สระบุรี – คืบหน้าล่าสุด แฉ ทารุณเด็ก ในสถานสงเคราะห์
วันที่ 29 พ.ค.66 ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ไปยัง สถานสงเคราะห์เด็กหญิงจังหวัดสระบุรี เพื่อติดตามความคืบหน้ากรณีปรากฏภาพทารุณกรรมเด็ก โดยวันนี้พบว่ามีเจ้าหน้าที่จากหลากหลายหน่วยงาน ลงพื้นที่มาตรวจสอบเรื่องดังกล่าว อาทิ เจ้าหน้าที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ , เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , เจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการ , และ พล.ต.ต.วิชิต บุญชินวุฒิกุล ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสระบุรี // โดยเจ้าหน้าที่มีการประชุมร่วมกันกว่า 2 ชั่วโมง ก่อนจะลงพื้นที่ไปดูสถานที่ตามคำบอกเล่าของพยาน ที่เด็กถูกบังคับทารุณกรรม ให้ลงไปแช่ในท่อระบายน้ำทิ้ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็พบบ่อดังกล่าวลักษณะเป็นบ่อซีเมนต์ สี่เหลี่ยม ขนาด 60×60 เซนติเมตร ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร โดยภายในบ่อมีเศษขยะลอยน้ำอยู่ และบริเวณติดกับบ่อจะเป็นทางน้ำไหลซึ่งลักษณะเป็นน้ำคลำ แต่ทั้งนี้ยังไม่ยืนยันว่าบ่อดังกล่าวจะใช่บ่อที่เด็กถูกบังคับให้ลงไปแช่หรือไม่ // หลังจากใช้เวลาลงพื้นที่ประมาณ 30 นาที เจ้าหน้าที่ก็กลับมาประชุมร่วมกันอีกครั้ง
ซึ่งขณะที่ทีมข่าวกำลังบันทึกภาพอยู่นั้น ปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่ ได้เข้ามาขอความร่วมมือ สื่อมวลชน แจ้งว่าไม่อนุญาตให้บันทึกภาพ และไม่อนุญาตให้นำภาพดังกล่าวไปเผยแพร่ทางสื่อทุกช่องทาง เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบต่อเด็ก เเละสถานสงเคราะห์เป็นสถานที่ควบคุมพิเศษ การจะถ่ายภาพหรือเผยแพร่ภาพใดๆ จะต้องได้รับการอนุญาต ก่อนจะเชิญสื่อมวลชนออกไปรอด้านนอก
เจ้าหน้าที่เเถลงผลการตรวจสอบ เด็กถูกทารุณจริง เผยดำเนินคดีพี่เลี้ยงเด็กแล้ว พร้อมสั่งย้าย ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์ เข้าส่วนกลาง // ส่วนพยาบาลวิชาชีพจะได้รับการคุ้มครองกันไว้เป็นพยาน
และเมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา นายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี / พร้อมด้วย พลตำรวจตรีวิชิต บุญชินวุฒิกุล ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสระบุรี / พล.ต.ต.ฐิตวัฒน์ สุริยฉาย ผู้บังคับการ ตำรวจสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 4 / เเละ นางเตือนใจ คงสมบัติ รองอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน ได้ร่วมการเเถลงผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง
