COVID-19ข่าวทั่วไปข่าวพาดหัวทุกข์ชาวบ้านร้องเรียน

ปทุมธานี – เจ้าของร้านอาหารโวยรัฐมีมาตรการเยียวยาอะไรบ้างสั่งห้ามนั่งกิน 30 วัน

ปทุมธานีเจ้าของร้านอาหารโวยรัฐมีมาตรการเยียวยาอะไรบ้างสั่งห้ามนั่งกิน 30 วัน


เมื่อเวลา 19.00 น. วันที่ 28 มิถุนายน 2564 จากการประการคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เรื่องกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ตามที่จังหวัดปทุมธานี ได้มีคำสั่งมาตรการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิค – 19) ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติไปแล้ว นั้นการจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ซึ่งรวมถึงร้านที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุมหรือสถานที่จัดนิทรรศการ โรงแรมท่าอากาศยาน สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต รถเข็น หาบเร่ แผงลอย ตลาด ตลาดนัด ตลาดน้ำ ตลาดค้าส่ง ตลาดโต้รุ่ง หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันและมีการจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้เปิดดำเนินการเฉพาะการนำกลับไปบริโภคที่อื่นเท่านั้น เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 28 มิถุนายน 2564 สั่ง ณ. วันที่ 27 มิถุนายน 2564
โดยนายนารินทร์ คุ้มแก้ว อายุ47ปี เจ้าของร้านอาหารครัวคุ้มแก้ว 29/5 ซอยคลอง6ตะวันตก3 ม.2 ต.คลองหก อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี กล่าวว่า

ตนไม่เห็นด้วยเพราะรัฐบาลประกาศใช้คำสั่งในคืนวันที่ 26 มิถุนายน ที่ผ่านมาช่วงเวลาตอนตีหนึ่งให้สถานประกอบการเกี่ยวกับร้านอาหารปิดไม่ให้นั่งกินภายในร้าน ตนทำธุรกิจร้านอาหารช่วงเวลาวันศุกร์ถึงวันอาทิตย์ต้องตุนของไว้ในระดับหนึ่งเพื่อรองรับลูกค้าในวันหยุด ที่ผ่านมาตนเจอปัญหาแพร่ระบาดมาตั้งแต่รอบที่1-3จนมาถึงรอบที่4 จากพนักงานที่เคยมีอยู่ประมาณ20คน ตอนนี้ลดพนักงานเหลือเพียง8 คน ร่วมกับตนที่ต้องมาทำอาหารแทนคนครัวเองเกือบทั้งหมดเพื่อประคองให้ร้านอยู่และเดินต่อไปได้ ตนต้องจำใจเลือกพนักงานที่อยู่ประจำที่อยู่ด้วยกันเกือบ10ปี ส่วนพนักงานพลาสไทม์ทั้งหมดนั้นต้องพักการทำงาน ส่วนของสดที่กักตุนเป็นจำนวนมากจำนวนหนึ่ง ตนอยากถามทางรัฐบาลว่ามีมาตรการเยี่ยวยาอย่างไรกับ 30 วันที่ไม่ให้นั่งกินในร้านให้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหารบ้างรัฐบาลปล่อยให้เรากู้แต่ไม่ให้เราขายอาหารแบบนั่งกิน

ส่วนทางด้านของสดที่ตนเก็บไว้นั้นเช่นปลากระพงเป็นๆต้องแช่ฟิต ส่วนพวกกบที่ตนซื้อมาจากชาวบ้านที่ขายในรัฐวิสาหกิจชุมชนประมาณ10กว่ากิโลนั้น ตนคงต้องนำไปปล่อยกลับไปสู่ธรรมชาติ ของที่แช่ฟิตทั้งหมดนั้นคุณภาพนั้นต้องด้อยกว่าของสดแน่แต่ตนก็ไม่รู้จะทำอย่างไร จะทิ้งก็ไม่ได้สุดท้ายอาจต้องให้พนักงานกินนั้นก็ไม่เป็นไรแต่ทั้งหมดนั้นคือค่าใช้จ่ายและรายได้ต้องหายไปโดยที่น่าเสียดายที่สูญเสียไป ตนอยากถามรัฐว่าการแพร่ระบาดอีกครั้งก็จะปิดร้านอาหาร รัฐมีมาตรการที่ดีกว่านี้หรือไม่ ตนเห็นรัฐบาลแจ้งว่าวัคซีนจะเข้ามาในประเทศไทยจะมีจำนวนเท่าไหนก็ไม่ทราบตนก็ยังไม่เห็นมาอย่างที่กล่าวไว้เลย รัฐบาลควรเร่งนำวัคซีนที่มีคุณภาพเข้ามาฉีดให้ประชาชนในพื้นที่ที่มีการแพร่บาดต่างๆในกรุงเทพและปริมณฑลที่มีความเสี่ยงจะได้ลดการแพร่ระบาดไม่ใช่ว่าปิดพื้นที่ระบาดแล้วปล่อยให้ประชาชนเดินทางกลับต่างจังหวัดเพราะอาจจะไประบาดในต่างจังหวัดอย่างอีก


ด้าน น.ส.วรรณพร แจ่มผล อายุ 36 ปี อาชีพพนักงานเสริมสวย กล่าวว่า ตนทำงานในร้านเสริมสวยในห้างสรรพสินค้ากว่าจะเลิกงานนั้นก็เวลา2ทุ่มแล้ว จะหาวัตถุดิบมาปรุงอาหารก็ยากระบากเพราะตลาดที่ขายของสดได้ปิดแล้ว ตนอยากให้มีการนั่งรับประทานอาหารที่ร้านได้เช่นเดิมเพราะแต่ละร้านอาหารนั้นเข้ามีมาตรการควบคุมอยู่แล้วทุกร้าน ตนอยากฝากถึงรัฐบาลว่าควรจะเร่งดำเนินการเรื่องการเร่งรัดวัคซีนที่มีคุณภาพมาฉีดให้ประชาชนมากกว่าการสั่งไม่ให้นั่งรับประทานเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด