ข่าวทั่วไปข่าวพาดหัวเศรษฐกิจ

ปทุมธานี – เสนอทางออก SMEs เปิดร้านค้าออนไลน์ฝ่าวิกฤต

ปทุมธานีเสนอทางออก SMEs เปิดร้านค้าออนไลน์ฝ่าวิกฤต


วันนี้ 28 มิถุนายน 2564 นายธีรวงศ์ สรรค์พิพัฒน์ ประธานเครือข่ายเอสเอ็มอีรุ่นใหม่ ได้ให้ความเห็นว่าธุรกิจ SMEs ในไทยได้ล้มละลายจากวิกฤติโควิด โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยว ที่พัก และอาหาร คำนวนเฉพาะไตรมาสแรกของปี 2564 มีสัดส่วนถึงร้อยละ35% โดย GDP MSME ดัชนีค้าปลีกค้าส่งและบริการ ลดลงถึง 2.5% ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อหน้าที่ลดลงมาแล้ว 7.1% แนวโน้มแสดงให้เห็นว่าภาค SMEs จะยังคงปิดตัวลงกันอย่างต่อเนื่อง เพราะ SMEs เป็นผู้หาเช้ากินค่ำเป็นส่วนใหญ่ย่อมไม่มีทุนสำรองที่จะเลี้ยงตนเองได้เมื่อเกิดวิกฤตที่ยังไม่มีกำหนดสิ้นสุด ธุรกิจรายใหญ่เช้า นายทุน

เจ้าของร้านสะดวกซื้อจึงควรคำนึงถึงคู่ค้า ลดค่า GP ลดเครดิตที่ได้จากคู่ค้าลง หรือเร่งโอนเงินค่าสินค้าในวันถัดไป มีนโยบายป้องกันการลอกเลียนแบบสินค้าที่คู่ค้าเข้ามาขายผ่านร้านสะดวกซื้อ ไม่ใช่ลอกเลียนแบบเสียเอง หรือปลอมแปลงตราสินค้าเครื่องดื่ม การกระทำดังกล่าวจะทำให้ทุนใหญ่สามารถช่วยดึงทุนเล็กให้พ้นจากสภาวะจมน้ำได้ มาตราการที่มีเมตตา (Kindness economy) จะได้รับการชื่นชมโดยไม่ต้องลงทุนมหาศาลในการจ้างเขียนโฆษณา ซึ่ง SMEs ที่ประสบปัญหาทุนใหญ่ไม่มีนโยบายลดค่า GP หรือ ค่าเช่า ควรพิจารณาเลือกเปิดการขายออนไลน์ผ่าน เช่น Shopee Lazada เพราะปัจจุบันตลาดออน์ไลน์มีการขยายตัวเป็นอย่างมาก และสามารถส่งของได้ภายในระยะเวลาไม่นาน รวมถึงการที่ผู้บริโภคสามารถประหยัดได้มากขึ้นจากการการซื้อสินค้าผ่นแอพพลอเคชั่น เช่น การซื้อ Tops ผ่าน Grab มีโปรโมชั่นในช่วงเวลาทำให้ราคาสินค้าถูกกว่าการเดินทางไปซื้อที่ร้าน ในอนาคตอันใกล้ เมื่อรัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญและ

เข้ามากระตุ้นให้เกิดการแข่งขันระหว่างแอพพลิเคชั่นได้เต็มที่ ทำให้ SMEs ไม่เสียเปรียบจากการเป็นปลาเล็กอีกต่อไป และหลีกเลี่ยงการเป็นคู่ค้ากับนายทุนร้านสะดวกซื้อที่ชอบลอกเลียนสินค้าร่ำรวยบนความทุกข์ผู้อื่นจะกลายเป็นส่วนเกินทางประวัติศาสตร์ ล้อที่สามของประเทศซึ่งในอนาคต SMEs จะได้ประโยชน์จากการไม่ต้องเสียค่าวางสินค้า ค่า POS หลักหลายแสนบาท และความเสี่ยงจากการถูกปลดออกจากสาขา การเปิดร้านออน์ไลน์ไม่มีค่าขนส่งไปยังสาขา ไม่มีค่าวางสินค้า ไม่ต้องลงทุนผลิตเกินปริมาณความต้องการจริงเพื่อวางตามสาขาร้านสะดวกซื้อโดยไม่จำเป็น มีผลให้ SMEsไม่ต้องใช้เงินลงทุนไปกับสิ่งที่ไม่จำเป็น ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายเล็กมีโอกาสเจริญเติบโตได้แม้ในวิกฤตเศรษฐกิจ