พลตำรวจตรีวิชิต บุญชินวุฒิกุล ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสระบุรี กล่าวว่า เบื้องต้นสอบเด็กไปแล้ว 3 คน และพี่เลี้ยงที่ดูแลเด็ก 40-60 คนที่บ้านหลังที่ 3 ชื่อบ้านทานตะวัน ซึ่งเรื่องดังกล่าวมีเหตุเกิดขึ้นจริง การสอบสวนได้ความว่า เหตุเกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2566 พี่เลี้ยงเด็กยอมรับว่ามีเด็ก 9 คนที่ถูกทำโทษ เป็นกลุ่มเด็กโตช่วงอายุ 8-15 ปี โดยได้สร้างกฎระเบียบขึ้นมา ว่าหากพบการกระทำผิดของเด็กๆ ทั้งหนีเที่ยว และทะเลาะวิวาท จะถูกลงโทษในลักษณะนี้ ซึ่งเด็กได้กระทำผิด เพราะทะเลาะกัน และหนีออกนอกพื้นที่ จึงได้สั่งให้รุ่นพี่เป็นผู้มัดมือ และลงโทษตามที่เป็นภาพ ซึ่งวันนั้นเด็กถูกมันทั้งหมด 4 คู่ และอีก 1 คนแยกออกมาคนเดียว และเกิดปวดปัสสาวะ เลยไปเข้าห้องน้ำ ดังที่เห็นตามภาพ พอมัดไปได้สักพัก เด็กๆ ก็แก้มัดเอง / ส่วนข้อมูลที่ออกไปว่าเด็กถูกมัดมือมัดเท้า และเข้าในห้องมืดตอนนี้ยังไม่พบการเกิดเหตุ / ส่วนภาพเด็กที่นอนใต้อ่างล้างมือ เป็นห้องน้ำรวมชั้น 2 คือเด็กที่ชอบมีปัญหาเวลานอนและปัสสาวะใส่ที่นอน อย่างไรก็ตามยังไม่เชื่อทั้งหมด กำลังรวมรวบพยายหลักฐานข้อมูลเพิ่ม เก็บภาพจากกล้องวงจรปิด หากพบผู้กระทำผิดเพิ่ม และ หากผู้ปกครองหรือผู้อำนวยการที่นี่พบว่าปล่อยประละเลยจะมีการดำเนินคดีเพิ่มอีก
ผู้ถูกกล่าวหายอมรับว่าที่ทำไปเสียใจ ยอมรับว่าทำไม่ถูก และยอมรับผิด ผู้ดูแลเด็กเป็นลูกจ้างชั่วคราวไม่ใช่เจ้าหน้าประจำ เข้าทำงานเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2565 ดำเนินคดีสิทธิเสรีภาพ พรบ.คุมครองเด็ก เบื้องต้นผู้ดูแลคนดังกล่าว ถูกดำเนินคดี ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 26 (1) กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็กและมาตรา 309 แห่งประมวลกฎหมายอาญาผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเองหรือของผู้อื่น หรือโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้นหรือจำยอมต่อสิ่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี
ส่วนคนที่ถ่ายรูป จะให้พนักงานสอบสวนข้อเท็จจริง และคุ้มครองความปลอดภัย ทางสถานสงเคราะห์จะไม่มีการฟ้องกลับกับคนที่นำรูปไปแชร์
ด้าน พล.ต.ต.ฐิตวัฒน์ สุริยฉาย ผู้บังคับการ ตำรวจสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 4 เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการเลิกจ้าง พี่เลี้ยงประจำบ้านทานตะวันเเล้ว เเละสั่งโยกย้าย นางธนภร สุเทศ ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์ ให้เข้าไปยังส่วนกลาง พร้อมขอบคุณผู้ที่เเจ้งขอมูลเปิดเผยเรื่องราวที่เกิดขึ้น เป็นการช่วยตรวจสอบสังคม
พล.ต.ต.ฐิตวัฒน์ สุริยฉาย ผบก. สอท.4
ทางด้าน นางเตือนใจ คงสมบัติ รองอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กล่าวว่า ตามที่ผู้ตรวจได้เน้นย้ำผู้บริหารของกระทรวง เน้นในเรื่องของนโยบายการคุ้มครองเด็ก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทางกระทรวงเสียใจเป็นอย่างยิ่ง และไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่จะเห็นได้ว่าจากกรณีนี้มีทั้งผู้ร้องและผู้ถูกร้อง เด็กต้องได้รับความปลอดภัยโดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ เมื่อเกิดเหตุ อย่างแรกเด็กต้องได้รับความปลอดภัย ดูแลเด็กให้ได้รับสวัสดิภาพดูแลเรื่องสภาพจิตใจ
