ข่าวทั่วไปข่าวพาดหัวรณรงค์

จังหวัดร้อยเอ็ด/… ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน”โหวด”)

จังหวัดร้อยเอ็ด/…
ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน”โหวด”) ผู้คิดค้นพัฒนาโหวดติดขี้สูด ดร.ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ นำวง โหวดเสียงทอง มาบรรเลงโหวด หน้าไฟ ส่งดวงวิญญาณ และใว้อาลัยกับสมาชิก ผู้ร่วมก่อตั้งวงโหวด ที่…อำเภอหนองพอก
เมื่อเวลา ๑๔.๐๐ นวันจันทร์ที่ ๑๖ พ.ค.๒๕๖๕ ณ.เมรุวัด แสงอรุณ ตำบลรอบเมือง อ.หนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ดร.ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ ผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินมรดกอีสาน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน”โหวด”) ผู้เชี่ยวชาญการสอนดนตรีพื้นบ้าน วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ดผู้เชี่ยวชาญดนตรีพื้นบ้าน(โหวด) มหาวิทยาลัยมหาสารคามผู้ที่ทำให้โหวดกลายเป็นเครื่องดนตรีที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด นำวง โหวดเสียงทอง มาบรรเลงโหวด หน้าไฟ ส่งดวงวิญญาณ และใว้อาลัยกับสมาชิก ผู้ร่วมก่อตั้งวงเมื่อ พ.ศ.251ุุุ6 ที่เสียชีวิตด้วยวัยชราภาพ


ดร.ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ เล่าว่า สมัยเด็ก ย้อนหลังไปเมื่อ 60 กว่าปี ฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปี จะนิยมนำไม้ไผ่เฮี่่ยมา “ แงวโหวด” ตามท้องทุ่งนา เหมื่อนสนู่ว่าว ตนเองชอบไปนั่งดู”นายบวรณ์ ศรีวะรมณ์ ( ผู้วายชนม์ )รุ่นพี่แห่งท้องทุ่งนา “ แงวโหวด”เสียงไพเราะจับใจ จึงเกิดความคิดพัฒนาโหวดมาเป็นดนตรีชนิดเป่าโดยนำ”ไผ่เฮี่่ย”ตามท้องทุ่งนามาติด”ขี้สูด”ใส่โน้ตโด-เร-มี “ , โซ, ลา, โด, เร, มี, โซ, ลา, โด, เร, มี, โซ, ลา ” เป็นเครื่องดนตรีที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด โหวดเครื่องเป่าที่ไม่มีลิ้น ลักษณะ เป็นกระบอกไม้ไผ่นำมามัดเรียงกันเป็นแพเดียวกัน รอบแกนเป็นวงกลม เสียงมีความแตกต่างกันตามความสั้นยาวของ กระบอกไม้ ถ้ากระบอกไม้สั้นเสียงสูง กระบอกไม้ยาวเสียงจะต่ำ
สุเทพ ลอยแก้ว/รายงาน