ข่าวทั่วไปข่าวพาดหัวตรวจเยี่ยม

กระทรวงศึกษาธิการ คุณหญิงกัลยา ส่งคณะทำงานลงพื้นที่ ขยายผลโครงการบริหารจัดการน้ำฯ สู่ผู้นำชุมชนภาคอีสาน

กระทรวงศึกษาธิการ
คุณหญิงกัลยา ส่งคณะทำงานลงพื้นที่ ขยายผลโครงการบริหารจัดการน้ำฯ สู่ผู้นำชุมชนภาคอีสาน
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งตาลอง ตำบลโป่งตาลอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ส่งคณะทำงานโครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ นำโดยนางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย คณะที่ปรึกษาและโฆษกประจำตัวรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) นายณัฏฐ์ พงศ์พูนสุขศรี คณะกรรมการบริหาร โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ นายศุภวิทย์ ภาษิตนิรันดร์ คณะกรรมการและผู้จัดการโครงการฯ ดร.ปริเวท วรรณโกวิท หัวหน้าศูนย์วิศวกรรมสารสนเทศภูมิศาสตร์และนวัตกรรม (KGEO) และนายเมธวิน อังคทะวานิช รองโฆษกประจำตัวรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช)


นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย โฆษกประจำตัวรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) กล่าวว่า“คุณหญิงกัลยา ย้ำเสมอว่าการเกษตรเป็นหัวใจของแผ่นดิน และน้ำนับเป็นต้นทางแห่งการเกษตรและชีวิตของคนไทย ไม่ว่าบ้านเมืองเราจะเผชิญอยู่ในวิกฤตและอยู่ในยามปกติสุขก็ตาม อีกทั้งน้ำยังเป็นสายธารแห่งความยั่งยืนของชีวิต เราจึงต้องให้องค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำแก่ชุมชน เมื่อชุมชนมีน้ำ ก็จะอยู่ดีกินดี ประเทศชาติก็จะเข้มแข็งและเติบโตยั่งยืน”


โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชม ตามแนวพระราชดำริ โดย ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการขับเคลื่อนนโยบายมาอย่างต่อเนื่องกว่า 2 ปี โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ สำหรับอุปโภค บริโภคและเพื่อการเกษตร ซึ่งที่ผ่านมาคณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการจัดการน้ำ ได้ลงพื้นที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี (วษท.) ในหลายจังหวัดเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้รวมถึงร่วมบริหารจัดการน้ำในพื้นที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีทั้งนี้เพื่อให้การถ่ายทอดองค์ความรู้สามารถขยายผลไปสู่ชุมชน คุณหญิงกัลยา จึงเห็นว่าควรที่จะมีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้พิเศษแก่ชุมชนในพื้นที่ภาคอีสาน โดยได้จัดการบรรยายให้ความรู้พร้อมทั้งไปดูสถานที่จริงของตัวอย่างบ่อเปิด ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลโป่งตาลอง ในพื้นที่บนเขาใหญ่ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในพื้นที่ภาคอีสานที่เคยสำรวจ เนื่องจากเป็นพื้นที่สูง สามารถใช้พัฒนาเป็นต้นแบบของโครงการได้ จึงต้องการทำการศึกษาวิธีการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสม พร้อมทั้งให้ความรู้กับผู้นำชุมชนที่อาศัยในพื้นที่โดยรอบ ตำบลโป่งตาลอง อำเภอปากช่อง เพื่อเป็นประโยชน์ ซึ่งมีผู้นำชุมชนให้ความสนใจเข้าร่วมกว่า 50 คน
สายันต์ โนนวังชัย/รายงาน