าเสียง่าย เช่น กุ้งแห้ง ปลาหมึกแห้ง กะปิ รวมถึงสินค้าเกษตร ทั้งจากสมาชิกสหกรณ์ กลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตร เช่น ผัก ผลไม้ต่างๆ อาหารแปรรูป เช่น น้ำพริก ไข่เค็ม เป็นต้น 2. การจัดระบบรูปแบบของร้านให้มีความเหมาะสม เป็นสัดส่วน น่าสนใจ สะอาดสะอ้าน และแยกกลุ่มประเภทสินค้าให้ชัดเจน 3. เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจร้านซูเปอร์มาร์เก็ตกับสหกรณ์ผู้ผลิตอื่น กลุ่มผู้ผลิต ตลอดจนสมาชิกสหกรณ์ และเกษตรกรได้มีช่องทางในการจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรอีกช่องทางหนึ่ง 4. ผู้บริโภคได้รับการบริการและได้บริโภคสินค้าที่มีคุณภาพ ราคายุติธรรม และได้มีส่วนในการช่วยสนับสนุนสินค้าจากขบวนการสหกรณ์ และเกษตรกร ทำให้กลุ่มผู้ผลิต รวมถึงเกษตรกรทั่วไปมีรายได้เพิ่มขึ้น 5. กลุ่มผู้ลิตได้เรียนรู้ร่วมกันถึงการนำแนวทางการตลาดสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้คือการนำแนวคิดการตลาดนำการผลิต สามารถพัฒนาสินค้าของตนให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคอยู่เสมอ และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