ข่าวทั่วไปข่าวประชาสัมพันธ์ช่วยชาวบ้านเศรษฐกิจ

ร้อยเอ็ด โครงการหมู่บ้านนาหยอด เพิ่มผลผลิตและพัฒนาข้าวหอมมะลิสู่ครัวโลก

ร้อยเอ็ด โครงการหมู่บ้านนาหยอด เพิ่มผลผลิตและพัฒนาข้าวหอมมะลิสู่ครัวโลก

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 เวลา 10.30 น. ที่ วัดบูรพากู่น้อย บ้านกู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ได้จัดงานส่งมอบข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ สู่ครัวโลก จากโครงการศรีแสงดาวหมู่บ้านนาหยอด โดยมีนายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานในพิธี โดยมี ดร.พงษ์เทพ อัครธนกุล ผอ.ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพ ม.เกษตรศาสตร์ นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ ประธานคณะกรรมการธุรกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสินสมุทร ศรแสงปราง เจ้าของโครงการศรีแสงดาวหมู่บ้านนาหยอด และชาวบ้านจากอำเภอเกษตรวิสัย อำเภอสุวรรณภูมิ เข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน

โดยกิจกรรมภายในงานจัดให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและให้ความรู้เกี่ยวกับนวัตถกรรมในการปลูกข้าวแบบใหม่เพื่อเพิ่มผลิตของนาข้าวต่อไร่ และพัฒนาข้าวหอมมะลิส่งสู่ตลาดโลก โดยมีการมอบรางวัลให้กับชาวนาในเครงการหมู่บ้านศรีแสงดาวหมู่บ้านนาหยอด ที่มีผลผลิตต่อไร่สูงสุด มีการชิมข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ในฤดูการเก็บเกี่ยวใหม่ หุงด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านสมัยโบราณ จัดพิธีบายศรีสู่ขวัญข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่ครัวโลก นอกจากนี้ยังมีการมอบข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ให้กับผู้มาร่วมงานอีกด้วย

โครงการศรีแสงดาวหมู่บ้านนาหยอด เป็นต้นแบบการทำนาข้าว 9 ขีด/ไร่ ได้ร่วมกับนักวิจัยอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดโครงการอบรมชี้แนวทาง การจัดการธาตุอาหาร การใช้ปุ๋ย และการใช้เมล็ดพันธุ์ เพื่อถ่ายทอด การจัดการแปลงนาข้าว และ เทคโนโลยี การปลูกข้าว ด้วยการใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 9 ขีด ที่ประหยัด จะได้ผลผลิตสูง ให้กับชาวนา 200 คน ในเขตอำเภอสุวรรณภูมิและเกษตรวิสัยบางส่วน ได้รับรู้แนวทาง การทำนาแบบประหยัด ต้นทุนทุกด้าน แต่ได้ผลผลิตสูง และอีกเป้าหมายสำคัญคือ ต้องการที่จะช่วยชาวนาพัฒนาคุณภาพข้าวหอมมะลิ ให้คงคุณค่าเพื่อต่อสู้กับประเทศเพื่อนบ้าน ที่กำลังพัฒนาข้าวหอมพรวงมาเทียบเคียงตีตลาดข้าวหอมมะลิไทย

 

โดยเป้าหมายคืออยากเปลี่ยนแปลงการทำนาหว่าน 35 กก./ไร่ โดยให้เริ่มเปลี่ยนแปลงมาเป็นนาหยอดเริ่มต้นจาก 5 กก./ไร่ ถึงแม้ธรรมชาติ ไม่สามารถกำหนดได้ แม้จะไม่สามารถ เรื่องฝนได้ แต่ถ้าหากมีความรู้ หาความรู้ด้านขั้นตอนต่างๆมาแก้ปัญหา ก็สามารถที่จะต่อสู้กับธรรมชาติได้ โดยในการทดลองปีที่แล้วเข้าร่วมโครงการสามารถมีผลผลิตได้ไร่ละ ถึง 500 ถัง เมื่อเทียบกับส่วนที่ทำแบบเดิมๆ กลับได้เพียง 300 ถังเศษเท่านั้น โดยภาพรวมถึงแม้จะต้นทุนอาจจะไม่ถูก จนแตกต่างมากนัก แต่ก็มีความแตกต่างด้านการประหยัดเมล็ดพันธุ์ เอาไปใช้อย่างอื่นเช่นการซื้อปุ๋ยการซื้อจุลธาตุมาใช้ให้ได้ผลผลิตเพิ่ม

ข่าว โกมล วรามิตร 097-3366-351