ข้าราชการไทย

‘ผบก.น.9’ เปิดศูนย์ปฎิบัติการฯ CCOC สน.เพชรเกษม โรงพักนำร่องไล่ล่าโจรเชื่อมวงจรปิด

‘ผบก.น.9’ เปิดศูนย์ปฎิบัติการฯ CCOC สน.เพชรเกษม โรงพักนำร่องไล่ล่าโจรเชื่อมวงจรปิด

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 17 ตุลาคม 2566

ที่สน.เพชรเกษม พล.ต.ต.พงศ์อานันต์ คล้ายคลึง ผบก.น.9 พร้อมด้วย พ.ต.อ.เศกสิทธิ์ สุภาอ้วน พ.ต.อ.สุธี พรมมาลี , พ.ต.อ.ธีรชัย เด็ดขาด , พ.ต.อ.ศุภวัช ปานแดง รอง ผบก.น.9 ร่วมพิธีทำบุญโรงพัก และเปิดศูนย์ปฎิบัติการควบคุมสั่งการ ( CCOC ) บริเวณบนชั้น 4 ของ สน.เพชรเกษม โดยมี พ.ต.อ.ดร.ปราโมทย์ จันทร์บุญแก้ว ผกก.สน.เพชรเกษมพ.ต.ท.ยุติธรรม มหานิล รอง ผกก.สส. พ.ต.ท. พิสิษฐ์ มีวิริยกุล รอง ผกก.ป.สน.เพชรเกษม
พร้อมข้าราชการตำรวจในสังกัด บก.น.9 สน.เพชรเกษมและคณะ กต.ตร.สน.เพชรเกษม

โดยช่วงเช้านิมนต์ พระพรหมบัณฑิต กรรมการเถระสามคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร พร้อมพระสงฆ์ จำนวน 9 รูป มาเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล

ต่อมาเวลา 11.40 น. พล.ต.ต.พงษ์อานันต์ คล้ายคลึง ผบก.น.9 เป็นประธานเปิดศูนย์ฯ(CCOC) โดยพระพรหมบัณฑิต ทำพิธีเจิมประตูทางเข้าศูนย์ฯ พร้อมกับรับชมการสาธิตวิธีใช้งานในระบบกล้องวงจรปิดของศูนย์ปฎิบัติการ(CCOC) สน.เพชรเกษม ในการติดตามคนร้าย

พล.ต.ต.พงศ์อานันต์ กล่าวว่า ศูนย์ดังกล่าวเป็นอนวคิดของทาง พ.ต.อ.ดร.ปราโมทย์ มีการหารือกับทาง พ.ต.อ.ธีรชัย รอง ผบก.น.9 ดูแลงานสืบสวน โดยได้รับความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งราชการ และเอกชน เพื่อนฝูง กต.ตร. ในการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อประโยชน์ของประชาชน ส่วนประโยชน์สามารถนำไปใช้กับทั้งงานสืบสวน และงานจราจร หวังว่าจะเป็นโรงพักนำร่องในการดำเนินงานให้กับ สน.และ บก.อื่นๆ ซึ่งในส่วนของกองกำกับสืบสวน บก.น.9 เองก็มีการทำไว้ใช้เฉพาะงานสืบสวนเท่านั้น และตนกำชับให้ กก.สส.บก.น.9 เป็นหน่วยงานที่ต้องคอยสนับสนุนทุกโรงพัก ใน บก.น.9 ในการติดตามคนร้าย โดยภาพรวมถือเป็นไปด้วยความเรียบร้อยดี

พ.ต.อ.ดร.ปราโมทย์ กล่าวว่า ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของความพร้อมในการปราบอาชญากรรมในพื้นที่ โดยเฉพาะฝ่ายสืบสวนในการติดตามจับกุมคนร้ายผู้ก่อเหตุมาลงโทษ ตามหลักการสืบสวน ได้รับการปลูกฝังจากอาจารย์สืบสวนพล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. ว่าหน้างานสืบสวนมีสิ่งที่นักสืบต้องเตรียมความพร้อม 4 อย่างคือ 1.เครื่องมือสืบสวน 2.การตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุและการรวบรวมพยานหลักฐาน 3. เทคโนโลยีและโทรคมนาคม 4. นิติวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะการสร้างเครื่องมือสืบสวนล่วงหน้า ให้พร้อมมีความสำคัญมาก ซึ่งสุดยอดในเครื่องมือสืบสวนล่วงหน้าสำหรับงานสืบสวนคือกล้องวงจรปิด ถือว่าตอบโจทย์ดีมี่สุด ที่สามารถทำให้ชี้ชัดถึงตัวคนร้ายได้ ไล่ตั้งแต่ การมาดูลาดเลา ขณะก่อเหตุและเส้นทางหลบหนีหลังก่อเหตุ ท้ายที่สุด เมื่อจับกลุ่มคนร้าย ก็ยากที่จะปฏิเสธและศาลมักจะลงโทษได้อย่างสิ้นข้อสงสัย นอกจากนี้สมัยที่ตนเป็นสารวัตรสืบสวนอยู่ สน. บุปผาราม ก็เคยทำโครงการนี้มาแล้ว ซึ่งในขณะนั้นก็เป็นต้นแบบให้กับโรงพัก และหน่วยงานอื่นๆมาศึกษาดูงาน

สำหรับศูนย์ปฏิบัติการและควบคุมสั่งการ หรือ ccoc ตั้งอยู่บริเวณชั้น 4 ซึ่ง ก่อนหน้านี้มีของกลางคดีไอซ์หีบเหล็ก วางอยู่ จึงมีการนำไป ทำพิธีบำเพ็ญกุศลที่วัด และทำให้มีพื้นที่ว่าง ประกอบกับ ห้องฝ่ายสืบสวน เดิมอยู่บริเวณชั้น 3 ซึ่งมีขนาดเล็ก ไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติหน้าที่ จึงริเริ่มจัดทำ โครงการดังกล่าว โดยมีการ ติดระบบที่เกี่ยวข้องกับงานสืบสวน หลายระบบ หน้าที่ระบบสารสนเทศสถานีตำรวจ CRIMES , ระบบกล้องโทรทรรศน์วงจรปิด CCTV ตามโครงการพัฒนาศักยภาพงานสืบสวน ตร. จำนวน 24,239 ตัว, กล้องระบบกล้องโทรทรรศน์วงจรปิด CCTV กทมจำนวน 62,906 ตัว, กล้องวงจรปิดของหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งรวมทั้งหมด มีจำนวนกว่าหนึ่งแสนตัว ระบบข้อมูลข่าวสารงานสืบสวน Big Data , แบบซักถามบุคคลเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ระบบ Police 4.0, ระบบอ่านป้ายทะเบียนรถอัตโนมัติ บช.ปส., รวมถึงระบบ biomatic สืบค้นข้อมูล ลายพิมพ์นิ้วมือและถ่ายภาพใบหน้า ของ สตม. ซึ่งระบบต่างๆล้วน มีความจำเป็น ในการใช้สืบสวนติดตาม นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อไปถึงจังหวัดข้างเคียง นนทบุรีเพื่อติดตามผู้ต้องหามาดำเนินคดี

พ.ต.อ.ดร.ปราโมทย์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ศูนย์ดังกล่าว พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ กับทุกโรงพัก หรือหน่วยงาน ที่ต้องการเข้ามาขอดูข้อมูลในการตรวจสอบติดตามจับกุมคนร้ายได้ตลอดอีกด้วย

โชติกา ม่วงใจรักษ์ ผู้สื่อข่าว กทม.