ข่าวพาดหัวความเชื่อประเพณีโบราณพุทธศาสนา

เชียงราย – ชาวบ้านแห่ร่วมงานพิธีจำลองอัญเชิญพระเจ้าทองทิพย์ ขึ้นจากแม่น้ำลาวให้ชาวบ้านสรงน้ำเนื่องในวันสงกรานต์

เชียงราย – ชาวบ้านแห่ร่วมงานพิธีจำลองอัญเชิญพระเจ้าทองทิพย์ ขึ้นจากแม่น้ำลาวให้ชาวบ้านสรงน้ำเนื่องในวันสงกรานต์

เมื่อ 09.30น. วันที่ 13 เมษายน 2566 ที่วัดพระเจ้าทองทิพย์ ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่สวย จังหวัดเชียงราย ว่าที่ร้อยตรี พรชัย ใจแปง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีถ้อย ร่วมกับ วัดพระเจ้าทองทิพย์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านศรีถ้อย ร่วมกันจัดงานจำลองการเสด็จของพระเจ้าไชยเชษฐา โดยมีการจำลองการเสด็จทางชลมารคทางแม่น้ำลาว ไปครองเมืองเชียงใหม่ และอัญเชิญ พระเจ้าทองทิพย์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เก่าแก่ของเมืองล้านนา ขึ้นมาจากแม่น้ำลาว เพื่อให้ชาวบ้านและนักท่องเที่ยว ได้มากราบไหว้ขอพรและสรงน้ำพระในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2566 ณ ลานหน้าวัดพระเจ้าทองทิพย์ ริมแม่น้ำลาว ม.10 ต.ศรีถ้อย อ.แม่สรวย โดยในงานมี ดร.ยงยุทธ สาระสมบัติ สมาชิกวุฒิสภา อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานดังกล่าว


โดยพิธีมีการอัญเชิญพระเจ้าทองทิพย์ขึ้นมาจากแม่น้ำลาวก่อนจะเดินแห่ขึ้นมาประดิษฐาน ให้ประชาชนได้สรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์ และมีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในเขตตำบลศรีถ้อย มีการจัดเลี้ยงอาหารให้กับผู้สูงอายุ และผู้มาร่วมงาน มีการมอบรางวัลและเกียรติบัตรให้กับผู้สูงอายุ

และมีการประกวดการร้องเพลงจากผู้สูงอายุ และ มีกิจกรรมกีฬาโบราณ ต่างๆที่หาดูยาก อาทิเช่น แข่งชกมวยทะเล , แข่งขันการปีนเสาน้ำมัน

ภายในงานมีประชาชน พาลูกหลานมาร่วมงาน กันจำนวนมาก ซึ่งในบริเวณแม่น้ำลาว มีเด็กๆ ลงไปเล่นน้ำ กันอย่างสนุกสนาน ทำให้บรรยากาศในงานเป็นไปอย่างครึกครื้น

โดย ว่าที่ร้อยตรี พรชัย ใจแปง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีถ้อย ได้กล่าวว่าตำบลศรีถ้อย มีสถานที่ท่องเที่ยวอยู่มากมาย อย่างเช่นวัดพระเจ้าทองทิพย์ ที่มีประวัติยาวนานและเก่าแก่ น้ำตกห้วยหก น้ำตกป่าซ้อ
ซึ่งตนจึงอยากประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวเชียงราย และ นักท่องเที่ยวต่างพื้นที่ หากเดินทางมาจังหวัดเชียงราย ขอให้ลองแวะเข้ามาเที่ยว ซึ่งปกติทาง อบต. ก็มีการจัดงาน ประเพณีสงกรานต์ และ ประเพณีลอยกระทง ทุกปี และในช่วงน่าร้อน ก็จะมีประชาชนมาเล่นน้ำเพื่อคลายร้อน ในบริเวณ ริมแม่น้ำลาว ด้านหน้าวัดพระเจ้าทองทิพย์ อยู่เป็นประจำ

ประวัติ พระเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ เดิมอยู่กรุงศรีสันตนาคนหุต
(หลวงพระบาง)ประเทศลาว มีอายุประมาณพันปีเศษ
แล้ว พระเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่และ
เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ดังปารากฏว่า เมื่อ
พ.ศ. 2063 พระเจ้าโพธิสารซึ่งเป็นโอรสของ
พระเจ้าวิชุลราชขึ้นครองนครเชียงทอง (พระบาง)
พระเจ้าโพธิสารขึ้นครองราชย์ เมื่อ อายุ 19 พรรยา
ต่อมาได้ไปขอราชธิคากษัตริย์เชียงใหม่ คือธิดาของ
สมเด็จพระเกศเกล้านามว่าพระนางยอดคำทิพย์ มา
เป็นมเหสีพระเจ้าโพธิสาร ได้ครองราชย์สมบัติ
ร่วมกัน เป็นเวลาหลายปีก็ไม่มีโอรสพระเจ้าโพธิสาร
ทรงวิตกว่าภายหน้าจะไม่มีผู้สืบราชต่อไป จึงได้ดำริ
ขึ้นว่าพระเจ้าทองทิพย์เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของ
นครเชียงทองประจํนครมาแต่โบราณกาล สามารถ
คลบันดาลให้ผู้ที่ไปขอพร สมความปรารถนาได้ดังที่
ขอ ดังนั้นในวันวิสาขบูชา พระเจ้าโพธิสารพร้อม
ด้วยพระนางยอดคำทิพย์และบริวารจึงได้นำดอกไม้
ธูปเทียนไปนมัสการพระเจ้าทองทิพย์เป็นการไปตาม
ประเพณีนิยมในวันวิสาขบูชาเมื่อนมัสการแล้วก็ขอพรตั้งสัตยาธิฐานต่อหน้าพระเจ้าทองทิพย์ขอให้พระ
นางยอดคำทิพย์มีพระโอรสด้วย ไม่ช้าพระนางยอด
คำทิพย์ ก็ทรงมีพระครรภ์เมื่อครบกำหนดก็ประสูติ
เป็นพระโอรส ทรงพระนามว่า” ไชยเชษฐากุมาร ”
เมื่อพระไชยเชษฐาเจริญวัยขึ้น อายุ 14 พรรษา
พระอัยกาธิบดี คือพระเมืองเกศเกล้ากษัตริย์ผู้ครอง
นครเชียงใหม่สวรรคต และไม่มีโอรสเลย เหล่าเสนา
อำมาตย์ และพระสงฆ์เจ้าทั้งหลายของนครเชียงใหม่
นำโคย พระยาสามล้าน และพระยาเชียงแสน พร้อม
กันมาทูลขอ พระเจ้าไชยเชษฐาไปครองนคร
เชียงใหม่ พระเจ้าโพธิสารก็ทรงอนุญาตให้
พระโอรสไปครองนครเชียงใหม่ตามความประสงค์
พระเจ้าโพธิสาร ได้ตกแต่งขบวนแห่และยกทัพใหญ่
ไปส่งพระโอรสด้วย ก่อนที่พระไชยเชษฐาจะเสด็จ
ไปนครเชียงใหม่ พระเจ้าโพธิสารได้บอกให้
พระโอรสนำพระเจ้าทองทิพย์ไปด้วย เพราะเสมือน
ให้กำเนิดมาเมื่อตอนไปขอให้มเหสีมีโอรสพระเจ้า
ไชยเชษฐาจึงได้นำพระเจ้าทองทิพย์ลงเรือไปด้วย
เพื่อจะนำไปยังนครเชียงใหม่ พระองค์ทรงลงเรือ
พระที่นั่งขึ้นมาตามลำน้ำโขงเข้าสู่แม่น้ำกกและ
แม่น้ำลาว ตามลำดับครั้นเรือมาถึงหน้า
วัดพระเจ้าทองทิพย์ปัจจุบันเรือพระที่นั่ง ก็มาติดอยู่ทั้งๆที่ไม่มี
สิ่งขีดขวางอะไรเลยลูกเรือพยายามจะถ่อเรือขึ้นเรือก็
ไม่ขึ้น จะถ่อเรือลงเรือก็ไม่ลง เหตุที่เป็นเช่นนั้น
(สันนิษฐานว่าเทพยคาที่ปกปักรักษาพระเจ้า
ทองทิพย์ ทรงทราบว่าที่เชียงใหม่นั้นมีปูชนียสถาน
และ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน
มากมายอยู่แล้ว) จึงใคร่ที่จะให้ พระเจ้าทองทิพย์
ประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระเจ้าทองทิพย์นี้จึงบันคาล ให้
เรือพระที่นั่งติดอยู่ที่หน้าวัดพระเจ้าทองทิพย์ปัจจุบัน
นี้เมื่อ พระเจ้าไชยเชษฐา ทรงเห็นว่า ลูกเรือพยายาม
จนสุดความสามารถแล้ว จึงสั่งให้บรรดาท้าวพระยา
เสนาอำมาตย์ นิมนต์พระเจ้าทองทิพย์ขึ้นไว้ที่ วัด
พระเจ้าทองทิพย์ปัจจุบัน และ ทรงโปรด ให้สร้าง
มณฑป ไว้เป็น ที่ประดิษฐานองค์ พระเจ้าทองทิพย์
โดยคิดว่าเมื่อไม่ได้ไว้ที่ใกล้สมดังความประสงค์แล้ว
ถ้ามีธุระไปหลวงพระบางก็ดี หรือกลับเชียงใหม่ก็ดีก็
จะแวะไปทำการสักการบูชา หรือ ถวายเครื่องทรงได้
สะดวก เมื่ออาราธนานิมนต์ พระเจ้าทองทิพย์
ประดิษฐาน ที่นั่นแล้ว ก็เสด็จไปนครเชียงใหม่ พระ
เจ้าไชยเชษฐา ครองราชย์ที่นครเชียงใหม่ได้เพียง
สองปีพระเจ้าโพธิสารก็สวรรคต เสนาอำมาตย์นครเชียงทองจึงมาทูลเชิญกลับ พระเจ้าไชยเชษฐาจึงได้
เป็นกษัตริย์ครองทั้งสองแผ่นดินปีขาล ราว พ.ศ.
2368 ครูบาขาโณ พร้อมด้วย อุบาสกสามคน คือ ท้าว
งครามแสนขวาง หมื่นขันธ์ ได้ลงกันสร้างวิหาร
เป็นที่ประดิษฐาน พระเจ้าทองทิพย์ ท่ามกลางป่านั้น
และได้บอกเล่าให้ประชาชนรู้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของ
พระเจ้าทองทิพย์ประชาชนเกิดความเลื่อมใสเคารพ
นับถือกันมาจนถือเป็นประเพณีสักการบูชาประจำปี

