ข้าราชการไทยข่าวพาดหัวท่องเที่ยว

ตราด – คลองใหญ่ จัดโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารไทยของชุมชน ในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรองชายฝั่งทะเลตะวันออก

 

ตราด/คลองใหญ่ จัดโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารไทยของชุมชน ในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรองชายฝั่งทะเลตะวันออก ระยอง-จันทบุรี และตราด บนรากฐานคุณค่าและภูมิปัญญาสู่ความยั่งยืนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ของวันที่ 3 ส.ค.2563 ที่ห้องประชุมทะเลภูรีสอร์ท อ.คลองใหญ่ จ.ตราด โดยมี ดร.พรรณี สวนเพลง รองศาสตราจารย์ คณะวิทยศาสตร์และเทศโนโลยี มหาวิทยาลัยดุสิต กทม. เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารไทยของชุมชนฯพร้อมด้วยคณะมหาวิทยาลัยดุสิต เข้าร่วมโครงการร่วมกับในพื้นที่ชุมชนการท่องเที่ยวอําเภอคลองใหญ่ นายอาภากร เจริญผล นายก อบต.คลองใหญ่ นางวิยะดา ซวง อดีตนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตราด คณะครูอาจารย์และนักศึกษาและชุมชนในพื้นที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน


ปัจจุบันพัฒนาการของอุตสาหกรรมและบริการด้านการท่องเที่ยว มีทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โดยมีความหลากหลายและมีการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมและบริการด้านการท่องเที่ยวต้องมีการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยนักท่องเที่ยวในปัจจุบันมีความต้องการที่จะได้เรียนรู้ และสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ ของเอกลักษณ์วัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นที่ไปเยือน รวมไปถึง “ อาหาร ” ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ชุมชนต้องมีเชื่อมโยงระหว่างขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และทิศทางการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ไว้ด้วยกัน นับว่าเป็นอีกทางเลือกของการท่องเที่ยวในพื้นที่ของอําเภอคลองใหญ่ เช่น ตําบลไม้รูด และจังหวัดเกาะกง และเวียดนาม ทั้งนี้แหล่งท่องเที่ยวต่างๆในพื้นที่จะต้องมีเอกลักษณ์ล้วนนำอาหารท้องถิ่นมาเป็นเครื่องดึงดูดนักท่องเที่ยว เนื่องจากอาหารท้องถิ่นนั้นมีรสชาติอร่อย เป็นเอกลักษณ์ สามารถบอกเล่าเรื่องราวการดำเนินชีวิตที่สืบทอดกันมาได้ จึงพร้อมจะร่วมมือกับ อพท. ในการท่องเที่ยวต่อไป ดร.พรรณี สวนเพลง รองศาสตราจารย์ ยังเปิดเผยว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ( Gastronomy Tourism ) และการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ จึงได้จัดโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประวัติศาสตร์การท่องเที่ยว และวัฒนธรรมอาหารไทยของชุมชนขึ้นมา เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานบนรากฐานคุณค่าและภูมิปัญญาสู่ความยั่งยืนจึงได้มีการประชุมแลกเปลี่ยนแต่ละหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ชุมชนของอาหารไทยจากระดับชุมชน และสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงอาหารอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมพัฒนาการท่องเที่ยว และกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับชุมชนอย่างยั่งยืน โดยได้เรียกตัวแทนจากชุมชนในพื้นที่เข้าร่วมโครงการฯได้ตั้งแต่ ระยอง-จันทบุรี และตราด
เพื่อการท่องเที่ยว มีแผนพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีจุดมุ่งหมายในการวางรากฐานและแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอย่างครอบคลุมทุกรูปแบบเพื่อชุมชนในช่วงยุกโควิคเพื่อเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน การท่องเที่ยวทางอาหาร นับเป็นสิ่งใหม่ ที่กระทรวงฯ ให้ความสำคัญ และเตรียมการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ” ดร.พรรณีกล่าว
ทั้งนี้ ชุมชนท้องถิ่นที่รับการคัดเลือกจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. ต้องเป็นร้านอาหาร ที่อยู่ในพื้นที่ชุมชนนั้นๆ โดยไม่ได้มีการสร้างใหม่ อีกทั้งมีการบริหารจัดการโดยชุมชนอย่างแท้จริง และไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเพียงวิสาหกิจชุมชนเพียงเท่านั้น

2. เป็นชุมชนที่มีวัตถุดิบท้องถิ่น อันเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ตามวิถี วัฒนธรรมของชุมชน และวัตถุดิบที่สามารถเพาะปลูก หรือจัดหาได้จากในท้องถิ่นนั้นๆ และต้องไม่เป็นวัตถุดิบที่นำเข้าจากพื้นที่อื่น หรือต่างประเทศ

3. มีความพร้อมในเรื่องสาธารณูปโภค อาทิ น้ำ ไฟ สถานประกอบการ เป็นต้น

4. มีทัศนคติพร้อมที่จะเรียนรู้สร้างสรรค์ และต้อนรับนักท่องเที่ยว รวมถึงกำลังคนในการให้บริการ บริหารจัดการ ดำเนินงานได้อย่างถาวร และยั่งยืน

5. ชุมชนที่เลือกจะต้องมีที่ตั้ง หรือมีการเชื่อมโยง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหารในท้องถิ่นนั้นๆ และต้องมีแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่อไป

ภาพ/ข่าว วิเชียร ม่วงสี ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.ตราด