(คลิปเสียง)เจ้าหน้าที่มูลนิธิวินวิน มีการโทรศัพท์ไปหาผู้หญิงรายหนึ่ง คือ น้องละมุด (นามสมมติ) เปิดเผยว่า ตนเองเคยอาศัยอยู่ที่สถานสงเคราะห์ดังกล่าวตั้งแต่อายุ 10 – 13 ปี ซึ่งปัจจุบันตนเองอายุ 21 ปีแล้ว สำหรับประสบการณ์ที่เคยอยู่ในสถานสงเคราะห์ดังกล่าว เคยเห็นเหตุการณ์การพี้เลี้ยงลงโทษเด็ก ป.4 ด้วยการกระทืบ สาเหตุเกิดจากเด็กคนดังกล่าวแอบใส่เสื้อชั้นใน ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นเด็กในหอพักไม่มีใครกล้าฟ้องผู้ใหญ่ // นอกจากนี้ ยังมีการลงโทษเด็กหลายวิธี ซึ่งการลงโทษนั้นจะมีหลายขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ตักเตือน ไปจนถึงขั้นลงมือทำร้ายร่างกาย ซึ่งตนเคยเห็นแม่บ้านลงโทษเด็กด้วยการตบหน้า ก็ไม่ทราบว่าเด็กที่โดนลงโทษนั้นทำผิดเรื่องอะไร แต่ได้ยินแม่บ้านพูดกับเด็กว่า”มึงอ่อยผัวกูหรอ” ซึ่งแม่บ้านคนดังกล่าวนั้นมีสามีทำงานอยู่ในสถานสงเคราะห์ด้วยกัน
คลิปเสียง***บีบเสียง***ละมุด(นาสมมติ) ผู้เคยอยู่ในสถานสงเคราะห์
เสียง***บีบเสียง***อดีตเจ้าหน้าที่ เคยอยู่ในสถานสงเคราะห์ 35 ปี เผย รู้สึกหดหู่ หลังรู้ข่าวเด็กโดนทารุณ เพราะในอดีตไม่เคยมีเหตุการณ์เเบบนี้ ชี้ ความรุนเเรงเเก้ปัญหาไม่ได้ ซ้ำร้ายจะทำให้เด็กมีปมในใจ
ล่าสุดทีมข่าวได้พูดคุยกับอดีตเจ้าหน้าที่ ที่เคยดูแลเด็ก ภายในสถานสงเคราะห์ดังกล่าว คือ นางอารีย์ (นามสมมติ) เปิดเผยว่า ตนเองเคยปฏิบัติหน้าที่อยู่ภายในสถานสงเคราะห์ ตั้งเเต่ปี 20 ก่อนจะเกษียณอายุราชการ เมื่อปี 55 รวมระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ 35 ปี ซึ่งบรรยากาศการทำงานในช่วงนั้นดีมาก เจ้าหน้าที่ทุกคนที่จะมาปฏิบัติหน้าที่ดูแลเด็ก จะต้องผ่านการอบรมและมีการตรวจสุขภาพจิต จากนักจิตวิทยา เป็นประจำทุกปี // ซึ่งในการดูแลเด็กจะไม่มีการ ลงโทษโดยการทำร้ายร่างกาย หรือทารุณกรรมเด็ก แต่หากว่าเด็กคนใดมีอาการก้าวร้าว หรือด้อ ก็จะมีการแก้ปัญหาโดยการเรียกเด็กมาพูดคุยกับนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้เด็กไว้ใจจะได้ทราบถึงต้นเหตุของปัญหา ก่อนจะใช้จิตวิทยาในการแก้ไขดังกล่าว // ส่วนการใช้ความรุนแรงกับเด็ก นอกจากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้แล้ว ยังจะทำให้อาการก้าวร้าวของเด็กเพิ่มมากขึ้นและจะเป็นปมในใจของเด็กในระยะยาว
ซึ่งหลังจากที่ตนเกษียณอายุราชการออกมาแล้วก็ไม่ทราบข่าวคราวด้านใน ว่าเป็นอย่างไรบ้าง หรือกฎระเบียบภายในเป็นอย่างไรก็ไม่เคยทราบ จนกระทั่งวันนี้ มาเห็นข่าวว่ามีการทารุณกรรมเด็ก ส่วนตัวก็ยังไม่ทราบว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ส่วนตัวมองว่ายังไม่ควรฟังความข้างเดียว เพราะเด็กที่อาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์นั้น มีที่มาแตกต่างกัน และเด็กแต่ละคนลักษณะนิสัยก็ไม่เหมือนกัน แต่ถ้าหากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ก็รู้สึกหดหู่ เพราะมองว่าคนที่จะมาดูแลเด็กนั้น ควรจะต้องมีความรัก มีความเมตตา เเละมีจิตวิทยากับเด็ก
***บีบเสียง***อดีตเจ้าหน้าที่ เคยอยู่ในสถานสงเคราะห์ 35 ปี
เกียรติยง อัศวราศี 0853562949