ข่าวทั่วไปข่าวพาดหัว

หอยแมลงภู่ริมชายหาดสมิหลา ปีนี้มีน้อยกว่าปีที่ผ่านมาและยังมีขนาดเล็กไม่สามารถเก็บไปเป็นอาหารได้ คาดว่าจะต้องใช้เวลา อีกระยะหนึ่ง

11-06-66 พี่เสือ นักข่าว สงขลา
หอยแมลงภู่ริมชายหาดสมิหลา ปีนี้มีน้อยกว่าปีที่ผ่านมาและยังมีขนาดเล็กไม่สามารถเก็บไปเป็นอาหารได้ คาดว่าจะต้องใช้เวลา อีกระยะหนึ่ง เพื่อให้หอยแมลงภู่เจริญเติบโตพอที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้


วันนี้ ที่ 11 มิถุนายน 2566 ที่บริเวณชายหาดสมิหลา สงขลา เขตเทศบาลนครสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของจังหวัดสงขลาและมีหอยแมลงภู่บริเวณชายหาดสมิหลาที่ขึ้นตามขูดหินริมชายหาดระหว่างศาลาไทยกับเสาหลักศุลกากร (หลังโรงแรมบีพีสมิหลา) ซึ่งเกาะตามโขดหินบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึง ทั้งนี้หอยแมลงภู่บริเวณนี้ มีการวางไข่ในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายนและตุลาคม – ธันวาคม ในปีนี้ในระยะเวลาเดียวกัน หอยแมลงภู่มีน้อยกว่าทุกปีที่ผ่านมา และยังมีขนาดเล็กไม่สามารถเก็บไปเป็นอาหารได้ คาดว่าจะต้องใช้เวลา อีกระยะหนึ่ง เพื่อให้หอยแมลงภู่เจริญเติบโตสามารถที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้


ในวันนี้ชาวประมงที่มาทอดแหบริเวณนี้ทุกวันบอกว่า หอยแมลงภู่บริเวณนี้ที่เกาะตามโขดหินที่น้ำทะเลท่วมถึง มีน้อยและตัวก็ยังเล็กอยู่ จึงไม่มีประชาชนที่ติดตามความเคลื่อนไหวของหอยแมลงภู่ตลอดมา ก็ยังไม่มาเก็บหอยแมลงภู่บริเวณโขดหิน เนื่องจากอาจจะเกิดจากสภาพอากาศที่แปรปรวนในพื้นที่ และคงจะต้องใช้ระยะเวลาอีกระยะหนึ่งให้หอยโตกว่านี้ ก็จะสามารถเก็บนำไปเป็นอาหารได้


ที่ผ่านมา ในวันที่เดียวกันนี้แต่เป็นปี 2565 ประชาชนมาทำการเก็บหอยแมลงภู่บริเวณโขดหินโดยใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมงก็สามารถเก็บได้หลายกิโล บางคนก็นำไปเป็นอาหาร แจกจ่ายเพื่อนบ้านและสามารถเก็บหอยแมลงภู่ได้ทุกวัน แม้ว่าขนาดของหอยแมงภู่จะยังไม่โตเต็มที่ก็ตาม แต่ก็สามารถนำไปเป็นอาหารได้ เพราะไม่ต้องเสียเงินซื้อแต่อย่างใดเป็นหอยตามธรรมชาติ


กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุว่า “หอยแมลงภู่ ที่พบเป็นการขยายพันธุ์ตามฤดูกาล เป็นการแพร่กระจายของหอยแมลงภู่ชนิด Perna viridis (Linnaeus, 1758) ขนาดเล็ก (ความยาวเปลือก 2.2 ซม. ความกว้างเปลือก 1.3 ซม.) อายุเฉลี่ยประมาณ 2 เดือน ยึดเกาะตามแนวโขดหินในบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึงช่วงระหว่างศาลาไทยกับเสาหลักศุลกากร (หลังโรงแรมบีพีสมิหลาบีช) คิดเป็นพื้นที่การแพร่กระจายประมาณ 2,217 ตารางเมตร เป็นการแพร่กระจายปกติตามฤดูกาลของหอยแมลงภู่ในพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง