ปทุมธานีแถลงผลการดำเนินงานมูลนิธิปวีณาและสถิติรับเรื่องราวร้องทุกข์ประจำปี2564
เมื่อเวลา 15.30 น.วันที่ 14 ธ.ค.64 ที่มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี แถลงผลการดำเนินงาน มูลนิธิปวีณาฯ และสถิติรับเรื่องราวร้องทุกข์มูลนิธิปวีณาฯ ประจำปี 2564 ตั้งแต่ 4 ม.ค – 9 ธ.ค. 64 ซึ่งปี 2564 รับเรื่องราวร้องทุกข์ จำนวน 11,267 ราย แยกออกเป็น 13 ปัญหาชาติ 1. ข่มขืน / อนาจาร 741 ราย 2. ทารุณกรรม / ทำร้ายร่างกาย 994 ราย 3. ค้ามนุษย์ / ค้าประเวณี 96 ราย 4. ยาเสพติด 265 ราย 5. คนหาย 70 ราย 6. แรงงานไม่เป็นธรรม 32 ราย 7. ปัญหาครอบครัว 1,510 ราย 8. ขอความเป็นธรรม 744 ราย 9. แชท / อินเตอร์เน็ต 206 ราย 10. ขอความอนุเคราะห์ 832 ราย 11. ปัญหาสุขภาพ บริการสาธารณสุข 61 ราย 12. ปัญหาอื่นๆ ทั่วไป 478 ราย 13. ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ Covid 19 5,669 ราย รวม 11,267 ราย นางปวีณา กล่าวว่า ปีใหม่ 2565 มูลนิธิปวีณาฯ ขอเชิญขวน ภาครัฐ เอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน ร่วมกัน
รณรงค์หามาตราการป้องกัน ความรุนแรงในเด็กสตรี ทุกรูปแบบให้เป็นรูปธรรม ซึ่งนับวันจะเพิ่มความรุนแรงอย่างน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะคดีข่มขืน ผู้ถูกกระทำ ที่ตกเป็นเหยื่อ จะอายุน้อยลงไปทุกที จะเห็นได้จากสถิติมูลนิธิปวีณาฯ ปี 2564 อย่างชัดเจน มูลนิธิปวีณาฯรับเรื่องราวร้องทุกข์ช่วยเหลือ คดีข่มขืน 741 ราย สำหรับปัญหายาเสพติดที่ทวีความรุนแรง ขอเสนอ โครงการ มอบชีวิตใหม่ผู้หลงผิดคืนสู่สังคม 1.เข้ารับการรักษาระยะเวลาบำบัดฟื้นฟู 2 ปี ฝึกงาน ,สร้างงาน ,สร้างอาชีพ ,สร้างรายได้ 2.ฟื้นฟูสภาพจิต 6 เดือน 3.ฝึกอาชีพ 6 เดือน 4.ฝึกงาน 12 เดือน 5.สร้างงาน – สร้างอาชีพ – สร้างรายได้ 12 เดือน 6.กลับคืนสู่สังคม มีงาน – มีอาชีพ – มีรายได้ – ที่สุจริต รวม 24 เดือน กระทรวงรับผิดชอบ คือ กระทรวงมหาดไทย – กระทรวงยุติธรรม – สาธารณสุข – กระทรวง พม. – กระทรวงศึกษาธิการ – กระทรวงแรงงาน 1.ผู้เสพยาเสพติด คือ ผู้ขายยาเสพติด หรือเราจะเรียกว่า
Deieet ก็จะหายไป รัฐสามารถตัดวงจรยุติการขายยาเสพติดได้ทันที 2.ปัญหาถูกทำร้ายร่างกายเด็ก / ผู้สูงอายุ จะหมดไปทันทีเช่นกัน บ้านเมือง ชุมชน ครอบครัว อยู่อย่างสงบสุข ดังนั้น รัฐบาล วางแผนตัดตอนวงจรอุบาศย์ ผู้ชขาย และผู้เสพยาเสพติดด้วยการบำบัด โครงการ มอบชีวิตใหม่ผู้หลงผิดคืนสู่สังคม 2 ปี ครบวงจรอย่างถาวร (ไม่ใช่ 45 วัน แล้วปล่อยกลับบ้าน)