ผู้ว่ากาญจน์ ชวนสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในถิ่นกาญจน์
ร้อยโททศพล ไชยโกมินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เชิญชวนคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ ข้าราชการ กลุ่มองค์กร ภาคีเครือข่าย และประชาชน ร่วมใจส่งเสริมการใช้และสวมใส่ผ้าไทย ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 และนโยบายจังหวัดกาญจนบุรี ในการขับเคลื่อนโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ทุกที่ ทุกวัน ทุกเทศกาล ทุกโอกาส เพื่อร่วมสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในถิ่นกาญจน์
▶️จังหวัดกาญจนบุรี ได้ส่งเสริมการใช้ผ้าไทยด้วยการน้อมนำพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งได้รับการสืบสาน รักษา และต่อยอด โดยพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา มาสู่การขับเคลื่อนและส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าไทย เป็นนโยบายที่สำคัญของกระทรวงมหาดไทย และจังหวัดกาญจนบุรี ในการเสริมสร้างความนิยมชมชอบในภูมิปัญญาผ้าไทย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากให้กับประชาชนและชุมชน ด้วยการจูงใจให้พี่น้องประชาชนในทุกพื้นที่หันมาสวมใส่ผ้าไทยในทุกวันและทุกโอกาส เป็นการส่งเสริมให้ช่างทอผ้าและผู้ประกอบการผ้าไทยได้ผลิตชิ้นงานที่ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างอาชีพ และพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ของไทยที่สืบสานมาจากบรรพบุรุษผสมผสานกับหลักวิชาการแฟชั่นสมัยใหม่ ออกแบบชุดผ้าไทยให้มีความสวยงาม หลากหลายสไตล์ ตามความต้องการของคนทุกช่วงวัย นำไปสู่การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เกิดแรงขับเคลื่อนในชุมชน ทำให้คนในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการผลิตผ้าทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากควบคู่ภูมิปัญญา soft power สร้างความมั่นคงทางสังคม สร้างสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) และยังผลให้เกิดการขับเคลื่อนพระดำริด้าน Sustainable Fashion เพื่อให้ผืนผ้าไทยเป็นผืนผ้าแห่งความยั่งยืน
📌จังหวัดกาญจนบุรี มีผลิตภัณฑ์ผ้าจากกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง/ผ้าท้องถิ่น/ผ้าอัตลักษณ์ จำนวน 15 กลุ่ม และมีกลุ่มทอผ้า ที่เข้าร่วมประกวดลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” และงานหัตถกรรม จำนวน 9 ราย /13 ชิ้นงาน และมีผู้ที่ผ่านเข้ารอบ ดังนี้
➡️ ผ่านเข้ารอบระดับภาคกลาง จำนวน 1 ราย นางสาวนุสรา อ่อนเทศ ผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP กันตะเบญจรงค์ ตำบลวังเย็น อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ผลงานผลิตภัณฑ์ โถพญาครูเบญจรงค์ลายดอกรักราชกัญญา
➡️ การประกวดการออกแบบตัดเย็บ “ชุดผ้าไทยใส่ให้สนุก” ผ่านเข้ารอบการประกวด ระดับภาคกลาง จำนวน 1 ราย คือ นางสาวนันทินา เชียงทอง ผ้าขาวม้าหนองขาวร้านโชคกิตติ ตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ผลงาน ชุดผ้าขาวม้าร้อยสี (สีธรรมชาติจากใบขานาง, ครั่ง และฝึกคูน
📌นอกจากนี้ จังหวัดกาญจนบุรี ได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ ในการยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ดังนี้ โครงการ “สร้างสรรค์ภูมิปัญญาการใช้สีธรรมชาติจากพืชท้องถิ่นและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี” งบประมาณสนับสนุนเงินอุดหนุนจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดกาญจนบุรี มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วม 20 ราย/กลุ่ม โครงการส่งเสริมการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการและแรงงาน กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quad rant D) ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายให้มีคุณภาพมาตรฐานของผู้ประกอบการ OTOP ที่ได้รับผลกระทบ (COV D – 19) ประจำปี พ.ศ.2566โครงการสำรองตามแผนปฏิบัติการและในโอกาสที่จังหวัดกาญจนบุรีได้กำหนดจัดงาน “งานสัปดาห์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว และงานกาชาดจังหวัดกาญจนบุรี” ระหว่างวันที่ 8-17 ธันวาคม 2566 ณ บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแควและลานข้างองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 และมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี รับผิดชอบกิจกรรมเดินแบบการกุศล ในวันอังคารที่ 12 ธันวาคม 2566 ณ บริเวณเวทีกลางเหล่ากาชาดจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อจัดหารายได้สนับสนุนเหล่ากาชาดจังหวัดกาญจนบุรี ในการนำไปช่วยเหลือกิจกรรมอันเป็นสาธารณกุศล และช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากในจังหวัดกาญจนบุรี ผ่านกิจกรรมการเดินแบบการกุศลผ้าไทยใส่ให้สนุก ภายใต้ธีม “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในถิ่นกาญจน์”
➡️โดยกำหนด ชุดผ้าไทยที่ใส่เดินแบบการกุศลฯ จำนวน 5 ชุด ดังนี้
(1) ชุดผ้าลายพระราชทาน (ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา ผ้าลายดอกรักราชกัญญา)
(2) ชุดจากเส้นใยธรรมชาติ/ ย้อมสีธรรมชาติ
(3) ชุดผ้าลายอัตลักษณ์ประจำจังหวัดกาญจนบุรี (ผ้าขาวม้าลายตราจัก)
(4) ชุดผ้าพื้นเมืองประจำถิ่น
(5) ชุดผ้าไทยร่วมสมัย