ข่าวพาดหัวตรวจสอบ

นายอำเภอปากช่อง ลงพื้นที่เคลียร์ปัญหาข้อพิพาท ระหว่างบริษัทโรงโม่หิน และหน่วยงานภาครัฐ

นายอำเภอปากช่อง ลงพื้นที่เคลียร์ปัญหาข้อพิพาท ระหว่างบริษัทโรงโม่หิน และหน่วยงานภาครัฐ พร้อมรับเอกสารของบริษัทขอเวลาในการยื่นเอกสารต่อศาลและกรมที่ดิน ก่อนเคียข้อพิพาทอีกครั้ง หลังโรงโม่หินถูกวางระเบิดขู่

2 ผู้บริหารบริษัทโรงโม่หิน ที่ขึ้นชื่อของ อำเภอปากช่อง จ.นครราชสีมา เล่าให้ทีมข่าวฟังว่า บริษัทครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินติดเขาอย่างถูกต้อง โดยเป็น สค.1 เมื่อปี พ.ศ. 2498 จนเปลี่ยนเป็น นส 3 นส 3 ก. และเป็นโฉนดเมื่อปี พ.ศ. 2550 จึงเป็นที่ดินของบริษัทอย่างถูกต้อง เมื่อมีการออกเป็นโฉนดซึ่งระบุพื้นที่ติดเขา หน่วยงานราชการกลับบอกว่า ถนนที่ทางบริษัทปิดไว้ตามสิทธิ์การครอบครอง และเกรงว่าอาจเกิดอันตรายหากเปิดให้มีการสัญจรไปมา เป็นทางสาธารณะตามกฎหมายของกระทรวงมกาดไทย ที่ออกมาตั้งแต่ปี 2599 ที่ให้พื้นที่ไหล่เขา กว้าง 40 เมตร เป็นทางสาธารณะ ซึ่งตามความเป็นจริง บริษัทถือครองที่ดินมาก่อนกฏหมายดังกล่าว และใช้งบประมาณของทางบริษัททำเป็นถนนราดยางมะตอยให้รถขนาดใหญ่เข้า-ออก ซึ่งทางบริษัทได้ยื่นต่อศาลขออำนาจคุ้มครอง และยื่นเอกสารการครอบครองต่อกรมที่ดิน ซึ่งอาจจะเกิดข้อผิดพลาดการออกโฉนดให้ทางบริษัทขาดพื้นที่ไปส่วนหนึ่ง ซึ่งร้องเรียนขอให้ออกโฉนดเพิ่ม

แต่ภาครัฐหลายหน่วยงาน กลับเร่งรัดให้ทางบริษัทรื้อถอนรั้วที่ปิดไว้เพื่อเปิดให้ประชาชนสัญจรไปมาได้ โดยอ้างว่ามีประชาชนมาร้องเรียนขอให้เปิดทางพยายามกดดัน และส่งเอกสารราชการขอความร่วมมือให้เปิดทางตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ผ่านทางไลน์ ซึ่งมองว่าผิดขั้นตอน และข้อพิพาทก็ยังไม่จบ และมีประเด็นที่ทางบริษัทสงสัย คือ ทำไมมีเจ้าหน้าที่ ปปท. เข้ามาตรวจสอบ กดดันให้ภาครัฐเร่งดำเนินการทั้งๆที่ เป็นข้อพิพาทของภาครัฐกับเอกชน ไม่ใช่ข้อพิพาทเรื่องทุจริตระหว่างภาครัฐด้วยกัน พยายามเข้ามารุกล้ำในพื้นที่ และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีคนนำระเบิดมาวางไว้ที่ป้อมยาม แต่ไม่รู้ว่าเป็นฝีมือใคร แต่ยืนยันไม่เคยมีปัญหากับใคร ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายให้กับบริษัทและกระทบกับพนักงานที่ไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ ส่วนสาเหตุคาดว่าอาจจะเกิดจากปัญหาความขัดแย้งภายในของคู่กรณีอยากได้เส้นทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการแอบเปลี่ยนชื่อ

