ข่าวประชาสัมพันธ์

ปทุมธานี – ผ้าสะใบมอญและธงตะขาบโดยสภาวัฒนธรรมตำบลบ้านกลางเอกลักษณ์ที่โดดเด่นด้วยแฮนเมด

ปทุมธานี – ผ้าสะใบมอญและธงตะขาบโดยสภาวัฒนธรรมตำบลบ้านกลางเอกลักษณ์ที่โดดเด่นด้วยแฮนเมด
สภาวัฒนธรรมตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี สถานที่ทำผ้าสะใบมอญ และธงตะขาบ ด้วยมือของชาวบ้าน ไม่มีเครื่องจักร แห่งเดียวของจังหวัดปทุมธานี โดยมีอาจารย์ยุพา ตั้งตน ข้าราชการเกษียณ ได้รวมกลุ่มชาวไทยเชื้อสายรามัญทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ที่มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวมอญไว้ให้ลูกหลานได้สานต่อยอดรำลึกถึงบรรพบุรุษตราบนานเท่านาน


อาจารย์ยุพา ตั้งตน ชาวไทยเชื้อสายรามัญปทุมธานี เล่าว่า ก่อนหน้านั้นรับราชการ เป็น ผอ.โรงเรียนวัดสระแก อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ซึ่งก็มีชุมชนชาวไทยเชื้อสายรามัญอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาได้ย้ายมาเป็น ผอ.ที่โรงเรียนวัดมะขาม อ.เมือง จ.ปทุมธานี ประกอบกับชอบศึกษาในเรื่องประวัติศาสตร์ของชาวมอญ จึงได้ทำโครงงานประวัติศาสตร์ เล่าขานถิ่นฐานวัดมะขามซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ของมอญ โดยวัดมะขามแห่งนี้เด็กๆที่นี่จะชอบเรียนรู้นอกห้องเรียนจากโบราณสถานโบราณวัตถุและเรียนรู้ในชุมชนซึ่งก็พาเด็กไปศึกษาตามสถานที่ต่างๆของวิถีชีวิตชาวมอญปทุมธานีนำเด็กๆไปดูของจริงไม่ใช่จะเรียนรู้อยู่ในตำราเพียงเท่านั้น ต่อมาในปี 2558 เกษียณราชการก็มานั่งคิดว่าทำยังไรที่จะให้ชาวบ้านได้รู้จักผ้าสไบมอญ จึงรวมกลุ่มกันเพราะท้องถิ่นแห่งนี้เป็นคนไทยเชื้อสานรามัญทั้งหมด ก็ได้ของบประมาณจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและ เงินกองทุนหมู่บ้าน ก็รวมๆไปซื้อผ้าซื้อเข็มซื้อได้ซื้อสะดึงแล้วก็มาสอนปักสะใบมอญซึ่งผ้าสใบมอญมาตรฐานจะมีความกว้าง 5 นี้ว ยาว 2 เมตร แรกๆฝีมือก็ยังไม่ค่อยดีเท่าไหร่นะ ราคาก็จะอยู่ที่ 500, 600, 700 บาทเป็นต้น ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของลาย เป็นต้น หลังจากนั้นได้มีการพัฒนาฝีมือเพิ่มมากขึ้นราคาสูงถึงผืนละ 1,000 บาทจนเป็นที่ยอมรับของชุมชน
ที่นี่ก็ได้มีการสอนรำให้เด็กๆเขาเรียกว่าลำพาข้าวสาร วัดมะขามนี้เป็นวัดเก่าแก่ ที่ได้มีการตักบาตรพระร้อยวัดแรกของจังหวัดปทุมธานี ชาวบ้านวัดมะขามเป็นคนที่มีฝีมือมีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนา ซึ่งมองว่าประวัติศาสตร์ของเราแถวนี้เป็นถิ่นฐานของมอญ ก็พยายามทำให้ชาวบ้านเขาชื่นชมในบรรพบุรุษของเราถิ่นฐานที่เราอยู่ ท่านเจ้าคุณพระราชเตจิยาภิบาลเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ ได้สนับสนุนให้งบประมาณมาหนึ่งหมื่นบาท ให้มาช่วยทำธงตะขาบให้หน่อยเพราะทางกลุ่มของตนเองไม่มีงบสนับสนุนจากหน่วยงานใดเลยทั้งภาครัฐและเอกชน โดยทางกลุ่มได้ทำธงตะขาบด้วยการพัฒนาคือทำให้สวยงามทำแล้วไม่น่ากลัวเพราะธงตะขาบบางอย่างก็น่ากลัว ทำให้น่ารัก ซึ่งทางกลุ่มก็จะสอดแทรกเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการเสริมแต่งธงตะขาบแต่ละผืนก็ใช้งบเยอะซึ่งทางกลุ่มของเราก็พยายามอย่างเต็มที่แต่ทางเราก็ไม่มีแรงสนับสนุนเพราะว่าชาวบ้านมีความจนอยู่แล้ว บางครั้งต้องใช้เงินบำนาญไปหาซื้อผ้าและสิ่งของต่างๆเพื่อมาทำผ้าสไบมอญและธงตะขาบ ขณะที่ทำออกมาก็ไม่มีหน่วยงานใดให้ความสนใจทั้งๆที่งานฝีมือแบบนี้หายากมาก จนเกิดความท้อที่จะรักษาเอกลักษณ์ของชาวมอญไว้ได้ ก็มาเจอกับน้องเล็ก (ธนาพร เพ็ชรรัตน์ ) ให้มาช่วยกันว่าเราจะรักษาวิถีชีวิตและประเพณีของชาวมอญไว้ได้อย่างไร มีชมรมชาวไทยเชื้อสายรามัญที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งขึ้นมาทางกลุ่มก็ได้เข้าเป็นสมาชิกเพื่อจะได้ร่วมช่วยกันผลักดันวัฒนธรรมประเพณีมอญของเราให้สืบต่อไปอย่างน้อยๆผ้าสไบมอญธงตะขาบที่ทางกลุ่มทำออกมาในแต่ละชิ้นนั้นต้องใช้ฝีมือล้วนๆแต่ละผืนก็ต้องใช้เวลานานพอสมควรบางผืนก็เกือบถึง 1 เดือนมีลวดลายสลับสลับซับซ้อนมากๆบางพื้นก็ใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์หรือ 2 อาทิตย์ขึ้นอยู่กับลวดลาย ย้อนหลังไปแต่เดิม ผ้าสไบมอญไม่ได้ใช้แบบนี้ผู้ชายก็จะใช้ผ้าขาวม้าส่วนผู้หญิงก็จะใช้ผ้าต่วนต่อมาก็ได้มีการพัฒนาในการทำผ้าสไบมอญประดับด้วยดอกไม้ลายและสีสันต่างๆให้เกิดดูความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวมอญ
สำหรับลวดลายต่างๆที่นำมานั้นก็ไปศึกษาจากสถานที่อื่นๆอย่างเช่นมอญพระประแดงมอญสังขละบุรีหรือหลายๆแห่งที่ไปศึกษาวิถีชีวิตของชาวมอญในแต่ละท้องถิ่นนั้นๆนำมาปรับปรุงและประยุกต์ให้เป็นเอกลักษณ์ของชาวมอญอย่างแท้จริง


