เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมพระมหาเจดีย์ชัยมงคล ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด นายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานการประชุมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะทำงานธนาคารขยะชุมชน/หมู่บ้าน ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี ท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบธนาคารขยะชุมชน/หมู่บ้าน เข้าร่วมประชุม
นายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด
กล่าวว่า ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้จัดงานประกาศความการจัดตั้งธนาคารขยะภายใต้หุ้นส่วนการพัฒนาระหว่างสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันศุกร์ที่ 5 เมษายน 2567 ณ ห้องประชุม ESCAP Hall ชั้น 2 ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร
โดยกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศความสำเร็จของการจัดตั้งธนาคารขยะครบทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 7,737 แห่ง มีธนาคารขยะ จำนวน 14,658 แห่ง มีสมาชิกธนาคารขยะ
หมู่บ้าน/ชุมชน จำนวน 699,723 คน มีปริมาณขยะที่ขายได้ จำนวน 1,361,186.56 ตัน ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานธนาคารขยะในระยะต่อไป
โดยขับเคลื่อนธนาคารขยะให้เกิดความยั่งยืนและ ขยายผลจำนวนธนาคารขยะให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
พร้อมทั้งให้มีการเปิดรับสมาชิกธนาคารขยะ ให้ได้จำนวน 10 ล้านคน ภายในปี พ.ศ. 2568
นายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวอีกว่า จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ดำเนินการขับเคลื่อนธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank)
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวทางของกระทรวงมหาดไทยโดย มีนโยบายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดตั้งธนาคาร/กองทุนขยะ เพื่อให้ประชาชนรวมกลุ่มกันแยกขยะและนำขยะรีไซเคิลมาใช้ประโยชน์ผ่านการจัดสวัสดิการชุมชน
ณ ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 202 แห่ง มีการจัดตั้งธนาคารขยะ ครบทุกแห่งแล้ว
รวม 1,193 แห่ง มีสมาชิก 33,419 คน มีรายรับรวม 20,788,169.71 บาท นำไปจัดสวัสดิการแล้ว เป็น
เงินจำนวน 15,729,849 บาท และมีเงินคงเหลือ 5,058,320.71 บาท โดยกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำไปใช้เนแนวทางในการขับเคลื่อนธนาคารขยะในพื้นที่ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานธนาคารขยะหมู่บ้าน/ชุมชนในพื้นที่ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น วิทยุกระจายเสียง สื่อออนไลน์ของ หมู่บ้าน/ชุมชน ในพื้นที่ สื่อออนไลน์ของท้องถิ่น (ไลน์ เฟซบุ๊ก เว็บไซต์)เพื่อสร้างการรับรู้ ผ่านช่องทางต่าง ๆ และความร่วมมือชุมชนเกี่ยวกับการดำเนินงานธนาคารขยะ ให้ประชาชนเห็นคุณค่าและให้ความสำคัญในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของธนาคารขยะ สร้างภาคีเครือข่ายการทำงานในระดับพื้นที่ อาทิ นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล. )
โดยลงพื้นที่ ประชาสัมพันธ์แบบเชิงรุก “เคาะประตูบ้าน” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ พูดคุย ทำความเข้าใจในการคัดแยกขยะรีไซเคิลในแต่ละครัวเรือน รวมถึงการชี้แจงวันที่มีการดำเนินธนาคารขยะของชุมชน ราคาการรับซื้อขยะรีไซเคิลหรือสวัสดิการที่จะได้รับจากการเป็นสมาชิกธนาคารขยะโดยมุ่งเน้นให้เกิดแรงจูงใจให้ประชาชนสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้น และกระตุ้นให้สมาชิกเดิมนำขยะรีไซเคิลมาฝากอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความยั่งยืนและขยายผลธนาคารขยะให้ครบทุกหมู่บ้าน/ชุมชนในพื้นที่ ส่งเสริมให้ประชาชน และอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) สมัครเป็นสมาชิกของธนาคารขยะ จัดตั้งธนาคารขยะ ให้มีสมาชิกมาจากทุกหมู่บ้าน/ชุมชน โดยอาจพิจารณาจัดตั้งธนาคารขยะเพิ่มเติมให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน/ชุมชน หรือหากมีการตั้งธนาคารขยะเพียงแห่งเดียวให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการส่งเสริมให้ประชาชนในเขตพื้นที่ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน จากทุกหมู่บ้านชุมชนสมัครเป็นสมาชิกธนาคารขยะเพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนธนาคารขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่
จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นไปตามแนวทางที่กำหนด
การประชุมในครั้งนี้ เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการบริหารธนาคารขยะ และคณะทำงานธนาคารขยะชุมชน/หมู่บ้าน เพื่อที่จะช่วยขับเคลื่อนและให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำไปขยายผลในพื้นที่ ให้เป็นรูปธรรมต่อเนื่องและยั่งยืน โดยนำรูปแบบธนาคารขยะของเทศบาลตำบลชัยวารี อำเภอโพธิ์ชัย มาเป็นต้นแบบ
คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ภาพ