ส่วนพนักงานของบริษัทกล่าวว่า ที่ดินผืนนี้ ออกเป็น สค 1. ปี 2498 แจ้งว่าติดเขา จากนั้นเปลี่ยนเป็น นส 3 ก. มีการไต่สวนที่ข้างเคียง ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน รับรองยืนพื้นที่ติดเขา เปลี่ยนเป็น พอรางวัดเป็โฉนดก็ยังยืนยันติดเขา แต่ที่ดินกลับเหลือน้อยลง คิดว่ากันเขตรัศมีที่ดินติดเขา 40 เมตร ตามกฏหมาย 2499 แลไม่มีคำว่าทางสาธารณะ

อย่างไรก็ตามช่วงเช้าผู้บริหารและตัวแทนบริษัทได้เข้าไปพูดคุยกับนาย คณัสชนม์ ศรีเจริญ นายอำเภอปากช่อง เพื่ออธิบายข้อพิพาทที่เกิดขึ้น และเหตุผลที่ไม่สามารถให้เปิดรั้วกั้นได้ และขอเวลาให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว และให้กรมที่ดินออกโฉนดที่ขาดไปเพิ่มเติมก่อนที่จะมาพูดคุยเคียข้อพิพาทอีกครั้ง แต่นาย คณัสชนม์ ขอยึดตามเอกสารราชการล่าสุดซึ่งถูกหรือผิดก็ไม่รู้ ขอความร่วมมือให้ทางบริษัทเปิดทางโดยเชิญสื่อมวลชนมาเก็บภาพไว้เป็นหลักฐานพร้อมรับเอกสารของบริษัทที่ยื่นต่อศาล และกรมที่ดิน แต่ยังคงยืนยันจะทำตามเอกสารราชการ

ช่วงบ่ายนาย คณัสชนม์ พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่จากอำเภอ เจ้าหน้าที่ อบต. หนองน้ำแดง เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อาสาสมัคร เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ปากช่อง เจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน และ สื่อมวลชน กว่า 50 นาย ลงพื้นที่ข้อพิพาท นาย คณัสชนม์ อธิบายรายละเอียดข้อพิพาททั้งหมด และความเดือดร้อน ผลกระทบที่ประชาชนได้รับ เซ็นต์รับเอกสารของบริษัทที่ยื่นต่อศาล และกรมที่ดิน พร้อมขอความร่วมมือให้ทางบริษัทรื้อถอนรั้ว เพื่อเปิดเป็นทางเดินตามหนังสือราชการ แต่ทางบริษัทไม่ยินยอม จึงจะนำเอกสารไปตรวจสอบ ดูรายละเอียด หารือทาง กฏหมายอีกครั้ง ทางอำเภอยืนยันปฏิบัติตามกฏหมาย และให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ส่วนที่ทางบริษัทจะให้ทาง อบต. หนองน้ำแดง ถอนแจ้งความนั้น นายอำเภอกล่าวว่า ทางอำเภอสั่งการให้ อบต. หนองน้ำแดงเป็นผู้ไปแจ้งความตามกฎหมายเพราะมองว่าเป็นทางสาธารณะ หากพบมีการกระทำผิด จำเป็นต้องแจ้งความดำเนินคดี นายอำเภอปากช่องยังกล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบพบว่าพื้นที่ข้อพิพาทนี้ ไม่ได้อยู่ในโฉนด ซึ่งพิกัดทางสาธารณะประมาณ 1 กิโลเมตรจากรั้วที่ทางบริษัทกั้นไว้ ทางบริษัทสามารถที่จะกั้นรั้วหรือปิดทางได้ต่อจากทางสาธารณะ ส่วนการเข้ามาตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ ปปท. นั้น ปปท. อาจจะต้องการมาดูเรื่องการดำเนินการของทางราชการ หลังการร้องเรียนจากประชาชน

หลังการพูดคุยเจรจาเสร็จสิ้น ทางอำเภอเปิดโอกาสให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบ และไม่ได้รับผลกระทบ ลงชื่อกับเจ้าหน้าที่ศูนย์เจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรมด้วย


ทีมข่าวภาคสนาม/รายงาน