ข่าวประชาสัมพันธ์

อบจ.พิษณุโลก เปิดโครงการการจัดอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอาย (Care Giver) 420 ชั่วโมง และการปฐมนิเทศผู้เข้าอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) 420 ชั่วโมง

พิษณุโลก อบจ.พิษณุโลก เปิดโครงการการจัดอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอาย (Care Giver) 420 ชั่วโมง และการปฐมนิเทศผู้เข้าอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) 420 ชั่วโมง
วันที่ 10 มิถุนายน 2565 นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานเปิดโครงการการจัดอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอาย (Care Giver) 420 ชั่วโมง และการปฐมนิเทศผู้เข้าอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) 420 ชั่วโมง ณ ห้อง ท. 410 ชั้น 4 อาคารปวิชญ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก จัดโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับจังหวัดพิษณุโลก ชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดพิษณุโลก สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก และโรงพยาบาลพิษณุเวชพิษณุโลก

โดยมี นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหาร กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของโครงการ ภายในพิธีได้รับเกียรติจาก นายจุติ ไกรฤกษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก ระบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาฯ หัวหน้าส่วนราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก และแขกผู้มีเกียรติร่วมเปิดโครงการ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะการดูแลผู้สูงอายุสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้สูงอายุในสถานการณ์จริงได้ และให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและการบริบาลที่ถูกต้องตามหลักมาตรฐานจากผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง ตลอดจนเพื่อสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมสร้างรายได้ในการเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว
สำหรับโครงการดังกล่าวได้มีการดำเนินการจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU ระหว่างหน่วยงานทั้ง 7 แห่งที่เกี่ยวข้อง โดยมีเจตจำนงเพื่อประสานความร่วมมือในการดำเนินโครงการฯ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะการดูแลผู้สูงอายุและเป็นการส่งเสริมอาชีพ และได้ดำเนินการรับสมัครและสอบสัมภาษณ์คัดเลือกผู้เข้ารับการอบรม ซึ่งมีผู้ผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 40 ราย โดยจัดการอบรมระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน – 30 กันยายน 2567 แบ่งออกเป็นภาคทฤษี จำนวน 200 ชั่วโมง และภาคฝึกปฏิบัติ จำนวน 220 ชั่วโมง โดยในการดำเนินโครงการครั้งนี้องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกได้สนับสนุนงบประมาณ บุคลากร ทรัพยากรในการดำเนินโครงการและแหล่งฝึกปฏิบัติงานให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม.
ธันย์ชนก ทองเพิ่ม ผู้สื่อข่าวพิษณุโลก