 


ต่อมาในปี พ.ศ. 2397 ท่าน ครูบายะ
ครูบาถา ครูบาพรหมตลอดถึงเจ้าหลวงผู้ครองเมือง
เชียงราย และพระยาไชยวงค์ผู้รักษาเมืองหนองขวาง
(อำเภอแม่สรวยปัจจุบัน) ได้เป็นประธานนำราษฎร
บูรณะวิหารเป็นที่ประดิษฐานของพระเจ้าทองทิพย์
ครั้นถึง พ.ศ. 2461 เจ้าคารัศมีและเจ้าแก้วนวรัฐ
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้ทำการสักการบูชา
พระเจ้าทองทิพย์ และมาพักแรมอยู่ ที่นั้นหลายคืน
เห็นว่าวิหารนั้นชำรุดมากจึงแนะนำให้ครูบาชัยวุติ
วชิรปัญญาพร้อมด้วยคณะสงฆ์และคณะศรัทธา
ช่วยกันบูรณะวิหารจนเสร็จในปีนั้น
พระเจ้าทองทิพย์ ที่อยู่ตามวัคต่างๆในเขต
อำเภอแม่สรวย เหตุที่เรียกว่า พระเจ้าทองทิพย์
เนื่องจากได้นำ พระพุทธรูปจากวัดพระเจ้าทองทิพย์
ไปสักกาบูชาจึงเรียกชื่อตาม พระเจ้าทองทิพย์ องค์
จริง ดั้งเดิม ยังคงประดิษฐาน อยู่ที่วัดพระเจ้าทอง
ทิพย์จนถึงปัจจุบัน

สำหรับการเดินทางมาวัดพระเจ้าทองทิพย์ วัดอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 60
กิโลเมตร ตามถนนสายเชียงราย-เชียงใหม่ เลี้ยวขวา
กิโลเมตรที่ 121 ที่บ้านห้วยส้ม ข้ามสะพานก่อนถึง
ตลาดสดเทศบาลตำบลเจดีย์หลวง ผ่านตำบลศรีถ้อย
เข้าไปประมาณ 3.5 กิโลงมตร เลี้ยวซ้ายประมาณ
700 เมตร ก็จะถึงวัดพระเจ้าทองทิพย์ ตำบลศรีถ้อย
อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

ปัญธิพงศ์ ศิริโชคธนากูล / ผู้สื่อข่าวจังหวัดเชียงราย โทร.081-4242-292