สัมผัสแทนสายตา สู่การพัฒนาอย่างเท่าเทียม โครงการยกระดับศักยภาพผู้พิการทางการเห็นด้วยสื่อภาพนูน
เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565 นายประสงค์ สุบรรณพงษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ลงนามบันทึกความร่วมมือกับ คณะนักศึกษาหลักสูตรผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย ปนป.11 กลุ่มเสือ สถาบันพระปกเกล้า โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันให้ความช่วยเหลือและแบ่งปันทรัพยากรเพื่อสนับสนุนในการจัดการอบรมและประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาผู้สอนในการผลิตสื่อภาพนูน (Tactile Taxture) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและสื่อการสอน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนซึ่งเป็นผู้พิการทางการเห็น สามารถมองเห็นภาพและเข้าใจเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้นในประเทศไทย ทำให้เห็นว่า ผู้พิการทางการเห็นได้รับผลกระทบอย่างมากและขาดโอกาสทางการประกอบอาชีพและการรับการศึกษาในช่วงระยะเวลาที่ภาครัฐและเอกชนต้องกำหนดนโยบายการเว้นระยะห่างทางสังคม และการนโยบายการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยทั้งสองฝ่ายบันทึกความร่วมมือเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของความร่วมมือภายใต้ความเข้าใจนี้ และทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันจัดทำ “โครงการนำร่องยกระดับศักยภาพผู้พิการทางการเห็นด้วยสื่อภาพนูน” ในวันที่ 21-23 มกราคม 2565 ณ โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ
มีคุณครูเข้าร่วมรับการอบรมทั้งหมดจำนวน 12 แห่ง ดังนี้
1 โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด ขอนแก่น
2 โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด นครราชสีมา
3 โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดร้อยเอ็ด
4 โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดร้อยเอ็ด
5 โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อนลพบุรี
6 โรงเรียนการศึกษาเด็กตาบอดพิการซ้ำซ้อนชะอำ
7 โรงเรียนธรรทิกวิทยา
8 โรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา
9 โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ
10 โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ
11 โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
12 โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่
ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากหน่วยงาน นักวิชาการและบุคคลผู้มีชื่อเสียงร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนาม ดังรายชื่อต่อไปนี้
-คุณต่อพงศ์ เสลานนท์
อดีตนายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย
-คุณขรรค์ ประจวบเหมาะ ประธานมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์
-นางกรกนก ศิริวงษ์
ผู้อำนวยการมูลนิธิธรรมิกชน
-รองผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ
-ดร.รัฐศาสตร์ กรสูต
รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล(DEPA)
-รศ.ดร.ธัญลักษณ์ วีระสมบัติ
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-นายศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์
ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า
-นายกิตติพงษ์ เอื้อพิพัฒนากูล
ที่ปรึกษามูลนิธิพัฒนาศักยภาพคนพิการ
ภายใต้การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคแพร่ระบาดโควิด-19 ของภาครัฐอย่างเคร่งครัด เช่น การขอผลการเข้ารับการฉีดวัคซีน การตรวจคัดกรองหาเชื้อทาง ATK การสวมใส่หน้ากากอนามัย และ การเว้นระยะห่าง ตลอดการจัดการอบรมทั้ง 3 วัน
โชติกา ม่วงใจรักษ์ ผู้สื่อข่าว กทม.