ส่วนประเพณีถวายธงตะขาบการถวายธงตะขาบเป็นประเพณีที่ชาวไทยรามัญเมืองปทุมธานีถือปฏิบัติกันในเทศกาลวันสงกรานต์จะกระทำกันที่เสาร์ของหน้าเจดีย์หรือโบสถ์วิหารอันเป็นสัญลักษณ์ของชาวรามัญแห่งหงสาวดีเสาหงส์ทำด้วยไม้กลมหรือไม้เหลี่ยมมีเสาประกบคู่ประดับด้วยบัวหัวเสาที่ปลายเสามีรูปหงส์ทรงเครื่องหล่อด้วยโลหะยืนอยู่ปลายเสากางปีกทั้งสองข้างที่จะงอยปากหงษ์แขวนด้วยกระดิ่งบนสุดมีฉัตร 3 ชั้น ปักอยู่ ชาวรามันเรียกเสาหงส์ว่า “เทียะเจมเจียนู่” ประเพณีถวายธงตะขาบจะจัดทำกันในวันสุดท้ายของวันสงกรานต์ ที่ศาลาวัดโดยใช้ผ้าเป็นพื้นยาวตัดเป็นรูปตัวตะขาบใส่ไม้ไผ่เป็นระยะๆตลอดพื้นติดธงเล็กๆที่ซี่หัวไม้ไผ่ เมื่อเสร็จแล้วดูใกล้ๆคล้ายตัวตะขาบชาวรามันเรียกธงนี้ว่า ”อะลามเทียะกี้” หลังจากทำเสร็จแล้วในตอนบ่ายก็จะมีการแห่ธง โดยช่วยกันจับขอบธงตลอดทั้งผืน แห่ธงไปตามหมู่บ้านมีขบวนเถิดเทิงกลองยาวประกอบขบวน เสร็จแล้วนำมาทำพิธีถวายธงที่หน้าเสาหงส์แล้วชักธงขึ้นอยู่ยอดเสาเพื่อเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าและสืบสานประเพณีต่อมาจนถึงปัจจุบัน