รมว.แรงงานเร่งช่วยแรงงานไทยในอิสราเอลและต้มยำกุ้ง เชื่อค่าแรงขั้นต่ำขึ้นปีหน้า SME ปิดกิจการเป็นแถว
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 29 ตุลาคม 2566 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประกันสังคมมาตรา 40 สู่เครือข่ายประกันสังคม รุ่นที่ 2 ณ โรงเรียนนราสิกขาลัย อ.เมือง จ.นราธิวาส โดยมี นายปรีชา นวลน้อย รอง ผวจ.นราธิวาส นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน ผู้ประกันตน เครือข่ายประกันสังคม พร้อมเจ้าหน้าที่ จำนวน 500 คน เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อรณรงค์เชิญชวนกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ ถึง 65 ปีบริบูรณ์ ซึ่งถือเป็นแรงงานสำคัญในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ให้สามารถเข้าถึงสิทธิความคุ้มครองสูงสุด 5 กรณี ได้แก่ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ค่าทำศพ บำเหน็จชราภาพ และสงเคราะห์บุตร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มแรงงานอิสระ ให้สอดคล้องกับนโยบายหลักของกระทรวงแรงงาน โดยปัจจุบันมีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 301,276 คน และอีกจำนวน 70,138 คน เข้าถึงสิทธิประโยชน์ทางประกันสังคม
พร้อมกันนี้นายพิพัฒน์ รมว.แรงงาน ได้มอบเกียรติบัตรให้แก่เครือข่ายที่สนับสนุนงานประกันสังคมดีเด่น และการมอบสิ่งของเครื่องอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวันให้กับผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพซึ่งอยู่ในการดูแลของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดนราธิวาส จำนวน 2 ราย คือนางอนงค์ แซ่ภู่ อายุ 67 ปี เป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ทุพพลภาพจากอาการเส้นเลือดในสมองแตก และนายกรุณา มณีแสง อายุ 66 ปี เป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ทุพพลภาพจากโรคจากไตวายเรื้อรังและโรคเบาหวาน ทั้งนี้ภายในงานยังมีการจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิ ให้บริการรับสมัครผู้ประกันตนมาตรา 40 การออกร้านจำหน่ายสินค้าของกลุ่มเครือข่ายประกันสังคม และของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน
ต่อมา นายพิพัฒน์ รมว.แรงงาน และคณะ ได้เดินทางต่อไปยังลานพิกุล ซึ่งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อเป็นประธานในพิธีเปิดงานกองทุนเด็กกำพร้า ซึ่งจัดขึ้นโดยศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้อมทั้งได้มอบทุนการศึกษาแก่เด็กกำพร้าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานีและนราธิวาส จำนวน 122 คน คนละ 5,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 610.000 บาท เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ซึ่งภายในงานทางศิษย์เก่ามหาวิทยารามคำแหงได้มีการจัดเลี้ยงอาหารฟรีสำหรับเด็กกำพร้าและผู้ปกครองในครั้งนี้ด้วย
ส่วนภาคบ่ายนายพิพัฒน์ รมว.แรงงาน และคณะ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรอุตสาหกรรมสมัยใหม่ วิชาช่างเทคนิคระบบขนส่งทางราง ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยในช่วงการศึกษาที่ผ่านมา ระดับ ปวส.มีนักเรียนทั้งสิ้น 39 คน 7 คน ที่จบสามารถเข้าไปทำงานในวงการรถไฟได้ ซึ่งขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทำ MOU กับประเทศจีนเพื่อส่งศึกษาที่เรียนต่อ คาดจบออกมาอุตสาหกรรมสมัยใหม่จะเป็นที่รองรับนักศึกษากลุ่มนี้ในอนาคต
ด้านนานพิพัฒน์ รมว.แรงงาน กล่าวถึงแรงงานไทยในอิสราเอล ว่า ในส่วนของแรงงานไทยในประเทศอิสราเอลนั้น ตลอดระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์อยากกลับบ้าน 8,500 คน เพราะฉะนั้นในช่วงนี้ทางนายกรัฐมนตรีได้เร่งให้ กระทรวงแรงงานไปพบญาติที่ทำงานที่ประเทศอิสราเอลทุกคน ขอให้คนที่ทำงานที่ประเทศอิสราเอลกลับบ้าน เพื่อความสบายใจของครอบครัวที่รออยู่ในประเทศไทย ซึ่งกระทรวงแรงงานเองก็มีคำสั่งเร่งแรงงานในทุกจังหวัดที่มีแรงงานที่ทำงานที่ประเทศอิสราเอลได้ไปประสานหรือติดต่อ และในส่วนหลังจากนี้การที่จะดูแลเยียวยานักศึกษา สำหรับค่าเดินทางที่ได้จ่ายไปแล้วให้มาติดต่อที่กระทรวงแรงงาน ซึ่งทางกระทรวงแรงงานเองก็ได้ประสานไปยังกระทรวงการต่างประเทศ ทางนายกได้อนุมัติค่าเดินทางไปยังกระทรวงการต่างประเทศ และจะมีการผ่อนผ่านสำหรับผู้ที่กู้เงินไปทำงานยังต่างประเทศและยังใช้หนี้ไม่หมด และอีกส่วนนึงก็จะเป็นการเยียวยาหลังจากกลับจากประเทศอิสราเอล เครื่องกระทรวงแรงงานเราจ่ายคนละ 15,000 บาท
ด้านนายพิพัฒน์ รมว.แรงงาน กล่าวถึงแรงงานไทยเข้าไปทำงานในมาเลเซียหรือ กลุ่มต้มยำกุ้ง ว่า ปัจจุบันทางคณะทำงานโดยนายนัจมุดดีน อูมา ได้ไปหารือกับทางรัฐบาลของประเทศมาเลเซียในเรื่องของการส่งแรงงาน โดยเฉพาะเรามีแรงงานไทยที่ไปทำงานในประเทศมาเลเซีย 200,000 -300,000 คน และไปเปิดกิจการร้านต้มยำประมาณ 5 ประเทศ
ด้านนานพิพัฒน์ รมว.แรงงาน กล่าวถึงการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในต้นปีหน้า ว่า ในส่วนของการหาเสียงของบางพรรคการเมืองนั้นมีทั้ง 450 บาท 600 บาท ซึ่งปัจจุบันนี้แรงงานขั้นต่ำเราไม่ได้ระบุเฉพาะแรงงานต่างด้าวหรือชาวไทย ซึ่งคนที่ทำงานในประเทศไทยต้องได้ค่าแรงขั้นต่ำทุกคนทุกชาติ เพราะฉะนั้นการที่จะประกาศอัตราค่าแรงขั้นต่ำนั้น ต่ำสุด 328 บาท ซึ่งจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยังอยู่ในอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่ 328 บาท และค่าแรงสูงสุดก็มีสองจังหวัดประกอบด้วย จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระยองและจังหวัดชลบุรี 354 บาท แต่ว่าค่าครองชีพก็สูงเช่นกัน ซึ่งหมายความว่าณจังหวัดใดที่มีค่าแรงขั้นต่ำหรือต่ำนั้น ทางกระทรวงแรงงาน จะทำการสำรวจทุกปีว่าในแต่ละปีมีจังหวัดใดบ้างที่ขอค่าแรงขั้นต่ำ แล้วแต่ละจังหวัดที่ขอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำขอขึ้นจังหวัดละเท่าไหร่ ซึ่งทางเราเองไม่ได้เป็นผู้กำหนด แต่จะมีการกำหนดโดยไตรภาคี คือสภาองค์กรลูกจ้าง นายจ้าง และส่วนราชการ ซึ่งเราเองนั้นเปรียบเสมือนกรรมการที่เป็นการประสานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งในปี 2567 เราจะสามารถขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเท่าไหร่ โดยมีมาตรการ แต่อย่างน้อยที่สุดต้องมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทุกปีตามค่าอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเชื่อว่าภายในเดือนธันวาคม กระทรวงแรงงานจะมีการประกาศค่าแรงขั้นต่ำ แต่จะมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตามในอีก 4 ปี ข้างหน้า ค่าแรงขั้นต่ำไม่ถึง 600 บาท แต่ก็น่าจะอยู่ที่อัตราใกล้เคียงเพราะเราขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทุกปี ซึ่งการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมีขึ้นอย่างแน่นอนแต่จะไม่สามารถประกาศได้ว่าจะเท่ากันทุกจังหวัดหรือเปล่า เพราะจากการหารือของสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า สำหรับค่าแรงในโรงงาน สำหรับบริษัทใหญ่เกิน 400 จะเกิดผลกระทบหนักที่สุดคือชาว SME คือสถานประกอบการที่ไม่ใหญ่ ซึ่งถ้าประกาศค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 400 บาท ประเภท SME จะต้องทยอยปิดตัว กว่า 50% และอีกส่วนหนึ่งอาจจะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่มีค่าแรงขั้นต่ำน้อยกว่านั้น เพราะฉะนั้นพวกเราพร้อมไหมที่จะ หางานให้คนที่ตกงาน 8,000,000 คน เมื่อประกาศค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 400 บาท โดยประมาณ ซึ่งทางเราก็ยังไม่พร้อมที่จะรับที่ตกงานตั้ง 8,000,000 คน เฉพาะรายงานที่กลับจากประเทศอิสราเอล เรายังต้องหาอีกหลายประเทศกว่าจะบรรจุอีก 30,000 คน เขาไปทำงานยังต่างประเทศที่มีรายได้ดีกว่าประเทศไทย ซึ่งค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศต้องบอกตรงนี้เลยว่าเป็นไปไม่ได้
//ข่าว/ซาการียา/จ.นราธืวาส