พ่อเมืองปากน้ำ ตรวจดูการเตรียมความพร้อมจัดตั้งศูนย์พักคอยผู้ป่วยโควิด 19
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 23 กรกฎาคม 2564 นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ พร้อมด้วยนายณัชวันก์ อัลภาชน์ เตชะเสน นายอำเภอเมืองสมุทรปราการ ได้เดินทางมาตรวจความพร้อมการจัดตั้งศูนย์พักคอยผู้ป่วยโควิด 19 สีเขียวอาการไม่รุนแรง ที่ตั้งขึ้นภายในอาคารศูนย์การศึกษานอกสถานที่ตำบลบางด้วน ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดบางด้วนนอก หมู่ 6 ต.บางด้วน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ซึ่งทางอำเภอเมืองสมุทรปราการและ อบต.บางด้วน ได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อรองรับและดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ที่อาการไม่รุนแรงหรือเป็นจุดพักรักษาตัวคอยเตียงในโรงพยาบาลภาครัฐและโรงพยาบาลสนาม เพื่อเป็นการตัดตอนการแพร่ระบาดในครอบครัว ซึ่งเป็นอาคาร 2 ชั้นสามารถรองรับเตียงผู้ป่วยได้ 40 เตียง ซึ่งอยู่ระหว่างติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ตรวจเช็ค คีย์ข้อมูลของผู้ป่วยและปรับปรุงสถานที่บางส่วนซึ่งคาดว่าน่าจะสามารถเปิดงานได้ภายในสัปดาห์หน้า
นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ได้เปิดเผยว่า ในที่ประชุมโรคติดต่อของจังหวัดสมุทรปราการ ได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้งศูนย์พักคอยทุกพื้นที่กระจายให้ทั่วจังหวัด เพราะเราเห็นว่ายังมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่รอเตียงรักษา เราจึงมาสร้างศูนย์พักคอยหรือ ซีไอ คอมเมอรีตี้ ไฮโซเลชั่นโดยจะมีเตียงรองรับผู้ป่วยที่มีอาการเบื้องต้น เนื่องจากการที่ให้กักตัวรอที่บ้านนั้นมันเป็นเรื่องยากที่จะแยกกันระหว่างผู้ป่วยกับผู้ไม่ป่วย เนื่องบางบ้านสถานที่ไม่พร้อมต้องพักอาศัยร่วมกัน ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อให้กับคนในครอบครัว การที่เอาผู้ติดเชื้อออกมาจากบ้านมาอยู่ศูนย์พักคอย มันก็จะมีข้อดีที่ว่าเชื้อมันก็ไม่แพร่สู่คนในครอบครัวและไม่แพร่กระจายลงสู่ชุมชน แต่พอมาอยู่ที่ศูนย์พักคอย ซึ่งมี รพ.สต. เป็นศูนย์กลางในการคอยมอนิเตอร์โรคของผู้ป่วยแต่ละราย ว่ามีความเจ็บในโรคโควิดในระดับไหนก่อนที่จะไปมอนิเตอร์ในเรื่องของเตียง ซึ่งมีการเชื่อมโยงกับสาธารณะสุขอำเภอและเชื่อมโยงโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในจังหวัดและโรงพยาบาลสนามขณะที่เตียงว่างก็จะมีการส่งต่อการรักษา อันนี้ก็จะทำให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบว่า ทั้งทางราชการและชุมชนไม่ได้ทอดทิ้งเขา และมีความอบอุ่นใจที่ได้อยู่กับหมอและบุคลากรทางการแพทย์
นายณัชวันก์ อัลภาชน์ เตชะเสน นายอำเภอเมืองสมุทรปราการ กล่าวว่า หลักเกณฑ์ของการที่จะนำตัวผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเขียวคือกลุ่มที่ไม่มีอาการมาเข้าพักรักษาตัวพักคอยอยู่ที่คอมเมรีตี้ ไฮโซเลชั่น หรือซี่ไอประจำท้องถิ่นชุมชนใด ๆ นั้นมีหลักการเดียวกันทั่วประเทศคือ 1, ผู้ป่วยคนนั้นต้องถูกประเมิลวินิฉัยโดยแพทย์ ว่าเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการน้อยไม่มีอาการป่วยรุนแรงหรือเป็นผู้ป่วยในกลุ่มสีเขียว / 2,ต้องเป็นคนที่อายุไม่เกิน 60 ปี ไม่ใช่คนชรา / 3, ต้องไม่เป็นโรคอ้วนซึ่งเป็นกลุ่มที่อันตรายมาก ๆ และไมอยู่ในกลุ่มโรคร้ายแรง 7 โรคเช่น โรคหลอดเลือด โรคหัวใจ เป็นต้น และที่สำคัญเลยก็คือตัวเขาเองต้องการแยกออกจากคนในบ้าน ที่ไม่สะดวกต่อการกักตัวรอเตียงผู้ป่วยเพื่อเป็นการกำจัดการแพร่กระจายของเชื้อ เพราะฉะนั้น คอมเมรีตี้ ไฮโซเลชั่น หรือซีไอ ในชุมชนมีความสำคัญมาก ๆ เมื่อแพทย์วินิฉัยลงความเห็นว่าเขาคือกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มนี้สีเขียวที่จะส่งเข้าซีอาร์ ก็ให้ลงทะเบียนโดยคุณหมอของ รพ.สต.บุคลากรทางการแพทย์ของอยามัยชุมชนก่อน หลังจากลงทะเบียนมีฐานข้อมูลของสาธารณสุขจะยึดโยงสอดคล้อง ส่งมาทั้งยาประจำตัวข้าวของเครื่องใช้ประจำตัวทุกอย่าง ทาง อบต. หรือเทศบาลในตำบลนั้น ๆ มีรถประจำที่จะขนย้ายผู้ป่วยติดเชื้ออยู่แล้ว เมื่อรับการลงทะเบียนแจ้งให้ส่งเข้าซีไอได้ ก็จะส่งมาเข้ามาเจ้าหน้าที่อนามัยที่ได้รับยาประจำตัวมาพร้อมอาหารมื้อแรกส่งตัวเข้ามานอนที่ศูนย์พักคอย ที่สำคัญที่ศูนย์พักคอยมีคุณหมอที่คอยมอนิเตอร์ให้การรักษาทางไกลผ่านทางมือถือและวีดีโอคอลสอบถามอาการของผู้ป่วยและประเมิลว่าอยู่ในระยะไหนแล้วต้องรักษาแบบไหน และที่สำคัญคอมเมรีตี้ ไฮโซเลชั่น หรือศูนย์พักคอยยังช่วยลดปริมาณผู้ป่วยสีเขียวในโรงพยาบาลของรัฐ ซึ่งจริง ๆ แล้วในเวลานี้เราควรจะสงวนรักษาเตียงในโรงพยาบาลไว้ในผู้ป่วยสีแดงและผู้ป่วยสีเหลืองเท่านั้น
********************
สุรศักดิ์ คงสินธ์ / ธนวัต นาคขำ จ.สมุทรปราการ 089-6955389