ร้อยเอ็ด บูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน ระดมกำลังป้องกันและแก้ไขปัญหาอุกทภัยในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
(วันที่ 5 ตุลาคม 2564) นายทวีสิทธิ์ มนตรีชน นายกเทศมนตรีตำบลดงสิงห์ พร้อมทีมบริหาร สมาชิกสภาเทศบาล หน่วยป้องกันสาธารณภัยดำบลดงสิงห์ ลงพื้นที่บ้านดินแดง ม.3 ต.ดงสิงห์ อ.จังหาร สำรวจปริมาณน้ำชีที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเพื่อวางแผนเตรียมความพร้อม หากเกิดเหตุน้ำท่วม จะได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนด้านต่าง ๆ ได้ทันที
จังหวัดร้อยเอ็ด นโยบายพื้นที่เสี่ยง 8 อำเภอ ที่มีลำน้ำชีไหลผ่าน ให้แก่นายอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย อำเภอจังหาร อำเภอเชียงขวัญ อำเภอธวัชบุรี อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอเสลภูมิ อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอพนมไพร และอำเภออาสามารถ ในการติดตามสถานการณ์น้ำ การป้องกันและแก้ไขปัญหาสถานการณ์อุทกภัย เพื่อเฝ้าระวังเตรียมความพร้อมรับมือมวลน้ำที่ไหลผ่านลำช้ำชีมาจากจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งปัจจุบันถึงพื้นที่จังหวัดขอนแก่นแล้ว ทุกหน่วยงานจะต้องสนับสนุนช่วยเหลือ ระดมสรรพกำลังต่างๆ และติดต่อสื่อสารกันตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยง เก็บสิ่งของขึ้นที่สูง และเคลื่อนย้ายกลุ่มเปราะบาง ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ออกไปอยู่ในที่ปลอดภัย และจัดเตรียมศูนย์พักพิง เพื่อช่วยเหลือประชาชน
ด้านสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดร้อยเอ็ด รายงานอากาศ ปริมาณน้ำฝน ปริมาณน้ำในลำน้ำ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ และค่าคุณภาพอากาศ ประจำวันอังคารที่ 5 ตุลาคม 2564 สรุปว่า ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 5–7 ตุลาคม 2564 ร่องมรสุมจะพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้มีแนวโน้ม จะทวีกำลังแรงขึ้นและเคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะไหหลำ จึงแจ้งเตือนให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย ระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนในช่วงวันที่ 7-10 ตุลาคม 2564 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น
1. ปริมาณน้ำในเขื่อนที่มีผลกระทบต่อพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด (ข้อมูล ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2564) เขื่อนอุบลรัตน์ ความจุ 2,431.30 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำ 2,092.85 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 86.08 % สามารถรับน้ำได้อีก 388.45 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนลำปาว ความจุ 1,980 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำ 988.00 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 49.90 % ปริมาณน้ำใช้การได้ 888.00 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 47.23 % สามารถรับน้ำได้อีก 992.00 ล้าน ลบ.ม.
2. ปริมาณน้ำในลำน้ำชี
สถานี E 66 A น้ำชี บ.ม่วงลาด ต.ม่วงลาด อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด ต่ำกว่าตลิ่ง 1.25 ม. แนวโน้ม เพิ่มขึ้น อยู่ในเกณฑ์ วิกฤต
สถานี E 95 น้ำชี บ.วังเจริญ ต.พลับพลา อ.เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด ต่ำกว่าตลิ่ง 2.65 ม. แนวโน้ม ลดลง อยู่ในเกณฑ์ ปกติ
สถานี E 18 น้ำชี บ.ท่าแสบง ต.มะบ้า อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด ต่ำกว่าตลิ่ง 2.17 ม แนวโน้ม ลดลง อยู่ในเกณฑ์ ปกติ
3. ปริมาณน้ำในลำน้ำยัง
สถานี E 70 น้ำยัง บ.กุดก่วง ต.วังสามัคคี อ. โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด ต่ำกว่าตลิ่ง 5.97 ม. แนวโน้ม ลดลง อยู่ในเกณฑ์ ปกติ
สถานี E 92 น้ำยัง บ.ท่างาม ต.วังหลวง อ. เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ต่ำกว่าตลิ่ง 1.62 ม. แนวโน้ม เพิ่มขึ้น อยู่ในเกณฑ์ ปกติ
4. ปริมาณน้ำในลำน้ำมูล ระดับน้ำ ณ สถานีต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด มีดังนี้
สถานี M6A อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ สูงกว่าตลิ่ง 0.46 ม. แนวโน้ม เพิ่มขึ้น อยู่ในเกณฑ์ล้นที่ลุ่มต่ำ
สถานี M 4 อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ สูงกว่าตลิ่ง 0.54 ม. แนวโน้ม เพิ่มขึ้น อยู่ในเกณฑ์ล้นที่ลุ่มต่ำ
5. ปริมาณน้ำในลำน้ำเสียวใหญ่
สถานี M 95 ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ ต่ำกว่าตลิ่ง 1.88 ม. แนวโน้ม ลดลง อยู่ในเกณฑ์ ปกติ
6. ค่าคุณภาพอากาศในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
– ดัชนีคุณภาพอากาศ AQI เท่ากับ 23 อยู่ในเกณฑ์ คุณภาพดีมาก
– ค่าฝุ่นละออง PM2.5 เท่ากับ 23 ug/m3 อยู่ในเกณฑ์ คุณภาพดีมาก
ข้อแนะนำด้านสุขภาพ ประชาชนทั่วไป: สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติกลุ่มเสี่ยง (เด็ก คนชรา
หญิงมีครรภ์ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวในกลุ่มโรคทางเดินหายใจ และโรคหัวใจและหลอดเลือด) ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง