ข่าวพระราชสำนักช่วยชาวบ้าน

อบจ.พิษณุโลก จัดโครงการอบรมพัฒนาพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีบทบาทและหน้าที่ด้านการจัดบริการเภสัชกรรมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทั้ง 47 แห่ง ให้มีมาตรฐานด้านการจัดบริการเภสัชกรรมแก่ประชาชน

อบจ.พิษณุโลก จัดโครงการอบรมพัฒนาพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีบทบาทและหน้าที่ด้านการจัดบริการเภสัชกรรมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทั้ง 47 แห่ง ให้มีมาตรฐานด้านการจัดบริการเภสัชกรรมแก่ประชาชน

วันที่ 22 มีนาคม 2567 นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมพัฒนาพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีบทบาทและหน้าที่ด้านการจัดบริการเภสัชกรรมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ณ ห้องประชุมพระนเรศ อาคาร 2 ชั้น 5 องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก จัดโดยกองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก มี นายสนธยา จิตต์รำพึง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก กล่าวรายงาน ภายในพิธีได้รับเกียรติจากคณะผู้บริหารและหัวหน้าส่วนราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ร่วมเปิดโครงการฯ ทั้งนี้ตามที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ได้รับมอบภารกิจสาธารณสุข ถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีตามแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบันมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 47 แห่ง ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนและพัฒนาการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิที่ครอบคลุมการดูแลสุขภาพของประชาชนในทุกมิติทั้งในด้านการเฝ้าระวัง ส่งเสริม ฟื้นฟู ป้องกันและควบคุมโรคอย่างต่อเนื่องนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำเป็นต้องจัดให้มีการบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และมีมาตรฐานเดียวกันครบทุกด้าน โดยหนึ่งในมาตรฐานนั้นคือ มาตรฐานด้านการจัดบริการเภสัชกรรม (RDU) ประกอบด้วย การบริหารจัดระบบยาการคัดเลือกและส่งมอบยาคลังยาและเวชภัณฑ์ การใช้ยาอย่างปลอดภัยและสมเหตุสมผล

กองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ได้ตระหนักและให้ความสำคัญด้านการจัดบริการเภสัชกรรมตั้งแต่เริ่มกระบวนการรับยาเข้าหน่วยบริการสุขภาพ การดูแลรักษายาและเวชภัณฑ์ จนกระทั่งจำหน่ายยาให้คนมารับบริการ จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีบทบาทและหน้าที่ด้านการจัดบริการเภสัชกรรม มีความเข้าใจมาตรฐานด้านการจัดบริการเภสัชกรรม และสามารถจัดบริการเภสัชกรรมในหน่วยบริการของตน ได้สอดคล้องตามมาตรฐานคู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566 โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 47 แห่ง และเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องของ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก รวมทั้งสิ้น 50 คน และได้รับเกียรติจากวิทยากรของโรงพยาบาลพุทธชินราชและโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรมาบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม.ธันย์ชนก ทองเพิ่ม ผู้สื่อข่าวพิษณุโลก