ข่าวประชาสัมพันธ์ท่องเที่ยวประเพณีโบราณ

ร้อยเอ็ด – บุญบั้งไฟนิยมทำกันในเดือนหก บุญบั้งไฟกับชีวิตของชาวอีสานมีความผูกพันกันและเป็นความเชื่อ ในสมัยโบราณในการใช้ชีวิต อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

ร้อยเอ็ด//20 มิถุนายน 2567
อป.มช.จังหวัดร้อยเอ็ดพานำฮอยไฟ
(อป.มช.ย่อมาจาก=อาสาสมัครประชาสัมพันธ์ประจำหมู่บ้านและชุมชน)
บุญบั้งไฟนิยมทำกันในเดือนหก บุญบั้งไฟกับชีวิตของชาวอีสานมีความผูกพันกันและเป็นความเชื่อ ในสมัยโบราณในการใช้ชีวิต อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีเพียงความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม ที่ผู้นำในสังคมกำหนดขึ้นเพื่อเป็นกิจกรรมในการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้กับชุมชนเพื่อให้คลายความหวาดกลัว ความกังวลในใจ บุญบั้งไฟจึงเป็นความเชื่อ เชื่อว่า”บั้งไฟ”เป็นสื่อในการติดต่อระหว่างมนุษย์กับพญาแถน ปัจจุบันประเพณีบุญบั้งไฟเป็นการเปิดโอกาสให้ชาวบ้านจาก หมู่บ้านต่างๆในตำบลนั้นๆ ได้มาร่วมกิจกรรมร่วมกันสนุกสนานเป็นการรวมพลังประชาชนในตำบลนั้นๆ ฝึกให้รักและสามัคคีกันสร้างความรักความสามัคคีของคนท้องถิ่น บุญบั้งไฟนิยมทำกันในเดือนหก ชาวอีสานมีความเชื่อว่า ถ้าปีใดไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้ง ไม่มีน้ำทำนา แต่ถ้าปีใดจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล เกิดความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย งานบุญบั้งไฟจึงถือเป็นงานประเพณีประจำปีที่สำคัญของชาวอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟ มีสองวัน


วันแรก//เป็นขบวนแห่บั้งไฟสวยงามพร้อมสาวสวย 20-30 คนของแต่ละหมู่บ้านรำเซิ้งไปตามถนนสายหลักใจกลางหมู่บ้านหากตำบลใดมีหมู่บ้านเยอะขบวนแห่ก็มีเยอะ
วันที่สอง//เป็นการจุดบั้งไฟจากหมู่บ้านต่างๆๆที่นำมาถวยแทน ตามตำนาน ประเพณีบุญบั้งไฟตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าถือชาติกำเนิดเป็นพญาคางคก (อิสานเรียก ขี้คันคาก) ช่วงบำเพ็ญเพียรเป็นพระโพธิสัตย์ได้อาศัยอยู่ใต้ร่มโพธิ์ใหญ่ในเมืองพันทุมวดี ด้วยเหตุใดไม่ทราบ พญาแถน(เทพเจ้าแห่งฝน)โกรธเคืองโลกมนุษย์ จึงแกล้งไม่ให้ฝนตกนานถึง 7 เดือน ทำให้มวลมนุษย์ สัตว์และพืช พากันล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่แข็งแรงก็รอดตายและได้พากันมารวมกลุ่มใต้ต้นโพธิ์ใหญ่กับพญาคางคก สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงได้หารือกันเพื่อจะหาวิธีการปราบพญาแถน ที่ประชุมได้ตกลงกันให้พญา”นาคี”ยกทัพไปรบกับพญาแถน แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ จากนั้นจึงให้พญาต่อแตนยกทัพไปปราบแต่ก็ต้องพ่ายแพ้อีกเช่นกัน ทำให้พวกสรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดความท้อถอย หมดกำลังใจและสิ้นหวัง ได้แต่รอวันตายในที่สุด พญาคางคกจึงขออาสาที่จะไปรบกับพญาแถน จึงได้วางแผนในการรบโดยปลวกทั้งหลายก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงเมืองพญาแถน เพื่อเป็นเส้นทางให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายได้เดินทางไปสู่เมืองพญาแถน ซึ่งมีตัวมอด แมลงป่อง ตะขาบ สำหรับตัวมอดได้รับหน้าที่ให้ทำการกัดเจาะด้ามอาวุธที่ทำด้วยไม้ทุกชนิด ส่วนแมลงป่องและตะขาบให้ซ่อนตัวอยู่ตามกองฟืนที่ใช้หุงต้มอาหาร และอยู่ตามเสื้อผ้าของไพร่-พลพญาแถนทำหน้าที่กัดต่อย หลังจากวางแผนเรียบร้อย กองทัพพญาคางคกก็เดินทางเพื่อปฏิบัติหน้าที่การรบ มอดทำหน้าที่กัดเจาะด้ามอาวุธ แมลงป่องและตะขาบกัดต่อยไพร่พลของพญาแถนจนเจ็บปวด ร้องระงมจนกองทัพระส่ำระสาย ในที่สุดพญาแถนจึงได้ยอมแพ้และตกลงทำสัญญาสงบศึกกับพญาคางคก ดังนี้
1. ถ้ามวลมนุษย์จุดบั้งไฟขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อใด ให้พญาแถนสั่งให้ฝนตกในโลกมนุษย์

2. ถ้าได้ยินเสียงกบ เขียดร้อง ให้รับรู้ว่าฝนได้ตกลงมาแล้ว

3. ถ้าได้ยินเสียงสนู (เสียงธนูหวายของว่าว) หรือเสียงโหวด ให้ฝนหยุดตกเพราะจะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว หลังจากที่ได้สัญญากันแล้ว พญาแถนจึงได้ถูกปล่อยตัวไปและได้ปฏิบัติตามสัญญามาจนบัดนี้

อป.มช.สุเทพ ลอยแก้ว//รายงาน